ลูกน้อยห่างไกลโรคแพ้นมวัว - Cow milk protein allergy

ลูกน้อยห่างไกลโรคแพ้นมวัว

โรคแพ้นมวัว คือ โรคที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อโปรตีนในนมวัว

แชร์

ลูกน้อยห่างไกลโรคแพ้นมวัว

โรคแพ้นมวัว คือ โรคที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อโปรตีนในนมวัว ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถทำให้เกิดความผิดปกติได้ในหลาย ๆ อวัยวะของร่างกาย เช่น ผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร หรือระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

เด็กแพ้นมวัวจะมีอาการตามอวัยวะที่เกิดความผิดปกติ เช่น

  1. ผิวหนัง ได้แก่ ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือผื่นแพ้สัมผัส เป็นต้น
  2. ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง หรืออุจจาระปนเลือด เป็นต้น
  3. ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ อาการน้ำมูกเรื้อรัง อาการ เสมหะเรื้อรัง หรืออาการหอบ เป็นต้น
  4. อาการอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ หรืออาการซีด เป็นต้น

พบการแพ้นมวัวอย่างรุนแรงได้ประมาณร้อยละ 0.6 และ มีอันตรายถึงแก่ชีวิต ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะอนาฟัยแลกซิส (anaphylaxis) เด็กจะมีผื่นลมพิษ หน้าบวม ปากบวม ลิ้นบวมจุกปาก อาเจียน ท้องร่วง หอบ ช็อก และชัก อาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นอย่าง รวดเร็วภายหลังการดื่มนมวัว

โรคแพ้นมวัวเป็นโรคแพ้อาหารในเด็กที่พบได้บ่อยที่สุด

ไม่พบอุบัติการณ์ที่แท้จริงของโรคแพ้นมวัว เนื่องจากเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคแตกต่างกันอุบัติการณ์ของโรคแพ้นมวัวในต่างประเทศ พบอยู่ระหว่างร้อยละ 1.8-7.5 อย่างไรก็ตามร้อยละ 0.5 ของเด็กที่ดื่มแต่นมแม่สามารถเป็นโรคนี้ได้ เด็กที่ดื่มแต่นมแม่สามารถแพ้นมวัวได้ จากการที่คุณแม่ดื่มนมวัว หรือรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัว จึงทำให้มีโปรตีนในนมวัว ผสมออกมาในนมแม่ไปกระตุ้นให้เด็กแพ้นมวัวได้

เราจะทราบได้อย่างไรว่าเด็กแพ้นมวัว

นอกจากอาศัยข้อมูลจากประวัติและการตรวจร่างกายเด็กอย่างละเอียดแล้ว แพทย์อาจใช้วิธีการตรวจเลือด หรือการทดสอบผิวหนัง เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนังจะให้ผลการตรวจที่แม่นยำกว่าการตรวจเลือด แต่เด็กมักไม่ให้ความร่วมมือในการทดสอบ การตรวจเลือดจะมีประโยชน์ในเด็กที่มีอาการผื่นแพ้นมวัวอย่างรุนแรงจนไม่สามารถหยุดรับประทานยาแก้แพ้หรือไม่มีผิวหนังที่ปกติมากพอที่จะทำการทดสอบ

วิธีการรักษาโรคแพ้นมวัว

การรักษาที่ถูกต้องและดีที่สุดคือ การงดดื่มนมวัวและงดรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัว ในกรณีที่เด็กดื่มนมแม่ก็สามารถให้ดื่มนมแม่ต่อไปได้ โดยที่แม่ต้องงดดื่มนมวัวและงดรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวในระหว่างที่ให้นมเด็ก กรณีที่แม่ไม่สามารถให้นมเด็กได้ ควรใช้นมสูตรสำหรับเด็กแพ้นมวัวแต่นมสูตรดังกล่าว มีปัญหาในเรื่องรสชาติและราคา ทำให้ขาดความร่วมมือในการใช้นมสูตรนี้ ไม่ควรใช้นมถั่วเหลืองหรือนมแพะในการรักษาเด็กแพ้นมวัว เนื่องจากร้อยละ 15-45 ของเด็กที่แพ้นมวัวจะแพ้นมถั่วเหลืองร่วมด้วย รวมถึงยังมีความเสี่ยงสูงที่จะแพ้นมแพะ เนื่องจากโปรตีนในนมแพะมีลักษณะใกล้เคียงกับโปรตีนในนมวัว

โรคแพ้นมวัวหายได้หรือไม่

หากเด็กสามารถงดดื่มนมวัว หรืองดรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวได้ดี เด็กจะมีอาการดีขึ้นได้ เมื่ออายุมากขึ้น

  • ร้อยละ 45-56 อาการจะหายไปเมื่ออายุ 1 ปี
  • ร้อยละ 60-77 อาการจะหายไปเมื่ออายุ 2 ปี
  • ร้อยละ 84-87 อาการจะหายไปเมื่ออายุ 3 ปี
  • ร้อยละ 90-95 อาการจะหายไปเมื่ออายุ 5-10 ปี


การป้องกันโรคแพ้นมวัว

ในกรณีเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีคุณพ่อหรือคุณแม่ หรือทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ดื่มนมแม่อย่างเดียว ในช่วง 6 เดือนแรก โดยแม่ไม่จำเป็นต้องงดดื่มนมวัวหรืองดรับประทาน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัว
  2. หลีกเลี่ยงอาหารเสริมใด ๆ ในช่วง 6 เดือนแรก ควรเริ่มให้อาหารเสริมแก่เด็กครั้งละ 1 ชนิด และค่อย ๆ เพิ่มชนิดของอาหารเสริมทุก ๆ 3-5 วัน หากไม่มีอาการแพ้ โดยอาจเริ่มอาหารเสริมที่มีความเสี่ยงที่จะแพ้น้อยเป็นลำดับแรก เช่น อาจให้เริ่มรับประทานไข่แดงก่อนไข่ขาว หรือเริ่มรับประทานเนื้อหมู เนื้อไก่ ก่อนอาหารทะเล เป็นต้น  ปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำให้เด็กหลีกเลี่ยงการรับประทานที่มีความเสี่ยงที่จะแพ้ ยกเว้นกรณีที่เด็กมีคุณพ่อคุณแม่หรือพี่น้อง มีประวัติการแพ้ถั่วลิสงซึ่งอาจต้องประเมินการแพ้ก่อนเริ่มการรับประทานถั่วลิสง
  3. ไม่แนะนำให้คุณแม่งดรับประทานอาหารชนิดใด ๆ ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์หรือช่วงให้นมเด็ก ยกเว้นกรณีที่คุณแม่หรือเด็กมีประวัติการแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ มาก่อนหน้านี้แล้ว
  4. คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มนมวัวมากเกินกว่าปกติ ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์หรือช่วงให้นมเด็ก


ปริมาณนมที่เหมาะสมในการดื่มแต่ละวันสำหรับคุณแม่คือเท่าไร

ปริมาณนมที่เหมาะสมในการดื่มแต่ละวันสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ โดยคำนวณจากปริมาณธาตุแคลเซียมในนมวัวที่จำเป็นสำหรับคุณแม่คือ

  • 2 แก้วในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์
  • 3 แก้วในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์

โดยที่ในไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์คุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้องมาก ทำให้ดื่มนมวัวได้น้อย รวมถึงเด็กในครรภ์มีความต้องการสารอาหารจากคุณแม่ในปริมาณไม่มาก แต่คุณแม่ควรรับประทานอาหาร ให้ครบทั้ง 5 หมู่




บทความโดย
นพ.ปรีดา สง่าเจริญกิจ

แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ประวัติแพทย์ คลิก

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 24 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.พญ. พรรณทิพา ฉัตรชาตรี

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
    Allergy Symptoms in Children, Prevention of Allergies in Children, Food Allergy of Newborn to 5 Years, Pediatrics Chronic Dermatitis, Pediatrics Chronic Urticaria, Pediatrics Allergy Blood Testing and Skin Prick Testing
  • Link to doctor
    พญ. รพิศา นันทนีย์

    พญ. รพิศา นันทนีย์

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
    Pediatrics, Pediatrics Allergy and Immunology, Pediatrics Allergy Blood Testing and Skin Prick Testing, Pediatrics Chronic Dermatitis, Pediatrics Suspected Food Allergies
  • Link to doctor
    นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย

    นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน (ทางคลินิก)
    โรคภูมิแพ้, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    นพ. ปรีดา สง่าเจริญกิจ

    นพ. ปรีดา สง่าเจริญกิจ

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
    Pediatrics Chronic Rhinorrhea, Pediatrics Snoring and Obstructive Sleep Apnea, Pediatrics Chronic Wheezing, Pediatrics Chronic Dermatitis, Pediatrics Chronic Urticaria, Pediatrics Suspected Food Allergies, Pediatrics Allergy Blood Testing and Skin Prick Testing
  • Link to doctor
    พญ. วิลาวัณย์ เวทไว

    พญ. วิลาวัณย์ เวทไว

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน (ทางคลินิก)
    โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, โรคภูมิแพ้ในเด็กและผู้ใหญ่, แพ้อาหาร, โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดเอคซิม่า
  • Link to doctor
    นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์

    นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
    Pediatrics, Well Child Care and Vaccination, Pediatrics Allergy and Immunology, Pediatrics Allergy Blood Testing and Skin Prick Testing, Pediatrics Chronic Dermatitis, Pediatrics Suspected Food Allergies