ภาวะปัสสาวะบ่อย (Frequent Urination): สาเหตุ อาการ การวินิจฉัยและรักษา

ภาวะปัสสาวะบ่อย

ภาวะที่มีการปัสสาวะมากกว่า 4 - 8 ครั้งในหนึ่งวัน ซึ่งเป็นอาการปกติจากการตั้งครรภ์หรืออาจเกิดจากปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกายที่ร้ายแรงกว่า

แชร์

ภาวะปัสสาวะบ่อย

ภาวะปัสสาวะบ่อย คือภาวะที่มีการปัสสาวะมากกว่า 4 - 8 ครั้งในหนึ่งวัน ซึ่งเป็นอาการปกติจากการตั้งครรภ์หรืออาจเกิดจากปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกายที่ร้ายแรงกว่านั้น เช่น ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไว กลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ปัญหาต่อมลูกหมาก หรือโรคเบาหวาน  ภาวะปัสสาวะบ่อยอาจทำให้ต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำบ่อยในตอนกลางคืน (ภาวะปวดปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน) รบกวนการนอนหลับและคุณภาพชีวิตได้

สาเหตุ

ผู้ใหญ่วัยกลางคน หญิงที่กําลังตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีต่อมลูกหมากโตมีแนวโน้มที่จะปัสสาวะบ่อย อย่างไรก็ตามภาวะปัสสาวะบ่อยอาจเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือรุนแรงหลาย ๆ ประการ เช่น

  • การตั้งครรภ์ เป็นเรื่องปกติที่สตรีมีครรภ์จะปัสสาวะบ่อย เพราะทารกกินพื้นที่ในท้องและเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ ภาวะปัสสาวะบ่อยมักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สามมากกว่าไตรมาสที่สองที่มดลูกเคลื่อนตัวสูงขึ้น จึงไม่กดทับกระเพาะปัสสาวะ ภาวะปัสสาวะบ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ถือเป็นอาการปกติซึ่งจะหายไปเองหลังคลอด แพทย์อาจแนะนําให้ออกกําลังกายกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน (Kegel) เพื่อป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน – ทั้งประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 – จะมีน้ำตาลระดับสูงในเลือด ทำให้ไตต้องทํางานหนักเพื่อดูดซึมน้ำตาลกลับคืนจากของเหลวที่ขับผ่านหน่วยกรองของไต น้ำตาลส่วนที่ถูกดูดซึมกลับไม่หมดพร้อมสารน้ำจะถูกขับทิ้งทางปัสสาวะเป็นปริมาณมาก ทําให้เกิดภาวะขาดน้ำตามมา ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงรู้สึกกระหายน้ำ ดื่มน้ำมากขึ้น และปัสสาวะบ่อยครั้ง
  • ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นสาเหตุของภาวะปัสสาวะบ่อยที่พบได้มากที่สุด สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไว และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังชนิดไม่ติดเชื้อ ท่อปัสสาวะตีบโดยเฉพาะในสตรีกลางคนที่ผ่านการคลอดบุตรมาหลายปี เป็นต้น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะอาจทําให้ปัสสาวะบ่อยแต่มักพบได้น้อยมาก
  • ปัญหาเรื่องต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากโตเป็นอีกสาเหตุของการปัสสาวะบ่อย เนื่องจากต่อมลูกหมากเบียดทับท่อปัสสาวะทำให้การขับถ่ายปัสสาวะต้องใช้แรงเบ่งมากขึ้น โดยโรคต่อมลูกหมากโตสามารถรักษาให้หายได้

สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะปัสสาวะบ่อย ๆ ได้แก่ การบริโภคแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป การใช้ยาขับปัสสาวะ ภาวะช่องคลอดอักเสบ อุ้งเชิงกรานหย่อน รังสีรักษาบริเวณอุ้งเชิงกราน และภาวะอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง

การตรวจวินิฉัย

แพทย์อาจทำการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจดูแบคทีเรียและเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่ามีร่างกายมีการติดเชื้อหรือไม่
  • การอัลตราซาวด์เพื่อตรวจดูว่ามีเนื้องอกหรือไม่
  • การส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ โดยมักใช้ในรายที่
    • กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ๆ
    • ปัสสาวะบ่อยเรื้อรังแต่ตรวจไม่พบการอักเสบโดยเฉพาะในหญิงวัยกลางคนที่ผ่านการคลอดบุตรมาหลายปี

การรักษา

หากภาวะปัสสาวะบ่อยเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ อาการมักจะหายได้เองหลังคลอดบุตร สําหรับสาเหตุอื่น ๆ ผู้ป่วยควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อค้นหาสาเหตุ พร้อมวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ผู้ป่วยอาจสามารถดูแลจัดการภาวะปัสสาวะบ่อยได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยา โดย

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณที่พอเหมาะ
  • งดดื่มน้ำก่อนเข้านอน
  • ออกกําลังกายเป็นประจําเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  • สวมชุดชั้นในหรือแผ่นซึมซับเพื่อป้องกันปัสสาวะรั่วไหล ในระหว่างที่ได้รับการรักษา

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

หากรู้สึกว่าปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ผู้ป่วยอาจลองลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและสังเกตดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีอาการดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะบ่อยและกระปริบกระปรอย
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • ตื่นนอนมากกว่า 2 ครั้งเพื่อปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อยเรื้อรังหรือเป็น ๆ หาย ๆ
  • มีไข้และอาเจียน
  • ปวดหลังส่วนล่างและด้านข้าง บริเวณระดับไต
  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ตกขาวหรือมีสารคัดหลั่งออกมาจากอวัยวะเพศ

ตัวอย่างคําถามที่แพทย์อาจถาม

  • คุณดื่มน้ำมากเท่าไรในแต่ละวั
  • คุณรู้สึกว่าเพิ่งจะมาดื่มน้ำมากขึ้นกว่าเดิมเมื่อเร็ว ๆ นี้หรือไม่
  • คุณรับประทานยาใดๆ อยู่หรือไม่
  • คุณมักจะดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 17 พ.ย. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ระบบสืบพันธ์ุ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
  • Link to doctor
    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนไตจากผู้เสียชีวิต, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, การรักษาภาวะหย่อยสมรรถภาพทางเพศ, ชายวัยทอง
  • Link to doctor
    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. วิรุณ  โทณะวณิก,พบ

    นพ. วิรุณ โทณะวณิก,พบ

    • ศัลยศาสตร์
    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    มะเร็งต่อมลูกหมาก, ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ.  วิชัย เจริญวงศ์

    นพ. วิชัย เจริญวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การบีบขับปัสสาวะผิดปกติ, Laparoscopic Urologic Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. กิตติณัฐ กิจวิกัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ