การติดต่อแพร่เชื้อ อาการ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาไข้ชิคุนกุนยา Chikungunya - Transmission, Symptoms, Diagnosis and Treatment

ไข้ชิคุนกุนยา

ไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya) เป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ เมื่อติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ซิก้า แต่มีอาการบางอย่างที่แตกต่างกันไปในการช่วยแยกโรคหากสงสัยควรได้รับการตรวจวินิจฉัย

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน

ไข้ชิคุนกุนยา

ไข้ชิคุนกุนยา เป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ เกิดจากไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นคําในภาษาคิมาคอนเด (Kimakonde) ในประเทศแทนซาเนียและโมแซมบีคในทวีปแอฟริกาซึ่งค้นพบเป็นครั้งแรก แปลว่า "บิดเบี้ยว" โดยอ้างถึงท่าทางของผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากอาการปวดข้อและกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โรคนี้พบครั้งแรกในแอฟริกาและแพร่กระจายไปยังเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ไข้ชิคุนกุนยามีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออก (Dengue fever) และโรคไข้ซิก้า (Zika fever) แต่มีอาการบางอย่างที่แตกต่างกันไปในการช่วยแยกโรค ดังนั้นหากสงสัยควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือยาจำเพาะในการจำกัดไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้ชิคุนกุนยา

การติดต่อแพร่เชื้อ

ไข้ชิคุนกุนยาไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่ติดต่อผ่านวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. ยุงสู่คน เมื่อคนที่มีเชื้อชิคุนกุนยาถูกยุงกัด ยุงตัวนั้นจะติดเชื้อและกลายเป็นพาหะโรค เราจึงควรป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ผู้ที่ติดเชื้อแล้วควรป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
  2. การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะอยู่ในครรภ์
  3. ขณะคลอด
  4. การสัมผัสกับเลือดที่ติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ

การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะอยู่ในครรภ์เกิดขึ้นได้บ้าง โดยมักเกิดขึ้นได้ในช่วงไตรมาสที่สอง หากแม่ติดเชื้ออยู่ ขณะกำลังคลอดบุตรสามารถแพร่เชื้อได้ อย่างไรก็ตามหากแม่มาติดเชื้อในช่วงให้นมบุตรจะไม่ทำให้ลูกติดเชื้อไวรัส สามารถให้นมลูกได้เนื่องจากเชื้อไวรัสไม่ส่งผ่านทางน้ำนมแม่  แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยาแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เนื่องจากประโยชน์ของนมแม่มีมากกว่าความเสี่ยงในการติดเชื้อ

การติดเชื้อจากเลือดในห้องปฏิบัติการเกิดขึ้นได้หากบุคลากรทางการแพทย์สัมผัสกับเลือดที่ติดเชื้อ

การติดต่อแพร่เชื้อไข้ชิคุนกุนยา

อาการของโรค

หลังจากถูกยุงที่ติดเชื้อกัด จะมีระยะฟักตัวก่อนเริ่มมีอาการภายใน 3 - 7 วัน

  • ไข้สูงเฉียบพลัน
  • อาการปวดข้อและบวม
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดศีรษะและคลื่นไส้
  • ตาแดง
  • ผื่น

อาการมักจะหายภายในหนึ่งสัปดาห์ ยกเว้นอาการปวดข้อและกล้ามเนื้อซึ่งอาจรุนแรงและมีอาการต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี

โดยปกติแล้วไข้ชิคุนกุนยาจะไม่ทําให้เกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต แต่หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจ หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงจะเพิ่มมากขึ้น

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการ หรือสงสัยว่าอาจติดเชื้อชิคุนกุนยาแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเพิ่งกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

การตรวจวินิจฉัย

แพทย์จะซักประวัติการเดินทางว่าเดินทางไปที่ที่มีการระบาดของโรคมาหรือไม่ ตรวจร่างกายและสั่งให้ตรวจเลือดเพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ไข้เลือดออก หรือซิก้าหรือไม่

การตรวจวินิจฉัยโรคไข้ชิคุนกุนยา

การรักษา

ปัจจุบันยังไม่มียาจำเพาะในการกำจัดไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคชิคุนกุนยา การรักษาที่ดีที่สุดคือการพักผ่อนและรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ

  • ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าไม่ได้เป็นโรคไข้เลือดออก หากเป็นไข้เลือดออกไม่ควรรับประทานยาแอสไพรินและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เนื่องจากจะไปเพิ่มความเสี่ยงของอาการเลือดออกได้
  • รับประทานยา เช่น พาราเซตามอลหรือยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) เพื่อลดอาการปวดและมีไข้
  • ป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัดในช่วงสัปดาห์แรกที่เป็นไข้ชิคุนกุนยา เพราะยุงที่มากัดจะติดเชื้อและกลายเป็นพาหะโรค


การป้องกัน

ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้ชิคุนกุนยา โรคนี้ติดต่อจากยุงสู่คน การหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัดเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

  • ป้องกันตนเองโดยการสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
  • ทายากันยุงที่มีสารป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เช่น พิคาร์ดิน (Picaridin) หรือ (DEET)
  • ใช้มุ้งกันยุง
  • กําจัดน้ำนิ่งรอบ ๆ บ้าน
  • งดการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา โดยเฉพาอย่างยิ่งหากกําลังตั้งครรภ์หรือมีโรคประจําตัว เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือในผู้สูงอายุอายุ 65 ปีขึ้นไป



บทความโดย
พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด

แพทย์อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
ประวัติแพทย์

 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

  1. คำถาม: ไข้ชิคุนกุนยา คืออะไร?
    คำตอบ:
    ไข้ชิคุนกุนยาเป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ เกิดจากไวรัสชิคุนกุนยา ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสนี้จะทรมานจากอาการปวดข้อและกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ไข้ชิคุนกุนยามีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ซิก้า แต่มีอาการบางอย่างที่แตกต่างกันไปในการช่วยแยกโรค

  2. คำถาม: อาการของไข้ชิคุนกุนยา เป็นอย่างไร?
    คำตอบ:
    หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อไวรัสไข้ชิคุนกุนยากัด จะมีระยะฟักตัวก่อนเริ่มมีอาการภายใน 3 – 7 วัน เมื่อเริ่มมีอาการจะไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อและบวม ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและคลื่นไส้ ตาแดง ผื่น

  3. คำถาม: ไข้ชิคุนกุนยา ติดต่อและแพร่เชื้ออย่างไร?
    คำตอบ:
    ไข้ชิคุนกุนยาไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่ติดต่อผ่าวิธีต่าง ๆ เช่น ยุงสู่คน เมื่อคนที่มีเชื้อชิคุนกุนยาถูกยุงกัด ยุงตัวนั้นจะติดเชื้อและกลายเป็นพาหะโรค เราจึงควรป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ผู้ที่ติดเชื้อแล้วควรป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น หรือติดต่อจากการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะอยู่ในครรภ์ ขณะคลอด หรือการสัมผัสกับเลือดที่ติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

  4. คำถาม: รักษาไข้ชิคุนกุนยา ต้องทำอย่างไร?
    คำตอบ:
    ไข้ชิคุนกุนยา ยังไม่มียาจำเพาะในการกำจัดไวรัสและยังไม่มีวัคซีนป้องกัน การรักษาที่ดีที่สุด คือการพักผ่อนและรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ พบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าไม่ได้เป็นโรคไข้เลือดออก กินยาเพื่อลดอาการปวดและมีไข้ ป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัด

บทความโดย

  • พญ. รพีพรรณ  รัตนวงศ์นรา มอร์ด
    พญ. รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ

เผยแพร่เมื่อ: 17 เม.ย. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต, โรคติดเชื้อหลังปลูกถ่ายอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก, โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อราลุกลามหรือไวรัส
  • Link to doctor
    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การจัดการโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีและการปฏิบัติตัว, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, วัคซีน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน
  • Link to doctor
    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    พญ.  ศิรญา ไชยะกุล

    พญ. ศิรญา ไชยะกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.พญ. มาเรีย นิน่า จิตะสมบัติ

    รศ.พญ. มาเรีย นิน่า จิตะสมบัติ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน, โรคติดเชื้อแทรกซ้อนหลังปลูกถ่ายอวัยวะ, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยโรคมะเร็ง/ มะเร็งโรคเลือด