อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต หรือ BPH (Benign Prostatic Hyperplasia)

โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia - BPH)

โรคต่อมลูกหมากโต BPH (Benign Prostatic Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ เป็นอาการที่มักเกิดในเพศชายเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยก่อให้เกิดอาการ เช่น ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่สุด

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


โรคต่อมลูกหมากโต

โรคต่อมลูกหมากโต หรือ BPH  (Benign Prostatic Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ เป็นอาการที่มักเกิดในเพศชายเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยก่อให้เกิดอาการ เช่น ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่สุด ซึ่งอาจนำไปสู่โรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือโรคไต

ปัจจุบันมีการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตที่มีประสิทธิภาพหลายหลายวิธี ซึ่งรวมถึงการรักษาด้วยยาและการผ่าตัดแบบรุกล้ำน้อยหรือแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MIS) ทั้งนี้แพทย์จะพูดคุยกับผู้ป่วยถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยประเมินจากอาการ ขนาดของต่อมลูกหมาก และสุขภาพร่างกายของตัวผู้ป่วยเอง และวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยต้องการ

ต่อมลูกหมากโต มีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกันไป แต่หากปล่อยทิ้งไว้ อาการมักจะแย่ลงเรื่อย ๆ  โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อย
  • ตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย
  • ปัสสาวะออกช้า
  • ปัสสาวะไหลอ่อน หรือปัสสาวะขาดหรือสะดุดเป็นช่วง ๆ
  • ปัสสาวะเล็ดหลังปัสสาวะเสร็จ
  • ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะออกยากต้องเบ่ง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

อาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโตอื่น ๆ ที่อาจพบเห็นได้ด้วยเช่นกัน

  • ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • ปัสสาวะมีอาการปวดแสบปวดร้อน
  • ปัสสาวะปนเลือด หรือ มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ

อย่างไรก็ตามขนาดของต่อมลูกหมากไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยบางรายที่ต่อมลูกหมากโตเพียงเล็กน้อยอาจมีอาการรุนแรงได้ ในขณะที่บางรายที่มีต่อมลูกหมากโตมากอาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในผู้ป่วยบางรายอาการอาจทรงตัวและดีขึ้นได้เอง

ต่อมลูกหมากโต ควรพบแพทย์เมื่อไร?

ควรไปปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหาเรื่องการปัสสาวะหรือมีอาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นถึงแม้อาการจะไม่รุนแรงก็ตาม ทั้งนี้โรคต่อมลูกหมากโตทำให้ทางเดินปัสสาวะอุดตันได้ หากปัสสาวะไม่ออกควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

โรคต่อมลูกหมากโต มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

ต่อมลูกหมากอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะของเพศชาย โดยจะมีท่อลําเลียงปัสสาวะอยู่กลางต่อมลูกหมาก เมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นอาจไปเบียดท่อจนทำให้ปัสสาวะไหลออกมาไม่ได้ ทั้งนี้ต่อมลูกหมากสามารถโตขึ้นได้ตลอดเวลา จนทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัดหรือปัสสาวะไม่ออก

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าสาเหตุหลักของโรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร แต่เชื่อกันว่าสาเหตุเบื้องต้นน่าจะมาจากภาวะฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล

โรคที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกับอาการของโรคต่อมลูกหมากโต ได้แก่

  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis)
  • ท่อปัสสาวะตีบ (Urethral Stricture)
  • แผลเป็นพังผืดในคอกระเพาะปัสสาวะที่เป็นผลมาจากการผ่าตัดก่อนหน้า
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งต่อมลูกหมากหรือกระเพาะปัสสาวะ

    ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากโต

    ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากโต ได้แก่

    • อายุที่มากขึ้น ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 มักมีอาการของภาวะต่อมลูกหมากโตน้อยกว่าผู้ป่วยวัยอื่น ผู้ป่วยราวหนึ่งในสามอาจมีอาการปานกลางถึงรุนแรงก่อนวัย 60 และอีกที่เหลือจะมีอาการรุนแรงในช่วงก่อนวัย 80
    • ใช้สมุนไพรบางอย่าง: ผู้ป่วยอาจใช้สมุนไพรบางอย่างในการเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย และกำลังอยู่ในระหว่างการรักษาด้วยวิธีการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งทั้งสองวิธีนี้อาจให้ลูกหมากโตได้
    • เป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า โรคเบาหวาน โรคหัวใจและการใช้เบต้าบล็อกเกอร์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่อมลูกหมากโต
    • ติดเชื้อในลูกหมาก: ผู้ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis) ที่อาจทำให้ลูกหมากบวมช้ำและเป็นผลให้เกิดต่อมลูกหมากโต

    ต่อมลูกหมากโต มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

    แพทย์อาจเริ่มด้วยการซักประวัติผู้ป่วยและตรวจร่างกาย แพทย์อาจใช้การตรวจร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น:

    • การซักประวัติผู้ป่วยและตรวจร่างกาย
    • การตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam: DRE) แพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อดูว่าต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีความผิดปกติ และมีลักษณะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
    • การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) แพทย์อาจใช้การการตรวจปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อหรือมีโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคต่อมลูกหมากโตหรือไม่
    • การตรวจเลือด ผลจากการตรวจเลือดทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่ามีปัญหาโรคไตหรือไม่
    • การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate-Specific Antigen: PSA)  แพทย์จะตรวจหาสารแอนติเจนต่อมลูกหมากที่ผลิตจากต่อมลูกหมาก หากพบระดับของสารแอนติเจนต่อมลูกหมากเพียงเล็กน้อยแต่สูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าผู้ป่วยกำลังเป็นโรคต่อมลูกหมากโต ระดับสารแอนติเจนต่อมลูกหมากในปริมาณที่มากกว่า 4 ng/ml อาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อ เคยเข้ารับการผ่าตัด หรือเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอยู่แล้ว

          แพทย์อาจแนะนําให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อช่วยยืนยันว่าเป็นโรคต่อมลูกหมากโตและตัดโรคอื่น ๆ ออก เพราะโรคต่อมลูกหมากโตหรือมะเร็งต่อมลูกหมากอาจทำให้เกิดอาการที่คล้าย ๆ กัน โดยจะทำการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

          • การตรวจการไหลของปัสสาวะ (Urinary Flow Test) เป็นการตรวจวัดความแรงและปริมาณของปัสสาวะ ผลจากการตรวจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลง
          • การตรวจปริมาณปัสสาวะที่คงค้างอยู่ (Post-Void Residual Urine Test: PVR) การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์ดูว่าผู้ป่วยปัสสาวะสุดหรือไม่ โดยผ่านการทำอัลตราซาวนด์หรือใช้วิธีใช้สายสวนปัสสาวะใส่เข้าไปทางท่อปัสสาวะหลังปัสสาวะแล้ว เพื่อวัดปริมาณปัสสาวะที่เหลืออยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
          • บันทึกการปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง วิธีนี้เป็นการจดบันทึกความถี่และปริมาณของปัสสาวะที่อาจเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่การปัสสาวะในตอนกลางคืนมีปริมาณมากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณการปัสสาวะต่อวัน

          หากอาการซับซ้อนมากขึ้น แพทย์อาจแนะนํา

          • การตรวจความเร็วการไหลของการปัสสาวะ (Uroflowmetry): แพทย์จะให้ผู้ป่วยขับถ่ายปัสสาวะผ่านห้องน้ำแบบพิเศษที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหารูปแบบการปัสสาวะที่ผิดปกติ
          • การตรวจปริมาณปัสสาวะที่คงค้างอยู่ (Post-Void Residual Urine Test: PVRการตรวจนี้ช่วยให้แพทย์ประเมินได้ว่าผู้ป่วยปัสสาวะได้หมดหรือไม่ โดยการทำอัลตราซาวนด์หรือใช้วิธีใช้สายสวนปัสสาวะใส่เข้าไปทางท่อปัสสาวะหลังจากปัสสาวะเสร็จแล้วเพื่อวัดปริมาณปัสสาวะที่คงเหลืออยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
          • บันทึกการปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง การจดบันทึกความถี่และปริมาณปัสสาวะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ปริมาณปัสสาวะในตอนกลางคืนนั้นมากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณปัสสาวะรวมทั้งวัน

          หากผู้ป่วยมีอาการซับซ้อนมากขึ้น แพทย์อาจแนะนําให้รับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

          • การตรวจความแรงของปัสสาวะ (Uroflowmetry): เพื่อตรวจอัตราการไหลของปัสสาวะ
          • การตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนัก (Transrectal Ultrasound): เป็นการตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ โดยใส่อุปกรณ์ตรวจเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจวินิจฉัยต่อมลูกหมาก
          • การตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (Prostate Biopsy): เพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตว่าเกิดจากมะเร็งต่อมลูกหมากหรือสาเหตุอื่น ๆ
          • การวิเคราะห์แบบบยูโรไดนามิกและตรวจความสัมพันธ์ของแรงดัน (Urodynamic and pressure flow study) แพทย์จะใส่สายสวนเป็นเกลียวผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ แล้วฉีดน้ำหรืออากาศเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ จากนั้นแพทย์จะวัดความดันกระเพาะปัสสาวะและตรวจว่ากล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะยังทํางานเป็นปกติดีหรือไม่ วิธีนี้มักจะใช้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและในผู้เข้ารับการรักษาต่อมลูกหมากมาก่อนและยังมีอาการอยู่
          • การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy): แพทย์จะสอดกล่องเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อช่วยให้แพทย์ได้เห็นภาพภายในท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยได้ชัดเจนขึ้น ในการตรวจนี้ แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ก่อนเริ่มการตรวจ

                โรคต่อมลูกหมากโต มีวิธีการรักษาอย่างไร?

                การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตอาจทำได้ด้วยการรับประทานยาหรือการผ่าตัดแบบส่องกล้อง อย่างไรก็ตามวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดได้นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่

                • ขนาดของต่อมลูกหมาก
                • อายุของผู้ป่วย
                • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
                • ความรุนแรงของโรค

                การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยยา

                • ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha blockers) ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อในต่อมลูกหมาก ซึ่งจะทำให้ปัสสาวะได้ง่ายขึ้น ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ ได้แก่ ยาอัลฟูโซซิน (alfuzosin) ยาโดซาโซซิน (doxazosin) ยาแทมซูโลซิน (tamsulosin) และยาซิโลโดซิน (silodosin) ออกฤทธิ์ได้ดีในผู้ป่วยที่ขนาดต่อมลูกหมากค่อนข้างเล็ก โดยการรับประทานยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น วิงเวียนศีรษะหรือมีภาวะอุสจิไหลกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งไม่เป็นอันตราย
                • 5 แอลฟา รีดักเตส อินฮิบิเตอร์ (5 Alpha Reductase Inhibitor) ยากลุ่มนี้จะทำให้ต่อมลูกหมากหดตัว โดยจะไปยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทําให้ต่อมลูกหมากโต ยากลุ่มนี้ ได้แก่ ยาฟินาสเตอไรด์ (finasteride) และยาดูตาสเตอไรด์ (dutasteride) ซึ่งอาจใช้เวลาถึง 6 เดือนจึงจะเห็นผล ผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ความต้องการทางเพศลดลง
                • การใช้ยาหลาย ๆ ชนิดร่วมกัน แพทย์อาจแนะนําให้รับประทานยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ และ 5 แอลฟา รีดักเตส อินฮิบิเตอร์พร้อมกัน หากการรักษาด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่งไม่ได้ผล

                การรักษาต่อมลูกหมากโต โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง

                 แพทย์อาจแนะนำการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ในกรณีที่

                • อาการของผู้ป่วยอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง
                • การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล
                • ผู้ป่วยมีภาวะทางเดินปัสสาวะอุดตัน มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ มีเลือดในปัสสาวะ หรือโรคไต

                แพทย์อาจไม่แนะนำการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ในกรณีที่

                • ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่ไม่ได้รับการรักษา
                • เป็นโรคท่อปัสสาวะตีบอยู่แล้ว
                • มีโรคทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

                โดยการรักษาต่อมลูกหมากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังต่อไปนี้

                • ภาวะอุสจิไหลกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
                • ปัสสาวะเล็ด
                • ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
                • มีเลือดออกในปัสสาวะ
                • ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัดต่อมลูกหมาก แต่จะเกิดขึ้นน้อยหากรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยเลเซอร์

                การรักษาต่อมลูกหมากโต โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้องประเภทต่าง ๆ

                • การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขูดต่อมลูกหมาก (TURP) วิธีนี้แพทย์จะสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไปในท่อปัสสาวะของผู้ป่วย และตัดเอาเนื้อเยื่อด้านในต่อมลูกหมากออก ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็วและผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถปัสสาวะได้แรงทันทีหลังผ่าตัด อย่างไรก็ตามหลังจากการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขูดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกแล้ว ผู้ป่วยจะยังต้องสายสวนท่อปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะออกเป็นการชั่วคราว
                • การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขยายท่อปัสสาวะ (TUIP) หลังทำการสอดกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะของผู้ป่วย แพทย์จะกรีดต่อมลูกหมากเป็นรอยเล็ก ๆ 1-2 รอย ทําให้ปัสสาวะไหลออกได้ดีขึ้น
                • การผ่าตัดด้วยการใช้คลื่นไมโครเวฟ (TUMT) แพทย์จะสอดกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะและสอดขั้วไฟฟ้าพิเศษผ่านท่อปัสสาวะของผู้ป่วยเข้าไปในต่อมลูกหมาก จากนั้นจะปล่อยพลังงานไมโครเวฟจากขั้วไฟฟ้าเข้าทำให้ด้านในของต่อมลูกหมากที่โตหดตัวลงและทำให้ปัสสาวะไหลดีขึ้น การผ่าตัดด้วยการใช้คลื่นไมโครเวฟอาจช่วยบรรเทาอาการบางส่วนเท่านั้น และอาจใช้เวลาสักพักถึงจะเห็นผล ทั้งนี้การผ่าตัดวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น และผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องกลับมารักษาอีกครั้ง
                • การผ่าตัดส่องกล้องด้วยเข็ม (TUNA) แพทย์จะสอดกล้องเข้าไปทางท่อปัสสาวะแล้วสอดเข็มเข้าไปในต่อมลูกหมาก จากนั้นแพทย์จะปล่อยคลื่นวิทยุไปที่เข็ม ความร้อนจากคลื่นวิทยุจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมากที่อุดกั้นปัสสาวะ ในปัจจุบันการผ่าตัดวิธีนี้มักไม่ค่อยเป็นที่ไม่นิยม
                • การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser Therapy) การรักษาด้วยเลเซอร์เป็นการรักษาที่ใช้เลเซอร์พลังงานสูงเพื่อทําลายหรือตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่โตเกินออกไป โดยทั่วไปแล้วการรักษาด้วยเลเซอร์มักรักษาอาการได้ทันทีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการผ่าตัดแบบไม่ใช้เลเซอร์ เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดและไม่สามารถรับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่ต้องการนอนโรงพยาบาลหรือใส่สายสวนปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน

                การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยเลเซอร์

                การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยเลเซอร์ สามารถทำได้โดย

                  • การสลายเนื้อเยื่อ (Ablative Procedure)จะสลายเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่อุดตันเพื่อทำให้ปัสสาวะไหลได้ให้มากขึ้น โดยวิธีนี้ทำให้เลือดออกน้อยและผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดส่องกล้องทั่วไป
                  • การเลาะเนื้อเยื่อออกทั้งหมด (Enucleation procedures) เป็นการใช้เลเซอร์เลาะเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่ขวางท่อทางเดินปัสสาวะออกทั้งหมด ทำให้ปัสสาวะไหลได้ดีขึ้นและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ แพทย์จะส่งตรวจเนื้อเยื่อที่เลาะออกมาเพื่อตรวจหาเชื้อมะเร็งต่อมลูกหมากหรือโรคอื่น ๆ

                การย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะ (PUL)

                ในการรักษาด้วยวิธีนี้ แพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษกดบีบด้านข้างของต่อมลูกหมากเพื่อเพิ่มการไหลของปัสสาวะ และแพทย์มักแนะนำวิธีนี้หากผู้ป่วยมีกลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง นอกจากนี้ การย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะอาจใช้กับผู้ป่วยบางกรณีที่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อการหย่อนสมรรถภาพทางเพศและปัญหาการหลั่ง เนื่องจากการย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะมีผลต่อการหลั่งและสมรรถภาพทางเพศต่ำกว่าการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขูดต่อมลูกหมากออกอยู่มาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจยังต้องเข้ารับการผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้างอีกในอนาคต

                • การย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะ (PUL) ในการรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษกดบีบด้านข้างของต่อมลูกหมากเพื่อให้ปัสสาวะไหลได้ดีขึ้น และแพทย์มักแนะนำวิธีนี้ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดแบบส่องกล้องในอนาคตหากกลับมาเป็นซ้ำ
                • การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้หุ่นยนต์ช่วย เป็นการผ่าตัดแบบเปิดที่ช่องท้องส่วนล่างไปยังต่อมลูกหมากเพื่อตัดเอาเนื้อเยื่อออก เหมาะกับผู้ที่ต่อมลูกหมากโตมากจนทำให้กระเพาะปัสสาวะได้รับความเสียหายหรือผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ


                Benign Prostatic Hyperplasia - Infographic

                บทความโดย

                เผยแพร่เมื่อ: 04 ต.ค. 2020

                แชร์

                แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

              • Link to doctor
                นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

                นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

                • ศัลยศาสตร์
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ระบบสืบพันธ์ุ
              • Link to doctor
                นพ. วิรุณ  โทณะวณิก,พบ

                นพ. วิรุณ โทณะวณิก,พบ

                • ศัลยศาสตร์
                • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                มะเร็งต่อมลูกหมาก, ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
              • Link to doctor
                นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

                นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

                • ศัลยศาสตร์
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
              • Link to doctor
                นพ.  วิชัย เจริญวงศ์

                นพ. วิชัย เจริญวงศ์

                • ศัลยศาสตร์
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
              • Link to doctor
                ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

                ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

                • ศัลยศาสตร์
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
              • Link to doctor
                นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

                นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

                • ศัลยศาสตร์
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
              • Link to doctor
                นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

                นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

                • ศัลยศาสตร์
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                การเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนไตจากผู้เสียชีวิต, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, การรักษาภาวะหย่อยสมรรถภาพทางเพศ, ชายวัยทอง
              • Link to doctor
                MedPark Hospital Logo

                ศ.นพ. กิตติณัฐ กิจวิกัย

                • ศัลยศาสตร์
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
              • Link to doctor
                นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

                นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

                • ศัลยศาสตร์
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
              • Link to doctor
                นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

                นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

                • ศัลยศาสตร์
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                การบีบขับปัสสาวะผิดปกติ, Laparoscopic Urologic Surgery
              • Link to doctor
                นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

                นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

                • ศัลยศาสตร์
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
              • Link to doctor
                รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

                รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

                • ศัลยศาสตร์
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
                ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
              • Link to doctor
                นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

                นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

                • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
                • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ