อาการและวิธีรักษาวัคซีนโรคอีสุกอีใส (Chickenpox)

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox)

อีสุกอีใส เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็ก อีสุกอีใสเป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายได้ง่ายในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคนี้หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ที่มีการสัมผัสหรือหายใจร่วมกัน

แชร์

โรคอีสุกอีใส คืออะไร?

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-Zoster Virus) เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อได้ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสมาก่อน ในปัจจุบันมีวัคซีนอีสุกอีใสที่ช่วยป้องกันเด็กจากการเป็นอีสุกอีใส ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคกล่าวว่าการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสเป็นประจำและตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นสิ่งที่จำเป็นในการป้องกันโรคอีสุกอีใส โรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์

ลักษณะอาการโรคอีสุกอีใส

อาการของโรคอีสุกอีใสจะเริ่มจากผื่นคันและจะมีอาการอยู่ประมาณ 10-21 วันหลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัส หลังจากนั้นจะเกิดผื่นพุพองที่จะแสดงอาการอยู่ประมาณ 5-10 วัน อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นก่อนการเกิดผื่น ได้แก่

  • ไข้
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดศรีษะ
  • รู้สึกอ่อนล้าและไม่สบายตัว  

อาการโรคอีสุกอีใสสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 – มีตุ่มสีชมพูหรือแดง เริ่มก่อตัวบนผิวหนังและเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาหลายวัน
ระยะที่ 2 – ตุ่มน้ำจะเกิดขึ้นภายในหนึ่งวันและเริ่มมีการแตก
ระยะที่ 3 – เกิดสะเก็ดแผลที่จะครอบตุ่มน้ำที่เกิดการแตก สะเก็ดเหล่านี้จะใช้เวลาอีกหลายวันกว่าจะดีขึ้น


ลักษณะอาการโรคอีสุกอีใส 3 ระยะ


หลังจากผู้ป่วยผ่านอาการโรคอีสุกอีใสทั้ง 3 ระยะแล้ว ผู้ป่วยจะพบว่าเกิดตุ่มแดงบนผิวหนังเป็นระยะเวลาหลายวัน และในที่สุดผู้ป่วยจะมีอาการของผื่นชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตุ่มแดง ตุ่มน้ำ และในที่สุดก็จะกลายเป็นสะเก็ดแผล ผู้ป่วยจะเริ่มเข้าสู่ระยะแพร่เชื้อเป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมงก่อนเกิดผื่น โดยผู้ป่วยจะยังอยู่ในระยะเวลาแพร่เชื้อจนกว่าจะเกิดสะเก็ดแผลครอบตุ่มน้ำ หลังจากนั้นจึงจะพ้นระยะของการแพร่เชื้อ

โรคอีสุกอีใสจะไม่แสดงอาการที่รุนแรงในเด็กที่มีสุขภาพดี อย่างไรก็ตามในเคสที่มีความรุนแรง ผื่นจะเกิดการลุกลามไปทั่วทั้งร่างกายและจะเกิดรอยโรคขึ้นในช่องคอ รวมถึงที่เยื่อบุผิวบริเวณท่อปัสสาวะ ทวารหนัก และช่องคลอด

 

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์  

ควรทำการนัดพบแพทย์หากคิดว่าคุณหรือบุตรของคุณมีอาการของโรคอีสุกอีใส แพทย์จะตรวจวินิจฉัยด้วยการตรวจหาผื่นที่มีลักษณะคล้ายอีสุกอีใสและจะดูอาการภาพรวมของผู้ป่วย แพทย์อาจจะทำการสั่งยาเพื่อบริหารอาการของอีสุกอีใสรวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังนั้นควรทำการติดต่อแพทย์และแจ้งทางโรงพยาบาลทันทีหากผู้ป่วยคิดว่าอาจจะมีอาการของอีสุกอีใส เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อไปยังผู้ป่วยท่านอื่น ๆ

นอกจากอาการอีสุกอีใสแล้ว ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์หากพบว่าผื่นมีการลุกลามไปที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือตาทั้งสองข้าง หากนั่นอาจหมายถึงการติดเชื้อทางผิวหนังจากแบคทีเรียชนิดอื่นๆ หรือหากผื่นมาพร้อมกับอาการอื่นๆ อย่างเช่น วิงเวียน ศีรษะ อัตราการเต้นของหัวใจเร็ว หายใจลำบาก การสั่น สูญเสียความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อ อาการไอทรุดลง อาเจียน ปวดเมื่อยคอ หรือมีไข้สูงกว่า 38.9 เซลเซียส



สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

สาเหตุของเชื้อโรคอีสุกอีใสเกิดจากไวรัสที่แพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น ๆ ผ่านการสัมผัสกับผื่นโดยตรง นอกจากนั้นหากผู้ป่วยไอ หรือจามอาจจะทำการกระจายละอองเชื้ออีสุกอีใสไปในอากาศและทำการแพร่เชื้อแก่คนอื่นที่หายใจละอองที่มีเชื้อเข้าไปในร่างกาย

ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสี่ยงสูงจากการติดเชื้ออีสุกอีใสหากไม่เคยมีประวัติเป็นโรคอีสุกอีใส หรือไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน วัคซีนอีสุกอีใสมีความสำคัญมากโดยเฉพาะกับคนที่ทำงานในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือในโรงเรียน

สำหรับคนที่เคยมีประวัติติดเชื้ออีสุกอีใส หรือมีประวัติเคยได้รับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสนั้น ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันอีสุกอีใส ส่วนในกรณีผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสแล้ว แต่ยังตรวจพบโรคอีสุกอีใสอีกจะพบว่าอาการของโรคจะไม่มีความรุนแรง พบตุ่มน้ำในปริมาณที่น้อยลงและพบไข้ที่ต่ำลง อย่างไรก็ตามการที่จะเกิดโรคอีสุกอีใสเป็นครั้งที่สองในชีวิตนั้นสามารถพบได้น้อยครั้ง

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคอีสุกอีใส

ถึงแม้โรคอีสุกอีใสจะเป็นโรคที่มีอาการไม่รุนแรง แต่ในกรณีที่อาการโรคอีสุกอีใสรุนแรงสามารถส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย ดังต่อไปนี้

  • ติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ผิวหนัง เนื้อเยื่อ กระดูก ข้อต่อ หรือกระแสเลือด
  • ภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • โรคปอดอักเสบ
  • โรคไข้สมองอักเสบ
  • กลุ่มอาการท็อกสิกช็อก
  • โรคเรย์ซินโดรมที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กหรือวัยรุ่นที่รับประทานยาแอสไพรินช่วงที่เป็นโรคอีสุกอีใส
  • เสียชีวิต

กลุ่มเสี่ยงโรคอีสุกอีใสมีใครบ้าง

  • เด็กแรกเกิดและทารกที่มารดาไม่เคยเป็นอีสุกอีใส หรือได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส 
  • วัยรุ่นและผู้ใหญ่
  • สตรีมีครรภ์ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อย่างเช่นคนที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือมีโรคอื่นๆ อย่างเช่นโรคมะเร็งหรือติดเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ตัวยาสเตียรอยด์ในการรักษาโรคหืด

ผลกระทบโรคอีสุกอีใสต่อการตั้งครรภ์ 

เด็กที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อโรคอีสุกอีใสช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ระยะแรก เด็กที่คลอดมักจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์และความพิการที่แขนและขา นอกจากนี้เด็กยังจะเกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคอีสุกอีใสที่มีความรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต

หากมารดามีการติดเชื้ออีสุกอีใสในช่วงสัปดาห์ก่อนการคลอดบุตรหรือสัปดาห์หลังจากการคลอดบุตร ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับตัวมารดาและทารกหากผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์ และไม่มีภูมิคุ้มกันโรคอีสุกอีใส

 

โรคงูสวัด โรคต่อเนื่องจากการเป็นอีสุกอีใส

ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเป็นโรคอีสุกอีใสพบว่ามีความเสี่ยงที่สูงกว่าในการเกิดโรคงูสวัด โรคงูสวัดคือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ที่ยังคงอยู่ในเซลล์ประสาท ถึงแม้ว่าการติดเชื้อที่ผิวหนังจะหายดีแล้ว ไวรัสสามารถเกิดขึ้นได้อีกและทำให้เกิดโรคงูสวัด

โรคงูสวัดจะมีอาการตุ่มน้ำพุพองที่เกาะกลุ่มและเป็นตุ่มที่สร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วย ตุ่มน้ำพุพองเหล่านี้มีอายุสั้น แต่อาการปวดอาจจะอยู่ได้นานกว่าถึงแม้ตุ่มจะหายไป ภาวะนี้เรียกว่าอาการปวดเส้นประสาทหลังจากเป็นโรคงูสวัด (postherpetic neuralgia) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงและมักจะเกิดกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดสำหรับผู้ใหญ่ที่เคยมีประวัติเป็นโรคอีสุกอีใส อย่างวัคซีน Shingrix เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองว่าเหมาะสำหรับผู้ป่วยอายุ 50 หรือมากกว่า ที่เคยได้รับการฉีดวัคซีน Zostavax โดยส่วนมากแพทย์มักจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิด Shingrix มากกว่า Zostavax

ป้องกันตนเองอย่างไร 

วิธีการป้องกันอีสุกอีใสที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคกล่าวว่า การฉีดวัคซีนอีสุกอีใสจะช่วยป้องกันการเกิดโรคอีสุกอีใสและบรรเทาอาการของโรคอีสุกอีใสได้อย่างมีประสิทธิผล

 

วัคซีนอีสุกอีใสเหมาะกับใครบ้าง

  1. เด็กเล็ก

    ช่วงวัยที่ควรได้รับวัคซีนมากที่สุดคือในวัยเด็ก โดยวัคซีนอีสุกอีใสสามารถฉีดร่วมกันกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ อย่างเช่นวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน โรคหัดหรือโรคคางทูม อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนรวมอาจมีผลข้างเคียงอย่างเช่น อาการไข้และชัก ในเด็กที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 23 เดือน

  2. เด็กโตที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส

    เด็กโตที่มีอายุระหว่าง 7 ถึง 12 ปี ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ควรฉีดวัคซีนอีสุกอีใสจำนวนสองเข็ม โดยแต่ละเข็มควรห่างกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับเด็กโตที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป ควรได้รับการฉีดวัคซีนสองเข็ม โดยแต่ละเข็มควรห่างกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์

  3. ผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส

    กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการได้รับเชื้ออีสุกอีใส อย่างเช่นบุคลากรทางการแพทย์ หรือกลุ่มที่ทำงานในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ทหาร หรือคนที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นประจำ นอกจากนี้ผู้ใหญ่ที่อยู่กับเด็กเล็กและสตรีที่สามารถตั้งครรภ์ได้ ก็ควรจะได้รับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสด้วยเช่นกัน

  4. ผู้ใหญ่ที่ไม่เคยมีประวัติป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส

    ผู้ใหญ่ที่ไม่เคยมีประวัติป่วยหรือมีอาการโรคอีสุกอีใส กลุ่มนี้ควรได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมดสองเข็ม และแต่ละเข็มควรเว้นระยะห่าง 4-8 สัปดาห์ ปรึกษาแพทย์หากผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าเคยมีประวัติติดเชื้ออีสุกอีใสหรือเคยได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่ แพทย์จะทำการส่งตรวจเลือดเพื่อดูระบบภุมิคุ้มกันของผู้ป่วย


วัคซีนอีสุกอีใสไม่เหมาะกับใครบ้าง

  • สตรีที่ตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อย่างเช่นผู้ป่วยเอชไอวี
  • ผู้ที่ต้องทำการรักษาด้วยยากดภูมิคุ่มกัน
  • ผู้ที่แพ้เจลาตินหรือยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ 

ในกลุ่มข้างต้นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาว่าผู้ป่วยเคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสก่อนวางแผนมีบุตรหรือตั้งครรภ์เสม

วัคซีนอีสุกอีใสเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผลในการป้องกันอีสุกอีใส โดยการฉีดวัคซีนมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อยและไม่รุนแรง ดังนี้

  • ผิวแดง 
  • รู้สึกปวด 
  • ตุ่มเล็กๆเกิดขึ้นบริเวณที่ฉีดวัคซีน แต่พบได้ไม่บ่อยนัก

การวินิจฉัย และวิธีรักษาโรคอีสุกอีใส

แพทย์สามารถวินิฉัยโรคอีสุกอีใสด้วยการตรวจร่างกายผู้ป่วยหาผื่นที่มีลักษณะคล้ายผื่นอีสุกอีใส รวมถึงทำการตรวจชนิดอื่น ๆ ดังนี้

  • การตรวจเลือด 
  • การเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหารอยโรค 

โดยทั่วไปโรคอีสุกอีใสไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยเฉพาะกับเด็กที่มีสุขภาพดี อย่างไรก็ตามแพทย์จะทำการสั่งยาแก้แพ้เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรค 

สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแรกซ้อน แพทย์จะทำการสั่งยาเพื่อลดระยะเวลาการติดเชื้อและช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน  

หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยหรือบุตรที่มีอาการของโรคอีสุกอีใสมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะทำการสั่งยาต้านไวรัสเพื่อช่วยลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจากอีสุกอีใส ยาจะถูกสั่งให้ผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเกิดผื่น ยาต้านไวรัสชนิดอื่น ๆ จะช่วยบรรเทาภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดจากโรค แพทย์จะทำการแนะนำให้ผู้ป่วยทำการฉีดวัคซีนหลังจากสัมผัสกับไวรัส ทั้งนี้เพื่อช่วยป้องกันการเกิดโรคและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง


การรักษาโรคอีสุกอีใสเมื่อมีภาวะแทรกซ้อน

แพทย์จะหาการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย แพทย์อาจจะทำการสั่งยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาอาการติดเชื้อบนผิวหนังรวมถึงอาการปอดติดเชื้อ ยาต้านไวรัสจะช่วยในการรักษาโรคไข้สมองอักเสบ ในบางกรณผู้ป่วยอาจมีความจำเป็นต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล


วิธีการดูแลตนเองเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคอีสุกอีใส

  • หลีกเลี่ยงการเกาแผลเนื่องจากการเกาจะสามารถทำให้เกิดแผลและทำให้แผลหายช้า และจะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อ
  • ผู้ป่วยควรทำการนัดพบแพทย์ หากพบว่ามีอาการไข้กินระยะเวลานานเกิน 4 วันและมีไข้ที่สูงกว่า 38.9 เซลเซียส
  • หลีกเลี่ยงการให้ยาแอสไพรินแก่เด็กหรือวัยรุ่นที่มีโรคอีสุกอีใส เนื่องจากอาจเกิดภาวะโรคเรย์ซินโดรม
  • ควรทำการปรึกษาแพทย์ก่อนทำการให้ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบกลุ่ม NSAID แก่ผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส มีการวิจัยเผยว่ายากลุ่มนี้อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อมาพบแพทย์  

ผู้ป่วยควรเตรียมตัวดังนี้ 

  • ถามแพทย์ว่ามีข้อปฏิบัติที่ผู้ป่วยหรือบุตรจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดหรือไม่ อย่างเช่นการแยกตัวเองออกจากผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • จดอาการทั้งหมดที่ผู้ป่วยและบุตรเป็นอยู่ในปัจจุบันรวมถึงระยะเวลาที่เริ่มเกิดอาการและมีอาการเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่
  • พยายามนึกว่าผู้ป่วยหรือบุตรได้มีการสัมผัสกับผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้หรือไม่
  • จดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพอื่นๆที่ผู้ป่วยหรือบุตรเป็น รวมถึงรายการยาที่ต้องรับประทานในปัจจุบัน
  • จดคำถามที่ผู้ป่วยประสงค์จะถามแพทย์  


คำถามเบื้องต้นในการตรวจวินิจฉัย

คำถามที่ผู้ป่วยสามารถถามแพทย์ มีดังนี้  

  • สาเหตุที่อาจส่งผลให้เกิดอาการเหล่านี้มีอะไรบ้าง  
  • มีสาเหตุอื่นๆที่อาจส่งผลให้เกิดอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่   
  • มีทางเลือกการรักษาแบบใดบ้าง 
  • อาการเหล่านี้ใช้ระยะเวลานานเท่าใดในการรักษา  
  • อาการเหล่านี้จะเกิดการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นหรือไม่ และระยะเวลาการแพร่เชื้อจะยาวนานเท่าใด
  • จะสามารถลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้อย่างไร

คำถามที่แพทย์จะทำการถามผู้ป่วย มีดังนี้  

  • อาการเริ่มแรกที่ผู้ป่วยสังเกตได้มีอะไรบ้าง  
  • ผู้ป่วยได้มีการติดต่อหรือสัมผัสบุคคลอื่นๆที่มีอาการใกล้เคียงโรคอีสุกอีใสในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาหรือไม่
  • ผู้ป่วยหรือบุตรเคยมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสหรือไม่ และหากมีการฉีด ได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมดกี่เข็ม
  • ผู้ป่วยหรือบุตรได้รับการรักษาภาวะทางการแพทยอื่นๆอยู่ด้วยหรือไม่
  • ในปัจจุบัน ผู้ป่วยหรือบุตรมีการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง วิตามิน หรืออาหารเสริมบ้างหรือไม่
  • บุตรของคุณกำลังเรียนหรืออยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือไม่
  • ผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรหรือไม่

เผยแพร่เมื่อ: 07 ก.พ. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ.  ศิรญา ไชยะกุล

    พญ. ศิรญา ไชยะกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต, โรคติดเชื้อหลังปลูกถ่ายอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก, โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อราลุกลามหรือไวรัส
  • Link to doctor
    พญ. รพีพรรณ  รัตนวงศ์นรา มอร์ด

    พญ. รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, การติดเชื้อทางเดินอาหาร, โรคติดเชื้อทั่วไป และการให้วัคซีน, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การติดเชื้อในระบบประสาท , โรคหนอนพยาธิ, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดเชื้อที่เนื้อเยื่อ, โรคติดเชื้อที่กระดูก, โรคติดเชื้อที่ข้อ, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, วัคซีน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน
  • Link to doctor
    พญ. นัทธมน บวรสถิตชัย

    พญ. นัทธมน บวรสถิตชัย

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    การรักษาเกี่ยวกับความงาม, สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, ผื่นแพ้สัมผัส, ผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง
  • Link to doctor
    พญ. ชัชฎาภรณ์ ชุณหรัศมิ์

    พญ. ชัชฎาภรณ์ ชุณหรัศมิ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, ผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน, โรคด่างขาว, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    • โรคผมร่วงและการผ่าตัดปลูกผม
    การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, ผื่นแพ้สัมผัส, ผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, รักษาหลุมสิว, การรักษาโรคผมร่วงและการผ่าตัดปลูกผม, ตจวิทยา โรคผิวหนัง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การจัดการโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีและการปฏิบัติตัว, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต