การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (Chest CT Scan)

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (Chest CT Scan)

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan เป็นการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายรังสี ซึ่งจะสร้างภาพหลายมิติของอวัยวะภายใน รวมทั้งเส้นเลือด เนื้อเยื่อ และกระดูก ภาพจากการ CT scan จะมีความละเอียดสูงกว่าเอกซเรย์

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (Chest CT Scan)

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan เป็นการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายรังสี ซึ่งจะสร้างภาพหลายมิติของอวัยวะภายใน รวมทั้งเส้นเลือด เนื้อเยื่อ และกระดูก ภาพจากการ CT scan จะมีความละเอียดสูงกว่าเอกซเรย์ทั่วไป การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (Chest CT Scan) ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ไม่ต้องผ่าตัด ทั้งยังช่วยตรวจหาเนื้องอกก่อนเป็นมะเร็งในระยะลุกลามทำให้รักษาหายได้อย่างทันท่วงที

ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก(Chest CT Scan) มักใช้เพื่อ

  • ตรวจวินิจฉัยโรคปอด
  • ช่วยในการวินิจฉัยอาการเจ็บหน้าอก ไอ หายใจหอบ มีไข้ หรืออาการทรวงอกอื่น ๆ ที่หาสาเหตุไม่ได้ด้วยวิธีเบื้องต้น
  • ช่วยในการตรวจอาการบาดเจ็บที่ทรวงอก
  • ตรวจหาความผิดปกติและเนื้องอกในทรวงอกว่าลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ หรือไม่
  • ติดตามดูว่าเนื้องอกตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่
  • วางแผนการรักษาด้วยรังสีรักษา

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (Chest CT Scan)
ขั้นตอนของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก
(Chest CT Scan)

ก่อนเข้ารับการตรวจ Chest CT Scan

ผู้เข้ารับการตรวจควรแจ้งแพทย์ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • กำลังตั้งครรภ์
  • มีอาการแพ้หรือมีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด โรคเบาหวาน โรคไต โรคไทรอยด์ ซึ่งโรคเหล่านี้จะไปเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องฉีดสารทึบรังสี
  • แพ้สารทึบรังสี โดยแพทย์อาจให้ยาป้องกันการเกิดอาการแพ้ก่อนทำการตรวจ

แพทย์อาจให้งดน้ำและอาหาร 2-4 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ ไม่ควรสวมใส่วัตถุที่เป็นโลหะ เช่น กิ๊บติดผม ฟันปลอมที่ถอดได้ แว่นตา เครื่องช่วยฟัง เครื่องประดับ หรือชุดชั้นในแบบมีโครง เพราะอาจส่งผลต่อคุณภาพของภาพถ่ายได้  

ระหว่างเข้ารับการตรวจ Chest CT Scan

ขั้นตอนการตรวจใช้เวลาประมาณ 30 นาที เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงประเภท Multidetector ช่วยย่นระยะเวลาการตรวจ ขณะได้รับการตรวจแม้จะอยู่เพียงลำพังแต่สามารถพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ผ่านอินเตอร์คอม ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจเป็นเด็กแพทย์อาจอนุญาตให้ผู้ปกครองเข้าไปพร้อมกันได้ โดยจำเป็นต้องใส่เสื้อป้องกันรังสี

  • เจ้าหน้าที่จะให้ผู้เข้ารับการตรวจนอนหงายบนเตียง
  • หากจำเป็นต้องใช้สารทึบแสง เจ้าหน้าที่จะฉีดสารเข้าทางเส้นเลือดก่อนเริ่มตรวจ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกอุ่น ๆ ตามแนวเส้นเลือดที่รับการฉีด รู้สึกมีรสโลหะในปาก หรือเกิดอาการปวดปัสสาวะ อาการเหล่านี้เป็นผลข้างเคียงจากการฉีดสารทึบแสง
  • เตียงจะขยับเพื่อปรับตำแหน่งให้เหมาะสม ผู้เข้ารับการตรวจอาจมองเห็นแสงไฟเป็นเส้นบนลำตัว เมื่อเตียงเคลื่อนเข้าไปในเครื่องสแกนเพื่อทำการถ่ายภาพอาจได้ยินเสียงจากตัวเครื่องเนื่องจาก มีชิ้นส่วนด้านในตัวเครื่องหมุน
  • เจ้าหน้าที่จะบอกให้ผู้เข้ารับการตรวจกลั้นหายใจและอยู่นิ่ง ๆ ขณะทำการสแกน ผู้เข้ารับการตรวจไม่ควรขยับตัวเพราะอาจทำให้ภาพถ่ายที่ได้ไม่ชัด
  • เจ้าหน้าที่อาจให้ยาระงับความรู้สึกในเด็กหรือผู้ที่รู้สึกอึดอัด เป็นกังวลกับการต้องนอนนิ่ง ๆ ในที่แคบ
  • สุดท้ายเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจคุณภาพของภาพถ่ายเพื่อดูว่าภาพถ่ายที่ได้นั้นชัดเพื่อการอ่านและแปลผลอย่างถูกต้องแม่นยำ

หลังเข้ารับการตรวจ Chest CT Scan

  • รังสีแพทย์จะทำการแปลและวิเคราะห์ผล
  • แพทย์จะอธิบายผลให้ผู้เข้ารับการตรวจฟังและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
  • จากนั้นแพทย์อาจจะขอให้เข้ามาตรวจซ้ำในภายหลังเพื่อดูประสิทธิภาพของการรักษา


ข้อดีของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก
(Chest CT Scan)

  • รวดเร็ว ไม่เจ็บปวด ไม่ต้องผ่าตัด และแม่นยำ
  • ถ่ายภาพเส้นเลือด เนื้อเยื่อ และกระดูกได้ละเอียด
  • เป็นการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายแบบ real time ซึ่งเหมาะกับการตรวจภาวะเลือดออกภายในหรือการได้รับบาดเจ็บในกรณีฉุกเฉิน
  • ไม่ต้องอยู่นิ่งและนานเท่าการตรวจ MRI
  • ลดปัญหาเรื่องการต้องทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัย
  • ผู้ที่ฝังเครื่องมือทางการแพทย์ในร่างกาย เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหัวใจสามารถเข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (Chest CT Scan) ได้ปลอดภัย ต่างจากการตรวจ MRI
  • ไม่มีรังสีตกค้างในร่างกาย
  • สามารถตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกแบบใช้รังสีต่ำได้ (Low-dose chest CT scan)


ความเสี่ยงของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก
(Chest CT Scan)

  • ความเสี่ยงต่อบุตรในครรภ์
  • อาการข้างเคียงจากการฉีดสารทึบรังสี แต่มักพบได้น้อย
  • มีความเสี่ยงเล็กน้อยว่าอาจเกิดการกระตุ้นเซลล์มะเร็งในกรณีที่ได้รับรังสีปริมาณมาก ซึ่งอาจเลี่ยงได้โดยให้การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ด้วยปริมาณรังสีต่ำ (Low-dose CT scan)


การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยปริมาณรังสีต่ำ (
Low-dose chest CT scan)

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยปริมาณรังสีต่ำเป็นเทคนิคการตรวจที่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจน้อยถึง 65 %  ปริมาณรังสีที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการตรวจแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับขนาดร่างกาย อาการของโรคที่มี และข้อมูลที่แพทย์ต้องการจากการตรวจ โดยทั่วไปนิยมใช้ในผู้ป่วยแผนกเด็กและแผนกโรคปอดในการตรวจหามะเร็งระยะเริ่มต้น





บทความโดย
นพ.วรการ วิไลชนม์

อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคปอด
ประวัติแพทย์

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 07 พ.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, อายุรศาสตร์โรคปอด, เวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    นพ. เกษม สิริธนกุล

    นพ. เกษม สิริธนกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, หายใจลำบาก, ไอเรื้อรัง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคมะเร็งปอด, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, โรคปอดบวม, คลินิกหยุดบุหรี่
  • Link to doctor
    นพ. วรการ วิไลชนม์

    นพ. วรการ วิไลชนม์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, เครื่องช่วยหายใจ, วัณโรค
  • Link to doctor
    นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา

    นพ. อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. กันต์ โอโกโนกิ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    เวชบำบัดวิกฤต, อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. ประภาพร พรสุริยะศักดิ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. วิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ