Getting an Annual Health Checkup Banner 1.jpg

การตรวจสุขภาพประจําปี

เป็นวิธีป้องกันและดูแลสุขภาพเชิงรุกเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ช่วยให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับสภาพร่างกายของเราในปัจจุบัน

แชร์

การตรวจสุขภาพเป็นประจํา เป็นวิธีป้องกันและดูแลสุขภาพเชิงรุกเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ช่วยให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับสภาพร่างกายของเราในปัจจุบันและยังช่วยให้ตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งมีโอกาสรักษาให้หายขาดสูง

ระหว่างการตรวจร่างกายต้องทำอะไรบ้าง

  • การซักประวัติ
  • การตรวจสัญญาณชีพ พยาบาลจะตรวจสอบอุณหภูมิของร่างกาย ชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต น้ำหนัก และส่วนสูง
  • การตรวจร่างกาย แพทย์จะมองหาสัญญาณที่อาจบ่งบอกถึงโรคที่อาจกำลังเป็นอยู่ โดยจะตรวจดูร่างกายทั่วไป เช่น ผิวหนัง ผม และเล็บ และใช้เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อตรวจสอบดวงตา หู คอ และจมูก ฟังเสียงเต้นของหัวใจและลมหายใจของปอด คลําหน้าท้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติ ตรวจระบบประสาทสั่งการและปฏิกิริยาตอบสนอง (reflex) และอาจตรวจบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และลำไส้ตรงด้วยเช่นกัน  
  • การทดสอบในห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดเพื่อตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจสารเคมีในเลือด และตรวจไขมันในเลือด เป็นต้น การตรวจสารเคมีในเลือดช่วยทำให้ทราบว่าตับ ไต หรือภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติหรือไม่ การตรวจไขมันในเลือดจะตรวจดูว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจหรือไม่ หากพบปัญหาอื่น ๆ แพพย์อาจสั่งให้ทำการตรวจคัดกรองเพิ่มเติม

การตรวจคัดกรอง

เพศหญิง ยกตัวอย่างเช่น

  • การตรวจเต้านมเพื่อตรวจสอบว่ามีอาการหรือก้อนเนื้อผิดปกติในเต้านมซึ่งอาจเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
  • การตรวจแมมโมแกรม แนะนําให้ตรวจในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมต่ำหรือปานกลางทุก ๆ 2 ปี หากมีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม ควรได้รับการตรวจคัดกรองบ่อยขึ้น
  • การตรวจภายในเป็นการตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูกและรังไข่เพื่อหาสัญญาณและอาการของ โรคทางเพศสัมพันธ์หรือโรคอื่น ๆ
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) ควรเริ่มตรวจในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 21 ปีและสามารถตรวจซ้ำได้ทุก 3 ปี ถ้าผลปกติ ผู้หญิงอายุ 30-65 ปีควรได้รับการตรวจแปปสเมียร์และตรวจหาดีเอ็นเอของไวรัส HPV ทุก 5 ปี เมื่ออายุ 65 ปีผู้หญิงส่วนใหญ่มักสามารถหยุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ ถ้าไม่เคยมีประวัติมะเร็งทางนรีเวชมาก่อน
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 45 ปี โดยปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการตรวจที่เหมาะสม การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่นั้นมีข้อดีตรงที่สามารถตัดติ่งเนื้อที่ไม่เป็นมะเร็งและมะเร็งขนาดเล็กได้ในทันทีที่ตรวจพบ
  • การตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน เพื่อตรวจมวลกระดูก เหมาะสำหรับผู้หญิงเมื่อหมดประจำเดือน และตรวจซ้ำอีกครั้ง 10 ปีหลังจากนั้น
  • การตรวจไขมันในเลือด แนะนำให้ตรวจในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป หากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรือโรคเบาหวาน ควรทำการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 20 ปี

เพศชาย  ยกตัวอย่างเช่น

  • การตรวจไขมันในเลือด แนะนำให้ตรวจตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป หากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรือโรคเบาหวาน ควรทำการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 20 ปี
  • การตรวจลูกอัณฑะ เพื่อคลำหาก้อน อาการกดเจ็บ หรือการเปลี่ยนแปลงของขนาดลูกอัณฑะ
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีหรือ 40 ปี หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 45 ปี เช่นเดียวกับผู้หญิง
  • การตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน เพื่อตรวจมวลกระดูก เหมาะสำหรับผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
  • การตรวจคัดกรองหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง เป็นการอัลตราซาวด์ตรวจคัดกรองสําหรับผู้ชายอายุ 65-75 ปีที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่

เพศหญิงและเพศชาย ยกตัวอย่างเช่น

  • โรคเบาหวาน: ในรายที่น้ำหนักเกินหรือมีคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง แพทย์อาจสั่งให้ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด แบบ HbA1C หรือให้งดอาหารก่อนเจาะเลือด
  • อาการซึมเศร้า: แพทย์จะมองหาสัญญาณและอาการของภาวะซึมเศร้า ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถแยกแยะออกได้
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด: ผู้ชายและผู้หญิงอายุ 55-80 ปีที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
  • ไวรัสตับอักเสบซี: แนะนําให้ทำการตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบซีหนึ่งครั้ง โรคนี้ไม่มีอาการแต่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับ
  • การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์: แพทย์จะพิจารณาจากกิจกรรมทางเพศของผู้ได้รับการตรวจ โดยอาจจะแนะนําให้ตรวจคัดกรองเอชไอวีและซิฟิลิส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันเป็นประจำ
  • การฉีดวัคซีน: ควรปรึกษาแพทย์ว่ามีวัคซีนอะไรบ้างที่ควรได้รับตามช่วงอายุ

อ่านเรื่องวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ที่ คําแนะนําสําหรับการตรวจสุขภาพ






บทความโดย
พญ.ณิยวรรณ ศุภมงคล
แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน และแพทย์สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
ประวัติแพทย์

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 18 ต.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ทชา พฤนท์ธรรม์

    พญ. ทชา พฤนท์ธรรม์

    • เวชศาสตร์ครอบครัว
    Family Medicine, เวชศาสตร์ป้องกัน, อาชีวเวชศาสตร์
  • Link to doctor
    นพ. พศวัต วุฒิไกรวิทย์

    นพ. พศวัต วุฒิไกรวิทย์

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    เวชศาสตร์ป้องกัน, เวชศาสตร์วิถีชีวิต, อาชีวเวชศาสตร์, การสร้างเสริมสุขภาพ, การแพทย์ทางไกล
  • Link to doctor
    พญ. ณิยวรรณ ศุภมงคล

    พญ. ณิยวรรณ ศุภมงคล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • อายุรศาสตร์
    เวชศาสตร์ป้องกัน, General Gyne Examination
  • Link to doctor
    นพ. ทวีสิน ธีระธนานนท์

    นพ. ทวีสิน ธีระธนานนท์

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    เวชศาสตร์ป้องกัน, Checkup and Health Promotion
  • Link to doctor
    ผศ.(พิเศษ) นพ. สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์

    ผศ.(พิเศษ) นพ. สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์

    • เวชศาสตร์ครอบครัว
    Family Medicine, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    อายุรกรรมทั่วไป, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    นพ. เสฏฐศิริ แสงสุวรรณ

    นพ. เสฏฐศิริ แสงสุวรรณ

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    • เวชศาสตร์ทางทะเล
    • อาชีวเวชศาสตร์
    เวชศาสตร์ป้องกัน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ทางทะเล
  • Link to doctor
    นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย

    นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน (ทางคลินิก)
    โรคภูมิแพ้, เวชศาสตร์ป้องกัน