อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉยและการรักษาเนื้องอกในสมอง (Brain Tumor)

เนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมองคือการรวมตัวของเซลล์ที่ผิดปกติในสมอง มีเนื้องอกในสมองหลายชนิดซึ่งอาจเป็นได้ทั้งชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง หรือชนิดที่เป็นมะเร็ง

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


เนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมองคือการรวมตัวของเซลล์ที่ผิดปกติในสมอง มีเนื้องอกในสมองหลายชนิดซึ่งอาจเป็นได้ทั้งชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง หรือชนิดที่เป็นมะเร็ง เนื้องอกในสมองบางชนิดอาจถือกำเนิดขึ้นในสมอง ในขณะที่บางชนิดอาจเกิดขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังสมอง ความรุนแรงของเนื้องอกขึ้นอยู่กับตำแหน่งและอัตราการเติบโต เงื่อนไขเหล่านี้ยังสะท้อนถึงผลกระทบของเนื้องอกต่อการทำงานของระบบประสาท

อาการเนื้องอกในสมอง

สัญญาณและอาการของเนื้องอกในสมองแตกต่างกันไปตามสภาพ รวมถึงขนาดตำแหน่งและอัตราการเติบโต ผู้ที่มีเนื้องอกในสมองอาจพบอาการดังต่อไปนี้

  • อาการปวดศีรษะที่ผิดปกติซึ่งเกิดขึ้นถี่และรุนแรงขึ้น
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ความยากลำบากในการมองเห็น เช่น การมองเห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว หรือสูญเสียการมองเห็น
  • สูญเสียความรู้สึก
  • สูญเสียการเคลื่อนไหวของแขนหรือขา
  • ปัญหาการทรงตัว
  • ปัญหาการพูด
  • ความสับสนการจัดการงานประจำวัน
  • การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพหรือพฤติกรรม
  • อาการชักที่ไม่เคยประสบมาก่อน
  • ปัญหาการได้ยิน

 

เมื่อไรจึงควรพบแพทย์

คุณควรพบแพทย์หากมีสัญญาณหรือาการที่ผิดปกติไป รวมถึงหากเกิดอาการที่กล่าวไว้ข้างต้น

สาเหตุของโรคเนื้องอกในสมอง

  • เนื้องอกในสมองชนิดปฐมภูมิ
    เนื้องอกชนิดนี้เกิดและพัฒนาขึ้นในสมองหรือในเนื้อเยื่อใกล้เคียง เช่น เส้นประสาทสมอง หรือต่อมไพเนียล เนื้องอกเป็นผลจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอที่ทำให้เซลล์เติบโตและแบ่งตัวได้มากขึ้นอย่างผิดปกติ เซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้ยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปในขณะที่เซลล์ปกติจะถูกทำลายและตาย การรวมตัวของเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้ส่งผลให้เกิดเนื้องอก อย่างไรก็ตามเนื้องอกปฐมภูมิที่สมองมักไม่ค่อยเกิดขึ้นในผู้ป่วยผู้ใหญ่ เนื้องอกในสมองชนิดทุติยภูมิหรือเนื้องอกที่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายพบได้บ่อยกว่าในผู้ใหญ่ เนื้องอกในสมองชนิดนี้สามารถแบ่งได้ตามชื่อของเซลล์ที่เกี่ยวข้อง เช่น
    • เนื้องอกสมองกลิโอมา (Glioma)
      เนื้องอกชนิดนี้พัฒนาในสมองหรือไขสันหลัง ได้แก่ astrocytomas, ependymomas, glioblastomas, oligoastrocytomas และ oligodendrogliomas
    • เนื้องอกของเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma)
      เนื้องอกของเยื่อหุ้มสมองเป็นเนื้องอกที่เกิดจากเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง เนื้องอกในสมองชนิดนี้มักไม่ค่อยเป็นมะเร็ง
    • เนื้องอกประสาทหู (Acoustic neuroma หรือ Vestibular schwannoma)
      เนื้องอกชนิดนี้เกิดขึ้นที่เส้นประสาทซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมสมดุลและการได้ยิน
    • เนื้องอกต่อมใต้สมอง (Pituitary adenoma)
      เนื้องอกต่อมใต้สมองเป็นเนื้องอกในสมองชนิดหนึ่งที่พัฒนาในต่อมใต้สมองบริเวณฐานของสมอง ซึ่งมีผลต่อฮอร์โมนของต่อมใต้สมองทำให้เกิดผลกระทบทั่วร่างกาย
    • เนื้องอกมะเร็งสมอง (Medulloblastomas)
      เนื้องอกในสมองที่เป็นมะเร็งในเด็กที่พบบ่อยที่สุดนี้เริ่มต้นที่ส่วนหลังส่วนล่างของสมองและมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายผ่านน้ำไขสันหลัง
    • เนื้องอกจากเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิด (Germ Cell Tumors)
      เนื้องอกในสมองชนิดนี้อาจก่อตัวขึ้นในช่วงวัยเด็กที่บริเวณอัณฑะหรือรังไข่ ส่วนต่างๆของร่างกายอาจได้รับผลกระทบจากเซลล์สืบพันธุ์รวมทั้งสมอง
    • เนื้องอกใกล้ต่อมใต้สมอง (Craniopharyngiomas)
      เนื้องอกในสมองที่ไม่เป็นมะเร็งชนิดหายากที่เกิดขึ้นใกล้กับต่อมใต้สมองบริเวณที่หลั่งฮอร์โมนที่ทำงานหลายอย่างของร่างกาย การพัฒนาของเนื้องอกชนิดนี้อาจส่งผลต่อต่อมใต้สมองและโครงสร้างอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้กับสมอง

  • เนื้องอกในสมองชนิดทุติยภูมิ
    เนื้องอกในสมองทุติยภูมิเกิดจากมะเร็งที่แพร่กระจายจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายไปยังสมอง เนื้องอกในสมองประเภทนี้มักเกิดกับผู้ที่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน ทั้งนี้เนื้องอกในสมองระยะแพร่กระจายอาจเป็นสัญญาณของการเกิดมะเร็งจากส่วนอื่นของร่างกายได้อีกด้วย
    ประเภทของมะเร็งที่มักพบเกี่ยวกับเนื้องอกในสมอง ได้แก่
    • มะเร็งเต้านม
    • มะเร็งลำไส้ใหญ่
    • มะเร็งไต
    • มะเร็งปอด
    • มะเร็งผิวหนัง


ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดเนื้องอกในสมอง

สาเหตุของเนื้องอกในสมองยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างเนื้องอกในสมองและปัจจัยบางอย่างรวมถึงการได้รับรังสีและประวัติของสมาชิกในครอบครัวที่เป็นเนื้องอกในสมอง

การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

แพทย์อาจต้องทำการทดสอบบางอย่างเพื่อวินิจฉัยเนื้องอกในสมอง อันได้แก่

  • การตรวจระบบประสาท เพื่อหาร่องรอยที่อาจแสดงถึงผลกระทบจากเนื้องอกในสมอง
  • การทดสอบภาพรวมทั้ง เอ็มอาร์ไอ ซีทีแสกน และ เพ็ทแสกน  (MRI CT scan และ PET) เพื่อทำการสร้างภาพของสมองและประเมินลักษณะของเนื้องอกก่อนวางแผนการรักษา
  • ตรวจหามะเร็งในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย หากต้องการค้นหามะเร็งในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแพทย์อาจทำการทดสอบบางอย่าง เช่น ซีทีแสกน หรือ เพ็ทแสกน
  • การตรวจชิ้นเนื้อ อาจมีการรวบรวมและทดสอบตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ผิดปกติเพื่อตรวจสอบว่าเนื้อเยื่อนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่

 

การรักษาเนื้องอกในสมอง

การรักษาเนื้องอกในสมองแตกต่างกันไปตามสภาพของแต่ละบุคคลและลักษณะของเนื้องอก โดยรวมถึงขนาด ตำแหน่งและประเภท การรักษาอาจรวมถึงการรักษาดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัด ในกรณีที่เนื้องอกอยู่ในบริเวณที่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดเอาเนื้องอกในสมองออก โดยแพทย์จะประเมินตำแหน่งและขนาดของเนื้องอกเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการผ่าตัด ทั้งนี้อาการจากเนื้องอกในสมองมักจะลดลงแม้จะเอาเนื้องอกในสมองเพียงบางส่วนออกไป
  • การรักษาด้วยรังสี การรักษาด้วยรังสีมีวัตถุประสงค์เพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอก การรักษาด้วยรังสีมีหลายประเภท ได้แก่ การฉายรังสีจากภายนอกโดยการส่งรังสีจากเครื่องภายนอกร่างกาย และการบำบัดด้วยรังสีด้วยอุปกรณ์ส่งรังสีที่อยู่ภายในร่างกาย โดยทำการใส่ไว้ใกล้กับเนื้องอกในสมอง แพทย์จะประเมินสภาพของเนื้องอกในสมองเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสม
  • การผ่าตัดด้วยรังสี การผ่าตัดด้วยรังสีคือการใช้รังสีหลายลำแสงเพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอก
  • เคมีบำบัด ยาเคมีบำบัดสามารถเป็นได้ทั้งยารับประทานหรือการให้ยาทางหลอดเลือดดำ มีจุกประสงค์เพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอก
  • การรักษาแบบจำเพาะเจาะจง การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงคือการบำบัดด้วยยาที่มุ่งเน้นไปที่การจัดการต่อความผิดปกติภายในเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ ยาจะไปขัดขวางความผิดปกติเหล่านี้และทำให้เซลล์มะเร็งตาย


การฟื้นฟูหลังการรักษาเนื้องอกในสมอง

เนื่องจากสมองควบคุมการทำงานหลายอย่างรวมถึงทักษะต่าง ๆ ตลอดจนการพูด การมองเห็นและการคิดวิเคราะห์ หลังการรักษาแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดเพื่อฟื้นฟู ดังเช่นการบำบัดและกิจกรรมดังต่อไปนี้

  • กายภาพบำบัด
  • กิจกรรมบำบัด
  • การบำบัดการพูด
  • การติวเข้มสำหรับเด็กวัยเรียน

 

การเตรียมการก่อนการพบแพทย์

ก่อนการนัดหมายคุณควรตระหนักถึงข้อจำกัดที่อาจต้องปฏิบัติก่อนการนัดหมาย และคุณอาจเตรียมข้อมูลบางอย่าง เช่น

  • อาการที่เกิดขึ้น
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ
  • ยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่
  • คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์

ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูล เช่น

  • จุดเริ่มต้นของอาการ
  • อาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว
  • ความรุนแรงของอาการ
  • สิ่งที่อาจทำให้อาการของคุณดีขึ้นหรือแย่ลง



คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

  1. คำถาม: เนื้องอกในสมอง คืออะไร?
    คำตอบ: เนื้องอกในสมองคือการรวมตัวของเซลล์ที่ผิดปกติในสมอง มีเนื้องอกในสมองหลายชนิดซึ่งอาจเป็นได้ทั้งชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง หรือชนิดที่เป็นมะเร็ง เนื้องอกในสมองบางชนิดอาจถือกำเนิดขึ้นในสมอง ในขณะที่บางชนิดอาจเกิดขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังสมอง ความรุนแรงของเนื้องอกขึ้นอยู่กับตำแหน่งและอัตราการเติบโต

  2. คำถาม: เนื้องอกในสมอง มีอาการอย่างไร?
    คำตอบ: สัญญาณและอาการของเนื้องอกในสมองแตกต่างกันไปตามสภาพ รวมถึงขนาดตำแหน่งและอัตราการเติบโต เช่น ปวดศีรษะที่ผิดปกติซึ่งเกิดขึ้นถี่และรุนแรงขึ้น คลื่นไส้หรืออาเจียน มองเห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว หรือสูญเสียการมองเห็น ปัญหาการทรงตัว การพูด ปัญหาการได้ยิน อาการชัก

  3. คำถาม: สาเหตุที่เป็นเนื้องอกในสมอง คืออะไร?
    คำตอบ: เนื้องอกในสมองชนิดปฐมภูมิ เกิดและพัฒนาขึ้นในสมองหรือในเนื้อเยื่อใกล้เคียง เช่น เส้นประสาทสมอง หรือต่อมไพเนียล เนื้องอกเป็นผลจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอที่ทำให้เซลล์เติบโตและแบ่งตัวได้มากขึ้นอย่างผิดปกติ เนื้องอกในสมองชนิดทุติยภูมิ เกิดจากมะเร็งที่แพร่กระจายจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายไปยังสมอง เนื้องอกในสมองประเภทนี้มักเกิดกับผู้ที่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน

  4. คำถาม: การตรวจวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง มีอะไรบ้าง?
    คำตอบ: การตรวจระบบประสาทเพื่อหาร่องรอยที่อาจแสดงถึงผลกระทบจากเนื้องอกในสมอง การทดสอบภาพ MRI CT scan และ PET เพื่อทำการสร้างภาพของสมองและประเมินลักษณะของเนื้องอกก่อนวางแผนการรักษา การตรวจหามะเร็งในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย และการตรวจชิ้นเนื้อ อาจมีการรวบรวมและทดสอบตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ผิดปกติเพื่อตรวจสอบว่าเนื้อเยื่อนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่

  5. คำถาม: เนื้องอกในสมอง รักษาได้ไหม?
    คำตอบ: การรักษาเนื้องอกในสมองแตกต่างกันไปตามสภาพของแต่ละบุคคลและลักษณะของเนื้องอก โดยรวมถึงขนาด ตำแหน่งและประเภท เช่น การผ่าตัด เนื้องอกต้องอยู่ในบริเวณที่สามารถผ่าตัดได้ เพื่อเอาเนื้องอกในสมองออก การรักษาด้วยรังสีเพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอก การผ่าตัดด้วยรังสีคือการใช้รังสีหลายลำแสงเพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอก เคมีบำบัด หรือการรักษาแบบจำเพาะเจาะจงคือการบำบัดด้วยยาที่มุ่งเน้นไปที่การจัดการต่อความผิดปกติภายในเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ


สัญญาณเตือนเนื้องอกในสมอง (Brain Tumor)

เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. สาริน กิจพาณิชย์

    พญ. สาริน กิจพาณิชย์

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Head and Neck Cancer, Upper GI Cancer, Central Nervous System Tumors, Brain and Spinal Tumor, Brain Metastasis, Intensity-Modulated Radiotherapy (IMRT), Volumetric Modulated Arc Therapy (VMAT), Stereotactic Radiosurgery (SRS), Stereotactic Radiotherapy (SRT), Stereotactic Body Radiotherapy (SBRT), Proton Therapy, Radiation Oncology
  • Link to doctor
    ดร.พญ. อนุสสรา ประยงค์รัตน์

    ดร.พญ. อนุสสรา ประยงค์รัตน์

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Radiation Oncology, Brain and Spinal Tumor, Head and Neck Cancer, Esophageal Cancer, Metastatic Cancer