โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ - Colon Cancer สาเหตุ อาการ การวินิจฉัยและการรักษา

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer)

มะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถเป็นได้ทุกวัย แต่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะเริ่มต้นจากติ่งเนื้อเล็กๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในก้อนเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง และก่อตัวด้านในลำไส้ใหญ่

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) คือชนิดของมะเร็งที่เกิดที่ลำไส้ใหญ่ (หรือที่เรียกว่าลำไส้ใหญ่โคลอน) และอยู่ส่วนปลายสุดของระบบทางเดินอาหาร บางครั้งถูกเรียกว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (colorectal cancer) เนื่องจากเกิดมะเร็งขึ้นที่ลำไส้ใหญ่และมะเร็งทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถเป็นได้ทุกวัย แต่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะเริ่มต้นจากติ่งเนื้อเล็กๆ เรียกว่าโพลิพ (polyps) ซึ่งเป็นหนึ่งในก้อนเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง และก่อตัวด้านในลำไส้ใหญ่ หลังจากนั้น ติ่งเนื้อจะพัฒนากลายมาเป็นมะเร็ง

ในปัจจุบันมีแนวทางการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หลายรูปแบบอย่างเช่น การรักษาด้วยเคมีบำบัด การใช้ยารักษามะเร็งแบบตรงจุดและการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอาการอย่างไร?

  • พฤติกรรมในการขับถ่ายที่ผิดแปลกไปจากปกติ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการท้องเสีย ท้องผูก หรือถ่ายบ่อยครั้งขึ้น
  • พบว่ามีเลือดปนมากับอุจจาระ
  • มีอาการท้องอืด ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด หรือมีก๊าซในกระเพราะอาหาร
  • มีความรู้สึกปวดเบ่ง หรือเกิดความรู้สึกว่าถ่ายไม่สุด
  • รู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มแรกมักจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์?

ผู้ป่วยควรนัดพบแพทย์หากพบอาการผิดปกติที่ไม่พึงประสงค์และก่อให้เกิดความกังวลใจ โดยปกติแพทย์จะทำการแนะนำให้คนที่มีอายุครบ 50 ปีทำการตรวจคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มักจะเริ่มด้วยการที่เซลล์ดีเกิดการกลายพันธ์ในดีเอ็นเอ (DNA) ภายในลำไส้ใหญ่ หน้าที่หลักของ DNA ในเซลล์คือการสั่งให้เซลล์ต่างๆทำงานอย่างเป็นระบบ โดยปกติเซลล์ดีจะเติบโตและแบ่งแยกเพื่อให้ร่างกายของคนเราสามารถทำงานได้อย่างปกติ แต่เมื่อเซลล์เกิดการกลายพันธ์และกลายเป็นเซลล์มะเร็งเซลล์จะไม่สามารถควบคุมได้ และจะเริ่มแบ่งแยกมากเกินกว่าความจำเป็น เมื่อเซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้น จะทำให้มีเนื้องอกเกิดขึ้น และหลังจากเวลาผ่านไปจะเกิดเป็นเซลล์ร้าย ที่จะแบ่งแยก แผ่ขยายและเริ่มทำลายเนื้อเยื่อปกติบริเวณใกล้เคียง ท้ายที่สุดเซลล์มะเร็งเหล่านี้จะแยกออกมาจากเนื้องอกและก่อตัวที่อวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกาย

ในปัจจุบันแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ คืออะไร?

  • ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าวัยอื่นๆ ถึงแม้มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถเกิดได้กับทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ป่วยอายุ 50 ปีหรือมากกว่า ในปัจจุบันพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 50 ปีและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากเพิ่มขึ้น
  • ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา (African American race) จะมีปัจจัยเสี่ยงที่สูงกว่าคนเชื้อชาติอื่นในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักหรือพบติ่งเนื้อมักจะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า ในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต
  • กลุ่มโรคที่มีอาการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory intestinal conditions) เช่นการอักเสบเรื้อรังที่ลำไส้ใหญ่ (chronic inflammatory diseases in the colon) รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้อักเสบ (ulcerative colitis) และโรคโครห์น (Crohn’s disease) มักจะมีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
  • คนที่มีพันธุกรรมยีนกลายพันธุ์ที่ถ่ายทอดจากพ่อหรือแม่ (inherited gene mutations through family generations) พบว่าจะมีความเสี่ยงที่สูงมากกว่าในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ในความเป็นจริงพบว่าความเชื่อมโยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระหว่างผู้ป่วยและพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่มีเปอร์เซ็นต์ที่น้อย

มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Familial adenomatous polyposis - FAP) และกลุ่มอาการลินช์ (Lynch syndrome) เป็นกลุ่มอาการทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดที่สามารถเพิ่มการเกิดของมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือที่รู้จักกันในชื่อ มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงแบบไม่มีติ่งเนื้อเมือกมากทางกรรมพันธุ์ (hereditary nonpolyposis colorectal cancer - HNPCC)

  • คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะมีความเป็นไปได้ในการเป็นมะเร็งชนิดนี้
  • มีความเชื่อมโยงระหว่างสูตรลดน้ำหนักแบบเส้นใยอาหารน้อย (low-fiber) หรือ สูตรที่กินอาหารไขมันสูง (high-fat) กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งทวารหนัก
  • คนที่ใช้ชีวิตอยู่กับพฤติกรรมเนือยนิ่ง (sedentary lifestyle) มักจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
  • คนที่เป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วนจะมีโอกาสเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ ปกติ
  • คนสูบบุหรี่มักจะมีความเสี่ยงสูงกว่าในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ผู้ที่บริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ผู้ป่วยที่เคยได้รับการการฉายแสงรังสีสำหรับรักษามะเร็งจุดอื่นๆ บริเวณหน้าท้องจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

ทำไมต้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่?

แพทย์จะแนะนำให้คนที่มีความเสี่ยงปานกลางให้เริ่มทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุเข้า 50 ปี สำหรับคนที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองในช่วงอายุที่เร็วขึ้น

วิธีการตรวจคัดกรองมีหลายวิธี และแต่ละวิธีนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) สามารถใช้ตรวจคัดกรองโรคและยังสามารถนำติ่งเนื้อออกจากลำไส้ใหญ่ช่วงระหว่างการส่องกล้อง ก่อนที่ติ่งเนื้อจะกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีกี่วิธี? อะไรบ้าง?

แพทย์จะทำการแนะนำหลักการวินิจฉัยโรคดังต่อไปนี้ ในกรณีที่พบว่าผู้ป่วยมีลักษณะอาการที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) - แพทย์จะใช้ท่อที่มีขนาดเล็ก ยาวและมีกล้องวิดีโอขนาดเล็กติดอยู่ที่ปลายท่อ เพื่อใช้ในการมอนิเตอร์และเก็บรายละเอียดภายในลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และแพทย์จะนำเครื่องมือผ่านเข้าไปในท่อและจิกตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจ เนื้อเยื่อที่แพทย์เก็บมาจากผู้ป่วยจะถูกนำไปตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาความผิดปกติ ขั้นตอนถัดไปแพทย์จะทำการผ่าติ่งเนื้อ
  • การตรวจเลือด - แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ที่เรียกว่า carcinoembryonic antigen (CEA) ในบางครั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่จะผลิตสาร CEA เมื่อมะเร็งเติบโตขึ้น ผลระดับ CEA ในเลือดจะช่วยให้แพทย์สามารถทำนายอาการโรคและสามารถระบุการตอบสนองของโรคต่อการรักษา

ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่ คืออะไร?

แพทย์จะให้ผู้ป่วยทำการตรวจหาระยะของโรคมะเร็งหลังจากการวินิจฉัยโรค หากแพทย์สามารถระบุระยะของโรคได้ จะช่วยให้แพทย์สามารถหาการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยได้  ในบางครั้งแพทจะเพิ่มการวินิจฉัยด้วยการแสดงภาพอย่างเช่น เพิ่มการใช้ซีที แสกนที่บริเวณช่องท้อง กระดูกเชิงกรานและทรวงอกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจหาระยะของโรคมะเร็ง ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะสามารถระบุระยะของมะเร็งได้เต็มที่ หลังจากผู้ป่วยได้เข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ตัวเลขโรมันถูกนำมาใช้ในการระบุระยะของโรคมะเร็ง และจะเริ่มที่ 0-IV โดยระยะ 0 คือระยะเริ่มแรกของมะเร็ง ในระยะนี้เซลล์มะเร็งยังมีจำนวนน้อยและยังอยู่แค่ในลำไส้ใหญ่ ในขณะที่ระยะ IV หมายถึงมะเร็งระยะลุกลาม และแปลว่าเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีกี่วิธี?

แนวทางการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่มีเซลล์มะเร็ง ระยะของมะเร็งหรือภาวะทางสุขภาพอื่นๆ การผ่าตัดเป็นแนวทางการรักษาที่มักจะถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดนี้ ในบางครั้งแพทย์จะแนะนำการรักษารูปแบบอื่นๆ อย่างเช่นการใช้รังสีรักษาและเคมีบำบัด 

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้น แพทย์จะแนะนำการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้อง (minimally invasive surgery)

  • การตัดติ่งเนื้อ (Polypectomy) คือการนำติ่งเนื้อออกระหว่างการส่องกล้อง แพทย์จะแนะนำให้ทำการตัดติ่งเนื้อหากพบว่าเซลล์มะเร็งยังมีขนาดเล็กและมีปริมาณจำกัด และแพทย์จะสามารถนำติ่งเนื้อออกได้ทั้งหมด การรักษาแบบนี้เหมาะสำหรับการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้น
  • การผ่าตัดส่องกล้องแบบ Endoscopic mucosal resection - ศัลยแพทย์จะทำการนำติ่งเนื้อที่มีขนาดใหญ่ขึ้นออก ในช่วงทำการส่องกล้อง ศัลยแพทย์จะใช้เครื่องมือเฉพาะทาง ในการนำติ่งเนื้อรวมถึงส่วนด้านในของลำไส้ใหญ่ออก
  • การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic surgery) เป็นวิธีการรักษาด้วยการศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้องในการตัดติ่งเนื้อ ที่ไม่สามารถทำการตัดออกได้ในช่วงการส่องกล้อง แพทย์จะทำการตัดรอยเล็กๆบริเวณผนังกล้ามเนื้อท้อง กล้องจะทำการแสดงภาพโครงสร้างด้านในลำไส้ใหญ่ผ่านทางหน้าจอวิดีโอมอนิเตอร์ โและศัลยแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างจากต่อมน้ำเหลืองของบริเวณที่เกิดมะเร็ง

วิธีการผ่าตัดรูปแบบอื่นๆที่ศัลยแพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้ หากพบว่าเซลล์มะเร็งมีการเติบโตและแพร่กระจายในลำไส้ใหญ่ มีดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดลำไส้ใหญ่บางส่วนออก (partial colectomy) เป็นวิธีการผ่าตัดผ่านกล้องที่ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดส่วนที่มะเร็งลุกลามในบริเวณลำไส้ใหญ่ รวมถึงจะทำการผ่าตัดส่วนเล็กๆของเนื้อเยื่อบริเวณปกติที่อยู่ด้านข้างของจุดที่เป็นมะเร็ง โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะสามารถต่อส่วนที่ปกติด้านในของลำไส้ใหญ่และทวารหนักเข้าด้วยกันได้
  • การทำทวารเทียม (Ostomy) คือการผ่าตัดที่จะสร้างจุดที่ร่างกายสามารถกำจัดของเสีย แพทย์มักจะแนะนำให้ทำทวารเทียม เมื่อขั้นตอนการต่อส่วนที่ปกติภายในลำไส้ใหญ่และทวารหนักไม่สามารถเป็นไปได้ ในการทำทวารเทียม ศัลยแพทย์จำเป็นต้องทำการเปิดผนังด้านหน้าท้อง และทำการสร้างจุดที่สามารถจะกำจัดของเสียได้ ศัลยแพทย์จะนำถุงสำหรับกำจัดอุจจาระวางไว้ที่ผนังหน้าท้อง โดยส่วนใหญ่การผ่าตัดทำทวารเทียมจะเป็นการทำแบบชั่วคราว เพื่อที่จะให้เวลาลำไส้ใหญ่และทวารหนักทำการประสานกันหลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้นลง ในกรณีอื่นๆ อาจจะจำเป็นต้องทำทวารเทียมในแบบถาวร
  • การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง (Lymph node removal) คือการที่ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดนำต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออกในช่วงการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และนำส่วนที่ทำการผ่าตัด ไปตรวจสอบหาเซลล์มะเร็งเพิ่มเติม

ศัลยแพทย์จะทำการแนะนำให้ผู้ป่วยทำการผ่าตัดเพื่อลดภาวะการอุดตันภายในลำไส้ใหญ่สำหรับผู้ป่วยระยะแพร่กรจาย แพทย์จะแนะนำการผ่าตัดหากพบว่าภาพรวมสุขภาพของผู้ป่วยทรุดลง เนื่องจากการรักษาประเภทนี้จะช่วยบรรเทาอาการที่ผู้ป่วยอาจจะประสบจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการที่ไม่พึงประสงค์ได้แก่การอุดตัน เลือดไหล หรืออาการเจ็บปวด

ในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายไปที่ตับหรือปอด แต่สุขภาพผู้ป่วยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อนำก้อนมะเร็งออก ควบคู่ไปกับการใช้เคมีบำบัดก่อน หรือหลังการผ่าตัด การรักษาแบบนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดจากมะเร็งได้มากขึ้น

การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy)

เคมีบำบัดคือการใช้เคมีในการทำลายล้างเซลล์มะเร็ง สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะนิยมใช้เคมีบำบัดหลังจากการผ่าตัดในกรณีที่เซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น เคมีบำบัดใช้ในการรักษาเซลล์มะเร็งที่ลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง เคมีบำบัดสามารถนำมาใช้เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังคงค้างอยู่ในร่างกาย และยังจะช่วยลดการกลับมาเป็นมะเร็งในอนาคต  ในบางครั้งการรักษาด้วยเคมีบำบัดจะถูกนำมาใช้ก่อนการผ่าตัด เพื่อลดขนาดเซลล์มะเร็งและช่วยให้ง่ายต่อการผ่าตัดก้อนมะเร็ง

ในบางครั้งแพทย์จะใช้เคมีบำบัดควบคู่ไปกับการใช้รังสีรักษา การรักษารูปแบบนี้จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆที่เกิดจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่ไม่สามารถรักษาได้จากการผ่าตัด ในกรณีที่เซลล์มะเร็งได้มีการลุกลามไปที่อวัยวะส่วนอื่นในร่างกาย แพทย์จะทำการแนะนำการรักษาด้วยเคมีบำบัด

การใช้รังสีรักษา (Radiation therapy treatment)

การรักษาด้วยรังสีรักษาจะทำการรักษาผ่านการใช้รังสีเอ็กซ์ (X-ray) หรือโปรตอนเพื่อนทำลายเซลล์มะเร็ง ในบางครั้งแพทย์จะใช้รังสีรักษาก่อนทำการผ่าตัด เพื่อช่วยลดขนาดเซลล์มะเร็งที่ใหญ่ขึ้น เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการผ่าตัดก้อนมะเร็ง รังสีรักษายังเป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการเจ็บปวดเมื่อแพทย์พบว่าผู้ป่วยไม่สามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ในบางครั้งมักนิยมใช้รังสีรักษาควบคู่ไปกับการใช้เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

การใช้ยารักษามะเร็งอย่างตรงจุด (Targeted-drug therapy)

การรักษารูปแบบนี้คือการรักษาที่มุ่งเป้าไปที่จุดผิดปกติภายในเซลล์มะเร็ง โดยจะทำการรักษาด้วยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ผิดปกติ และทำลายเซลล์มะเร็ง แพทย์มักจะใช้การรักษารูปแบบนี้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยเคมีบำบัด และมักใช้การรักษาแบบนี้สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจาย

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

การรักษาประเภทนี้จะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และจะช่วยระบบภูมิคุ้มกันในการกำจัดเซลล์มะเร็ง เนื่องจากประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็งจะลดลง เพราะเซลล์มะเร็งจะผลิตโปรตีนที่จะทำการบังเซลล์ภายในระบบภูมิคุ้มกัน จากการตรวจพบเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดจะทำการแทรกแซงกระบวณการผลิตโปรตีนของเซลล์มะเร็ง แพทย์มักจะแนะนำการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดกับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะแพร่กระจาย โดยแพทย์จะทำการตรวจสอบว่าผู้ป่วยจะมีการตอบสนองต่อการรักษารูปแบบนี้หรือไม่

การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)  

การดูแลแบบประคับประคองคือโปรแกรมการดูแลส่วนบุคคลที่มุ่งเน้นการลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยจากการรักษา หรือจากภาวะป่วยวิกฤตอื่นๆ ผู้เชี่ยวชาญจะทำงานร่วมกับผู้ป่วย ครอบครัวของผู้ป่วยและแพทย์ท่านอื่นๆ ในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด การดูแลแบบประคับประคองเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด ควบคู่ไปกับการรักษาอื่น ๆ

คลิปวิดีโอเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ : EP.1 รู้ทันสัญญาณเสี่ยง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ : EP.2 การตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ : EP.3 การส่องกล้อง เพื่อตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

เผยแพร่เมื่อ: 13 ก.ย. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. สยาม ศิรินธรปัญญา

    ผศ.นพ. สยาม ศิรินธรปัญญา

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์

    นพ. อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    • อายุรศาสตร์โรคเลือด
    • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
    มะเร็งทางโลหิตวิทยา, การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์
  • Link to doctor
    พญ. ธิติพร จิรนันทนากร

    พญ. ธิติพร จิรนันทนากร

    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย, รังสีวิทยาโรคมะเร็ง
  • Link to doctor
    พญ. สุรีรัตน์ จารุหทัย

    พญ. สุรีรัตน์ จารุหทัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.พญ. นภา ปริญญานิติกูล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์พร  แจ้งศิริกุล

    พญ. สุรีย์พร แจ้งศิริกุล

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, โรคกรดไหลย้อน, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร, ภาวะค่าตับที่ผิดปกติ, การฝึกเบ่งขับถ่าย, ภาวะหลอดอาหารเคลื่อนไหวหรือบีบตัวผิดปกติ, ตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร, ตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร, การวัดเวลาการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร, ตรวจการเคลื่อนผ่านของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่, ตรวจการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    นพ. สุดปรีดา ชัยนิธิกรรณ

    นพ. สุดปรีดา ชัยนิธิกรรณ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สถาพร มานัสสถิตย์

    รศ.นพ. สถาพร มานัสสถิตย์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, การติดเชื้อทางเดินอาหาร, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, โรคท้องผูกเรื้อรัง, โรคท้องร่วงเรื้อรังและเฉียบพลัน, โรคท้องร่วง, โรคไวรัสตับอักเสบ, ภาวะลําไส้ดูดซึมผิดปกติ, เนื้องอกและก้อนเนื้อในตับ, ภาวะค่าตับที่ผิดปกติ, โรคริดสีดวงทวาร, โรคลำไส้อักเสบ, โรคลำไส้แปรปรวน, ภาวะกลืนลำบาก ปัญหาเกี่ยวกับการกลืน
  • Link to doctor
    นพ. จรินทร์ โรจน์บวรวิทยา

    นพ. จรินทร์ โรจน์บวรวิทยา

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ภาวะตรวจการทำงานของตับผิดปกติ, ตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร, โรคท้องร่วงเรื้อรังและเฉียบพลัน, โรคกรดไหลย้อน, ภาวะกลืนลำบาก ปัญหาเกี่ยวกับการกลืน, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สว่างพงษ์ จันดี

    รศ.นพ. สว่างพงษ์ จันดี

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ธนินี ประสพโภคากร

    พญ. ธนินี ประสพโภคากร

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. เพ็ญประไพ หงษ์ศรีสุวรรณ์

    พญ. เพ็ญประไพ หงษ์ศรีสุวรรณ์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, โรคกรดไหลย้อน, โรคลำไส้แปรปรวน, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร, โรคริดสีดวงทวาร, โรคไวรัสตับอักเสบ, ภาวะค่าตับที่ผิดปกติ, ภาวะตับแข็ง, โรคไขมันพอกตับ
  • Link to doctor
    นพ. สันติ  กุลพัชรพงศ์

    นพ. สันติ กุลพัชรพงศ์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ภาวะค่าตับที่ผิดปกติ, ภาวะไขมันเกาะตับ, โรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์, โรคไวรัสตับอักเสบ, ส่องกล้องรักษาระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน, ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, ตรวจไขมันพอกตับด้วยไฟโบรสแกน, รักษาก้อนและซีสต์และมะเร็งในตับ, โรคกรดไหลย้อน, ภาวะตับวาย, ภาวะตับแข็ง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. วราวุฒิ สุขเกษม

    ผศ.นพ. วราวุฒิ สุขเกษม

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยาโรคทรวงอก, รังสีวิทยาโรคมะเร็ง, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, เครื่องสร้างภาพในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า, อัลตร้าซาวนด์
  • Link to doctor
    พญ.  ปณิดา  ปิยะจตุรวัฒน์

    พญ. ปณิดา ปิยะจตุรวัฒน์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, โรคท้องผูกเรื้อรัง, โรคท้องร่วงเรื้อรังและเฉียบพลัน, ส่องกล้องรักษาระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน, โรคลำไส้อักเสบ, โรคลำไส้แปรปรวน, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ส่องกล้องตรวจอัลตราซาวด์ในลำไส้, ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร, ภาวะค่าตับที่ผิดปกติ, โรคไวรัสตับอักเสบ, ภาวะไขมันเกาะตับ, ส่องกล้องลำไส้เล็ก, ตรวจไขมันพอกตับด้วยไฟโบรสแกน
  • Link to doctor
    ศ.นพ.  สิน  อนุราษฎร์

    ศ.นพ. สิน อนุราษฎร์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป
  • Link to doctor
    ศ.นพ. ชวลิต เลิศบุษยานุกูล

    ศ.นพ. ชวลิต เลิศบุษยานุกูล

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Intensity-Modulated Radiotherapy (IMRT), Volumetric Modulated Arc Therapy (VMAT), Stereotactic Radiotherapy (SRT), Head Cancer, Neck Cancer, Breast Cancer, โรคมะเร็งปอด, Esophageal Cancer, Gastroesophageal Cancer, Pancreaticobiliary Cancer, Soft Tissue Sarcoma, Radiation Oncology
  • Link to doctor
    นพ. วิกรม เจนเนติสิน

    นพ. วิกรม เจนเนติสิน

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด
  • Link to doctor
    พญ. ศิยามล มิ่งมาลัยรักษ์

    พญ. ศิยามล มิ่งมาลัยรักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
  • Link to doctor
    รศ.นพ.ดร. วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์

    รศ.นพ.ดร. วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง