การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG) เป็นการตรวจคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจที่รวดเร็ว ไม่เจ็บ และไม่รุกล้ำเข้าไปในร่างกาย แพทย์จะทำการติดแผ่นขั้วไฟฟ้าหรือเซนเซอร์ที่บริเวณหน้าอก แขน และขาของผู้ได้รับการตรวจขณะที่กำลังนอนราบหรือออกกําลังกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าจากตัวคุมจังหวะหัวใจตามธรรมชาติ (sinoatrial node) ดูอัตราการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ และส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ซึ่งจะแสดงผลเป็นรูปคลื่น
ใครบ้างที่ต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG)
ผู้ที่ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้แก่ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้
- หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
- ใจสั่น
- เหนื่อย
- วิงเวียนศีรษะ
- อ่อนเพลีย
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกอะไรได้บ้าง
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วยตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจ วินิจฉัยอาการหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หรือภาวะโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น ภาวะขาดเลือด หัวใจโต หรือการนําไฟฟ้าผิดปกติ และช่วยประเมินว่าผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ หากผู้ป่วยเคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจวาย ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือเริ่มทานยารักษาโรคหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะช่วยบอกได้ว่าหัวใจทำงานเป็นปกติอยู่หรือไม่
อย่างไรก็ตามการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบปกติอาจไม่สามารถตรวจพบภาวะการเต้นหัวใจผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้เข้ารับการตรวจตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น
- เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Holter monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสวมใส่ไว้เพื่อติดตามดูคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจเป็นเวลา 1 - 2 วัน
- เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย (Cardiac event recorder) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผู้ป่วยต้องกดปุ่มที่เครื่องเมื่อมีอาการ
หลังทราบผลตรวจแล้ว แพทย์จะพูดคุยกับผู้ป่วยว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่
- การเต้นของหัวใจผิดปกติ
- หัวใจวาย
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
- การไหลเวียนโลหิตหัวใจไม่ดี
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วยตรวจประเมินหัวใจและการเต้นของหัวใจ และช่วยในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เป็นการตรวจที่ง่ายและมีความเสี่ยงต่ำ ผู้ป่วยบางรายอาจจะรู้สึกระคายเคืองผิวหนังจากการติดแผ่นขั้วไฟฟ้าเท่านั้น