อาการ สาเหตุ การวินิจฉัย และการรักษาโรคหอบหืด (Asthma) Symptoms, Causes, Diagnose, Treatment

โรคหอบหืด (Asthma)

การหายใจติดขัดมีเสียงหวีด ไอ หายใจไม่ทัน มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และอาการอาจหายได้เมื่อโตขึ้น หรืออาจกลับมาเป็นอีกได้ ในบางรายอาจเริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่อเวลาเป็นผู้ใหญ่

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


โรคหอบหืดคืออะไร

โรคหอบหืด คือภาวะของปอด ซึ่งทำให้การหายใจติดขัดมีเสียงหวีด ไอ หายใจไม่ทัน มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และอาการอาจหายได้เมื่อโตขึ้น หรืออาจกลับมาเป็นอีกได้ ในบางรายอาจเริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่อเวลาเป็นผู้ใหญ่
ผู้ป่วยอาจเริ่มไอหรือหายใจมีเสียงหวีดเมื่อ:

  • ออกกำลังกาย
  • สูดหายใจสารก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้เข้าไป เช่น ฝุ่นละออง ละอองเกสร เชื้อรา หรือ ขนสัตว์
  • สูดหายใจสารก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อปอด เช่น อากาศเย็น ไวรัส และควันบุหรี่

เมื่อผู้ป่วยมีอาการไอและหายใจมีเสียงหวีด นั่นแสดงว่าโรคหืดกำเริบ
เมื่อโรคกำเริบ:

  • ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงไม่กี่นาทีหรือนานหลายวัน
  • ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย ปานกลาง หรือรุนแรง
  • อาการสามารถกำเริบได้ทุกที่ ทุกเวลา
  • อาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้

ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

โรคหอบหืดเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อมีอาการหอบหืด เยื่อบุทางเดินหายใจในปอดจะบวมขึ้นเล็กน้อย เมื่อออกกำลังกายหรือหายใจสิ่งที่กระตุ้นอาการหอบหืดเข้าไปจะทำให้เกิดอาการดังนี้

  • กล้ามเนื้อทางเดินหายใจเกร็งตัว
  • เยื่อบุทางเดินหายใจบวมขึ้น
  • มีการผลิตน้ำมูกและสารคัดหลั่งมากเกินไป

เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ ทางเดินหายใจจะตีบเล็กลง ทำให้อากาศผ่านเข้าออกได้ยากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการ

  • แน่นหน้าอก
  • หายใจไม่ทัน
  • ไอ
  • หายใจมีเสียงหวีด

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีอาการหอบหืด

แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยโรคโดย

  • สอบถามถึงอาการทางด้านการหายใจ
  • ตรวจร่างกาย
  • ตรวจวินิจฉัยด้วยการตรวจสมรรถภาพปอด

แพทย์อาจทำการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังได้รับยาโรคหืดเพื่อตรวจสอบว่ายาสามารถช่วยบรรเทาอาการได้หรือไม่

วิธีการรักษาอาการหอบหืด

เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ปกติ ผู้ป่วยจำเป็นต้อง

  • ใช้ยาตามคำแนะนำแพทย์ไม่ว่าจะเป็นยาสูดพ่นหรือยาทาน
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นอาการ หายใจติดขัด

ยารักษาโรคหืดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาบรรเทาอาการฉับพลันและยาควบคุมโรคระยะยาว

  • ยาบรรเทาอาการฉับพลันช่วยเปิดทางเดินหายใจเพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้ ใช้รักษาอาการหอบหืดกำเริบ บางครั้งจะเรียกว่ายากลุ่มนี้ว่าเป็นยา rescue medicine เพราะออกฤทธิ์เร็ว อัลบูเทอรอล (albuterol) คือยาชนิดหนึ่งที่ใช้มากในผู้ป่วยโรคหืด
  • ยาควบคุมโรคระยะยาวช่วยป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจบวม มักต้องใช้ระยะยาว หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการหายใจหวีดจะไม่สามารถใช้ยากลุ่มนี้เพื่อหยุดอาการกำเริบของโรคหืดได้ แต่ยาจะช่วยป้องกันอาการได้เมื่อใช้ยาเป็นประจำทุกวัน

ยาบรรเทาอาการอยู่ในรูปยาพ่นหรือยาสูด ยากลุ่มอื่นอาจจะอยู่ในรูปของยาพ่น ยาสูด หรือยาเม็ด

แพทย์จะแนะนำยาที่เหมาะกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน

  • ผู้ป่วยควรพกยาบรรเทาอาการติดตัวอยู่เสมอ และใช้เมื่อเริ่มไอหรือหายใจติดขัดหรือมีเสียงหวีด
  • ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้ยาควบคุมโรคทุกวันร่วมด้วยเช่นกัน

ผู้ป่วยจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้ยาพ่นหรือยาสูดอย่างถูกต้อง

  • ให้แพทย์หรือพยาบาลอธิบายวิธีการใช้ยาพ่นหรือยาสูดที่ถูกต้อง เพราะผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมักมีวิธีการใช้แตกต่างกัน ยาบางตัวผู้ป่วยอาจจะต้องเม้มริมฝีปากรอบเครื่องพ่นยา ในขณะที่บางตัวอาจจะต้องถือห่างจากปากแล้วพ่น
  • ให้เภสัชกรอธิบายวิธีดูว่าตัวยาหมดแล้วหรือยัง

ผู้ป่วยควรใช้อุปกรณ์ชื่อ “Peak Flow Meter” เพื่อตรวจวัดการหายใจ

  • ผู้ป่วยต้องพ่นลมแรงและเร็วที่สุดเข้าไปใน Peak Flow Meter เพื่อตรวจการหายใจ
  • เครื่อง Peak Flow Meter จะช่วยเตือนผู้ป่วยหากอาการหอบหืดแย่ลง ผู้ป่วยจะทราบโดยทันทีว่าจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเพื่อป้องกันอาการกำเริบหรือต้องพบแพทย์โดยทันทีหรือไม่ แพทย์จะอธิบายวิธีใช้เครื่องเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถติดตามอาการหอบหืดของตนเองได้

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคหืด

ผู้ป่วยจำเป็นต้องปฏิบัติตัวดังนี้

  • เรียนรู้ สังเกตตนเองเมื่อเริ่มมีอาการ
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างถูกต้องครบถ้วน
  • ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี

ผู้ป่วยควรจัดบ้านให้ปราศจากสิ่งที่อาจกระตุ้นอาการ หายใจติดขัด

เครื่องนอน

  • คลุมฟูก เตียงนอน หมอนด้วยแผ่นคลุมพลาสติกแบบมีซิป
  • ซัก ทำความสะอาดเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนและสบู่หรือผงซักฟอกสัปดาห์ละครั้ง
  • ทำความสะอาดและนำหมอนผึ่งแดดเดือนละครั้ง

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ถ้าหากว่าผู้ป่วยมีสัตว์เลี้ยงอยู่แล้ว

  • ควรอาบน้ำ ทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงทุกสัปดาห์
  • ดุดฝุ่นทุกวัน
  • ใช้เครื่องกรองอากาศแบบ HEPA ภายในบ้าน

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อราหรือสารกระตุ้นอาการ ทำให้หายใจติดขัด

  • หากใช้เครื่องทำความชื้นภายในบ้าน ควรหมั่นทำความสะอาดเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อรา
  • หลีกเลี่ยงการออกไปนอกบ้านหรืออาคารเมื่อมีค่าความชื้นหรือฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศสูง
  • ใช้เครื่องปรับอากาศ แทนการเปิดหน้าต่าง
  • หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงควันรถ ไอระเหยของสารเคมี เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ

ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการดังนี้

  • หายใจลำบาก ติดขัด ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะยังคงใช้หรือรับประทานยาหอบหืดตามปกติ
  • มีอาการไอหรือหายใจมีเสียงหวีดมากผิดปกติ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะยังคงใช้หรือรับประทานยาหอบหืดตามปกติ

ผู้ป่วยควรไปแผนกฉุกเฉิน หากมีอาการดังนี้

เมื่ออาการหอบหืดกำเริบและไม่ดีขึ้นหลังใช้ยาสูดพ่นชนิดบรรเทาอาการฉับพลัน โดยอาจขอให้คนใกล้ชิดขับรถพาไปแผนกฉุกเฉินหรือโทรแจ้งสายด่วน

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 29 เม.ย. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. เกษม สิริธนกุล

    นพ. เกษม สิริธนกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, หายใจลำบาก, ไอเรื้อรัง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคมะเร็งปอด, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, โรคปอดบวม, คลินิกหยุดบุหรี่
  • Link to doctor
    นพ. กันต์ โอโกโนกิ

    นพ. กันต์ โอโกโนกิ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    เวชบำบัดวิกฤต, อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ศ.นพ. ยงยุทธ์ พลอยส่องแสง

    ศ.นพ. ยงยุทธ์ พลอยส่องแสง

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    นพ. วรการ วิไลชนม์

    นพ. วรการ วิไลชนม์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, เครื่องช่วยหายใจ, วัณโรค
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. วรวรรณ ศิริชนะ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. วิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, อายุรศาสตร์โรคปอด, เวชบำบัดวิกฤต