เลือกหัวข้อที่อ่าน
โรคไตเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะมีอาการไตวายเรื้อรังอันเกิดมาจากไตทีสูญเสียการทำงานทีละน้อย เมื่อโรคไตเข้าสู่ระยะท้าย ๆ ของเหลว เกลือแร่และของเสียที่สะสมในร่างกายจะสูงขึ้นในระดับที่อาจเป็นอันตรายได้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะแรก ๆ อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากไตมีการทำงานบกพร่องชนิดที่ไม่สามารถควบคุมได้ ร่างกายจะแสดงอาการหลายอย่างออกมา ทั้งนี้ การรักษาส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การชะลอความเสียหายของไต
อาการของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังเป็นอย่างไร
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอาจมีอาการดังนี้
- มีอาการคลื่นเหียนอาเจียนหรือคลื่นไส้
- มีอาเจียนออกมา
- มีอาการเบื่ออาหาร
- มีอาการเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย
- ประสบปัญหาการนอนหลับ
- ปริมาณของปัสสาวะเปลี่ยนแปลงไป
- มีความเฉียบแหลมทางจิตใจลดลง
- มีกล้ามเนื้อกระตุกและเป็นตะคริว
- มีเท้าและข้อเท้าบวม
- มีอาการคันตามผิวหนังตลอดเวลา
- มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อมีของเหลวคั่งบริเวณเยื่อบุหัวใจ
- หายใจหอบถี่เมื่อของเหลวคั่งในปอด
- มีความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
ทั้งนี้ อาการมักไม่เฉพาะเจาะจงเนื่องจากความเจ็บป่วยอื่น ๆ อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อเกิดความเสียหายที่ร้ายแรงต่อไต อาจมีเกิดอาการบ่งชี้อื่นๆ เกิดขึ้นได้
เมื่อต้องพบแพทย์
หากมีอาการของโรคไต ให้นัดพบแพทย์ใกล้บ้านทันที และหากมีโรคประจำตัวที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยตรวจความดันโลหิต และการทำงานของไตด้วยการตรวจปัสสาวะและการตรวจเลือด
อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง
เมื่อการทำงานของไตเริ่มไม่มีประสิทธิภาพ อาจเกิดโรคไตเรื้อรังได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากไม่ได้รับการรักษา ความเสียหายของไตอาจเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป สาเหตุของโรคไตเรื้อรังได้แก่:
- เบาหวานประเภท 1 และประเภท 2
- ภาวะความดันเลือดสูง
- เกิดการติดเชื้อในกลไกลการกรองของเสียของไต
- เกิดการติดเชื้อบริเวณท่อไตและโครงสร้างโดยรอบ
- มีความผิดปกติที่มีผลต่อไตและอวัยวะอื่นๆ
- การอุดตันอย่างต่อเนื่องในระบบทางเดินปัสสาวะเนื่องจากภาวะต่าง ๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต เกิดนิ่วในไตและมะเร็งบางชนิด
- มีการไหลของปัสสาวะย้อนกลับเข้าไต
- เกิดการติดเชื้อซ้ำในไต
อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง
ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ได้แก่:
- มีน้ำตาลในเลือดสูง
- มีภาวะความดันเลือดสูง
- มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
- สูบบุหรี่
- มีน้ำหนักเกิน
- คนบางเชื้อชาติมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคไตเรื้อรัง
- กรรมพันธุ์
- โครงสร้างที่ผิดปกติของไต
- ความชรา
แพทย์วินิจฉัยโรคไตเรื้อรังอย่างไร
ในช่วงซักประวัติ แพทย์จะถามประวัติส่วนตัวและครอบครัวของผู้ป่วย ยิ่งไปกว่านั้น แพทย์อาจถามว่า ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ หรือกำลังใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของไตหรือไม่ หรือผู้ป่วยสังเกตุพฤติกรรมการปัสสาวะที่เปลี่ยนแปลงบ้างหรือไม่
จากนั้น แพทย์อาจขอให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจ เช่น:
- การตรวจเลือด
- การตรวจปัสสาวะ
- การตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่าย
- การตัดชิ้นเนื้อไตส่งตรวจ
แพทย์รักษาโรคไตเรื้อรังอย่างไร
โรคไตบางประเภทสามารถรักษาได้ แต่โรคไตเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายได้ หากเป็นโรคไตเรื้อรัง แพทย์มักจะเลือกใช้วิธีการรักษาที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและชะลอการลุกลามของโรค
เมื่อต้องรักษาภาวะแทรกซ้อน แพทย์อาจเลือกใช้วิธีการรักษาต่อไปนี้:
- ยารักษาความดันโลหิตสูง
- ยาลดระดับคอเลสเตอรอล
- ยารักษาโรคโลหิตจาง
- ยาลดบวม
- ยาบำรุงกระดูก
- อาหารที่มีโปรตีนต่ำเพื่อลดปริมาณของเสียในเลือด
ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องนัดหมายติดตามผลกับแพทย์หากเลือกใช้วิธีการรักษาเหล่านี้
หากโรคไตเรื้อรังอยู่ในระยะสุดท้าย แพทย์อาจแนะนำ:
- การล้างไต
- การปลูกถ่ายไต
การรักษาในอนาคตที่เป็นไปได้
เวชศาสตร์ฟื้นฟูมีศักยภาพในการรักษาเนื้อเยื่อและอวัยวะที่เสียหายได้อย่างสมบูรณ์สำหรับผู้ป่วยที่มีสภาพไตที่ยากจะซ่อมแซมได้
เทคนิคด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูอาจรวมถึง:
- การกระตุ้นให้ร่างกายรักษาตัวเอง
- ใช้เซลล์เนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ดีจากผู้บริจาคทั้งที่มีชีวิตอยู่หรือผู้ที่เสียชีวิตแล้วมาเปลี่ยนแทนเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่เสียหาย
- ฟื้นฟูเซลล์หรืออวัยวะที่เสียหายด้วยเทคนิคเวชศาสตร์ฟื้นฟูอื่นๆ
ทั้งนี้ เวชศาสตร์ฟื้นฟูอาจมีการพัฒนาในอนาคตเพื่อช่วยชะลอความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง