Colitis Banner 1.jpg

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ

เกิดขึ้นเมื่อเยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ด้านในเกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บ การติดเชื้อ หรือภาวะผิดปกติทางภูมิต้านทาน

แชร์

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ เกิดขึ้นเมื่อเยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ด้านในเกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บ การติดเชื้อ หรือภาวะผิดปกติทางภูมิต้านทาน เช่น โรคลําไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังอาจสร้างความเสียหายกับลำไส้ใหญ่ได้ในระยะยาว ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

อาการ
เมื่อเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบอาจมีอาการดังนี้

  • ปวดท้อง
  • ท้องอืด
  • ถ่ายเหลว โดยอาจมีมูก หรือเลือดปน
  • ถ่ายเป็นเลือด
  • ไม่อยากอาหาร
  • น้ำหนักลด
  • มีไข้

หากเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังอาจทำให้มีอาการดังต่อไปนี้

  • ภาวะขาดน้ำ
  • อ่อนล้า
  • โลหิตจาง

สาเหตุ
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบมีหลายประเภทเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป

  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบจากการติดเชื้อ (Infectious colitis) เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันอันเนื่องมาจากจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ เชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella) และ เชื้ออีโคไล ( coli) ซึ่งปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำ แพทย์อาจทำการรักษาโดยการจ่ายยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วย
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบจากยาปฏิชีวนะ (Antibiotic-associated colitis, Pseudomembranous colitis: PMC) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อคลอสทริดิออยดีส์ ดิฟฟิไซล์ (Clostridioides difficile หรือชื่อเดิม Clostridium difficile: diff) ซึ่งอาศัยอยู่ในลําไส้ เมื่อได้รับยาปฏิชีวนะบางชนิด แบคทีเรียอื่น ๆ ที่ควบคุมแบคทีเรีย C.diff อาจตายลง ทําให้แบคทีเรีย C. diff เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากจนก่อให้เกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบจากยาปฏิชีวนะได้
  • ภาวะลำไส้อักเสบเน่าตาย (Necrotizing enterocolitis: NEC) พบในทารกคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่พัฒนาเต็มที่ ภาวะลำไส้อักเสบเน่าตายเป็นภาวะที่อันตรายต่อชีวิต
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic colitis) เกิดจากปฏิกริยาภูมิแพ้ต่อน้ำตาลแลคโทสหรือแพ้ถั่วเหลืองจากอาหารที่รับประทาน
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบที่เกิดจากลำไส้ใหญ่ขาดเลือด (Ischemic colitis) เกิดขึ้นจากการที่เลือดไปหล่อเลี้ยงลำไส้ได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะอุดตันของเส้นเลือด อันรวมไปถึง ลิ่มเลือดอุดตัน หลอดเลือดโป่งพอง และผนังหลอดเลือดเป็นคราบแข็งหนาจนหลอดเลือดตีบ
  • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel diseases: IBD) เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบประเภท Ulcerative colitis และโรคโครห์น (Crohn’s) ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมกับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม บางครั้งผู้ป่วยในกลุ่มนี้อาจมีอาการแสดงนอกลำไส้ได้ เช่น ผื่น ปวดข้อ หรือ เยื่อบุตาอักเสบ
  • โรคลำไส้อักเสบจากการรังสีรักษา เป็นอาการข้างเคียงชั่วคราวจากการฉายรังสีรักษามะเร็งในอวัยวะข้างเคียง แต่อาจกลายเป็นภาวะเรื้อรังในผู้ป่วยบางราย
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบจากการผ่าตัดให้เกิดช่องเปิดของลำไส้ใหญ่ออกมาภายนอกร่างกายเพื่อเบี่ยงเบนมิให้อุจจาระผ่านไปยังบริเวณที่มีพยาธิสภาพ

ภาวะแทรกซ้อน
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังรุนแรงอาจทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น

  • ภาวะลำไส้ทะลุจากการอักเสบเรื้อรัง ผนังลําไส้ใหญ่อาจเปราะบางลงและแตกได้ง่าย หากเกิดรูทะลุในผนังลำไส้ แบคทีเรียในลําไส้ใหญ่อาจหลุดออกจากลำไส้ไปอยู่ในช่องท้องทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องท้อง ซึ่งอาจนําไปสู่การติดเชื้อในกระเสเลือด
  • ภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองชนิดรุนแรง การอักเสบที่รุนแรงอาจทำให้ผนังลําไส้ใหญ่ขยายตัวและขัดขวางการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะนําไปสู่การอุดตันของลําไส้ใหญ่จากความไม่สามารถบีบเคลื่อนตัวของลำไส้ อาการท้องอืด และมีความเสี่ยงที่ลำไส้จะแตกมากขึ้น
  • ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในลําไส้ใหญ่ที่มีการอักเสบเรื้อรังอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ ผู้ป่วยที่มีอาการลําไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังมานานกว่า 10 ปีมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่สูงขึ้น

การตรวจวินิจฉัย

  • การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  • การตรวจเลือด
  • การทดสอบอุจจาระ
  • การตรวจวิจิจฉัยด้วยภาพ
  • การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร รวมไปถึง การส่องกล้องตรวจลําไส้ใหญ่และการส่องกล้องตรวจลําไส้ใหญ่ส่วนปลาย

การรักษา

  • การรักษาภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบนั้นต้องทำการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านไวรัสในกรณีมีการติดเชื้อ การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้ในผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบจากภูมิแพ้ การหยุดยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบจากยาปฏิชีวนะ หรือการให้ยาต้านการอักเสบในกลุ่มผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD)
  • การผ่าตัดเป็นทางเลือกสําหรับการรักษาภาวะแทรกซ้อนจากลำไส้อักเสบ เช่น ลำไส้อักเสบอย่างรุนแรงหรือขาดเลือดรุนแรงจนเกิดภาวะลำไส้เน่า, ลำไส้อุดตัน, การหยุดเลือดที่ออกในลำไส้ชนิดรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการส่องกล้องหรือการรักษาผ่านหลอดเลือด

การเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตและการดูแลรักษาตนเองที่บ้าน
แพทย์อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคลำไส้อักเสบที่ผู้ป่วยเป็นอยู่

  • อาหารมีกากน้อย
    หากผู้ป่วยมีอาการลำไส้อักเสบแบบชั่วคราวหรือลำไส้อักเสบจากการฉายรังสีรักษา แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไขมันและกากใยต่ำ อาหารอ่อน ปรุงสุกดี และย่อยง่าย
  • อาหารต้านการอักเสบ
    อาหารแปรรูปมักมีไขมันและน้ำตาลในปริมาณที่สูง ซึ่งไปกระตุ้นการอักเสบ แพทย์อาจแนะนําให้รับประทานอาหารต้านการอักเสบ เช่น ถั่ว อะโวคาโด น้ำมันมะกอก และปลาที่มีกรดไขมันจำเป็น ซึ่งอาหารเหล่านี้จะมีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดซึ่งช่วยลดการอักเสบเรื้อรังได้
  • การหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุ
    เป็นการหลีกเลี่ยงอาหารที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุ แล้วค่อยกลับมารับประทานอาหารดังกล่าวทีละอย่าง เพื่อดูว่าอาหารตัวไหนมีผลต่อระบบย่อยอาหารอย่างไร เพื่อปรับมื้ออาหารที่ดีต่อตัวผู้ป่วยแพทย์อาจแนะนำการรับประทานอาหารวิธีนี้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD)

    บทความโดย

    เผยแพร่เมื่อ: 20 ต.ค. 2022

    แชร์

    แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์พร  แจ้งศิริกุล

    พญ. สุรีย์พร แจ้งศิริกุล

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, Liver and Gastrointestinal Diseases, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. สยาม ศิรินธรปัญญา

    ผศ.นพ. สยาม ศิรินธรปัญญา

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    นพ. จรินทร์ โรจน์บวรวิทยา

    นพ. จรินทร์ โรจน์บวรวิทยา

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สถาพร มานัสสถิตย์

    รศ.นพ. สถาพร มานัสสถิตย์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร, การติดเชื้อทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    นพ. สันติ  กุลพัชรพงศ์

    นพ. สันติ กุลพัชรพงศ์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, Gastrointestinal Endoscopy, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    ศ.นพ.  สิน  อนุราษฎร์

    ศ.นพ. สิน อนุราษฎร์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    พญ.  ปณิดา  ปิยะจตุรวัฒน์

    พญ. ปณิดา ปิยะจตุรวัฒน์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, Gastrointestinal Endoscopy, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร