ภาวะข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และการรักษา

ภาวะข้อไหล่ติด

ภาวะข้อไหล่ติดเกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อในข้อไหล่หนาและตึงขึ้น สัญญาณและอาการที่พบบ่อยของภาวะข้อไหล่ติดอาจรวมถึงอาการตึงและปวดบริเวณข้อไหล่

แชร์

ภาวะข้อไหล่ติด

ภาวะข้อไหล่ติดเกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อในข้อไหล่หนาและตึงขึ้น สัญญาณและอาการที่พบบ่อยของภาวะข้อไหล่ติดอาจรวมถึงอาการตึงและปวดบริเวณข้อไหล่ ซึ่งมักมีอาการแย่ลงภายในหนึ่งถึงสามปี การรักษาอาการไหล่ติดอาจรวมถึงการทำกายภาพบำบัด การใช้ยา และการผ่าตัดและวิธีทางการแพทย์อื่น ๆ

อาการภาวะข้อไหล่ติด

สัญญาณและอาการของภาวะข้อไหล่ติดดยปกติมักจะแย่ลง และพัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป โดยอาการของภาวะข้อไหล่ติดแบ่งออกเป็นสามระยะ ได้แก่

  • ระยะเริ่มต้น (Freezing stage)
ผู้ที่มีอาการไหล่ติดในระยะนี้มักจะมีอาการปวดเมื่อเคลื่อนไหวหัวไหล่ และมักเริ่มเกิดการจำกัดของการเคลื่อนไหวหัวไหล่
  • ระยะติดแข็ง (Frozen stage)
    ในระยะนี้อาการปวดอาจบรรเทาลง แต่ข้อไหล่จะแข็งขึ้นและใช้งานยากขึ้น
  • ระยะสุดท้าย (Trawing stage)

การเคลื่อนไหวหัวไหล่เกิดการจำกัดมากขึ้น การขยับไหล่เป็นเรื่องยากขึ้นอย่างชัดเจน


สาเหตุ
ภาวะข้อไหล่ติด

เนื้อเยื่อเชื่อมต่อแคปซูลทำหน้าที่ห่อหุ้มข้อไหล่ เมื่อเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อเหล่านี้เกิดหนาและตึงขึ้นการเคลื่อนไหวของไหล่จะถูกจำกัด สาเหตุที่ทำให้เนื้อเยื่อหนาและตึงยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามโรคที่เกี่ยวข้องกับหลายระบบในร่างกายและการตรึงไหล่เป็นเวลานาน เช่น หลังการผ่าตัดหรือแขนหัก มักจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของภาวะนี้

ปัจจัยเสี่ยงภาวะข้อไหล่ติด

มีปัจจัยหลายประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะไหล่ติดแข็ง ได้แก่

  • อายุและเพศ

ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มที่จะมีอาการไหล่ติดแข็งมากยิ่งขึ้น

  • การไม่เคลื่อนไหวหัวไหล่รือเคลื่อนไหวน้อยลง
ความเสี่ยงของภาวะไหล่ติดแข็งมักจะเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีไม่เคลื่อไหวหัวไหล่หรือเคลื่อนไหวน้อยลงเป็นเวลานาน สาเหตุของการไม่เคลื่อไหวหัวไหล่หรือเคลื่อนไหวน้อยลง อาจรวมถึงสาเหตุจากอาการแขนหัก การฟื้นตัวหลังการผ่าตัด การบาดเจ็บหรือโรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับหลายระบบในร่างกาย

โรคอย่างอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะข้อไหล่ติด ยกตัวอย่างเช่น

    • โรคเบาหวาน
    • ไฮโปไทรอยด์
    • ไฮเปอร์ไทรอยด์
    • โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • โรคพาร์กินสัน
    • วัณโรค


การวินิจฉัย
ภาวะข้อไหล่ติด

แพทย์อาจทำการตรวจร่างกายเพื่อตรวจหาความเจ็บปวดและประเมินการเคลื่อนไหวของหัวไหล่อาจได้รับผลกระทบ อาจมีการฉีดยาชาร่วมด้วยในบางกรณี โดยปกติภาวะไหล่ติดสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจร่างกายและการซักประเมินอาการ อย่างไรก็ตามในเพื่อค้นหาปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการที่เกิดขึ้น แพทย์อาจใช้การทดสอบภาพบางอย่าง เช่น เอ็กซ์เรย์ หรือ เอ็มอาร์ไอ ร่วมด้วย

การรักษาภาวะข้อไหล่ติด

จุดมุ่งหมายของการรักษาภาวะไหล่ติด คือเพื่อควบคุมความเจ็บปวดและปรับปรุงการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ การใช้ยา กายบำบัด การผ่าตัดและขั้นตอนทางการแพทย์บางอย่าง เป็นวิธีการรักษาภาวะข้อไหล่ติดที่ใช้โดยทั่วไป

การใช้ยา

แพทย์อาจสั่งจ่ายยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ

การบำบัด

แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดอาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมความคล่องตัวของหัวไหล่

การผ่าตัดและวิธีทางการแพทย์อื่นๆ       

การรักษาอื่น ๆ สำหรับภาวะข้อไหล่ติดอาจรวมถึงวิธีการดังต่อไปนี้

  • การฉีดสเตียรอยด์

เพื่อลดอาการปวดและส่งเสริมการเคลื่อนไหวของไหล่

  • การยืดข้อไหล่

เพื่อยืดเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อและส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้ง่ายขึ้น

  • การบริหารข้อไหล่

เพื่อคลายเนื้อเยื่อที่ตึง

  • การผ่าตัด

แพทย์อาจทำการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อแผลเป็นและสิ่งยึดติดภายในข้อไหล่ออก ในผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ


การเตรียมการก่อนการพบแพทย์

ก่อนการนัดหมายคุณอาจเตรียมข้อมูลบางอย่าง เช่น

  • อาการที่เกิดขึ้น
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญของคุณ
  • ยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่
  • คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์

ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูล เช่น

  • จุดเริ่มต้นของอาการ
  • สิ่งที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง
  • ประวัติการบาดเจ็บของหัวไหล่
  • ประวัติโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน
  • ประวัติการผ่าตัดก่อนหน้า
  • ระยะเวลาที่เกิดการจำกัดการเคลื่อไหวของหัวไหล่

เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. อลิศรา อารีราชการัณย์

    พญ. อลิศรา อารีราชการัณย์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ถาวร ศิษยนเรนทร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    นพ. สุนิคม ศุภอักษร

    นพ. สุนิคม ศุภอักษร

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    Sport Injury (Menicus, Cartilage, Ligament), ผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ ข้อเข่า และข้อสะโพก, Shoulder Problems (Pain, Stiffness, Dislocation, Rotator Cuff Tear, Arthritis)
  • Link to doctor
    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroscopy, Knee Surgery, Shoulder Surgery
  • Link to doctor
    นพ. อนุชาต ลลิตวงศ์ชัย

    นพ. อนุชาต ลลิตวงศ์ชัย

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    เวชศาสตร์การกีฬา, ผ่าตัดส่องกล้องโรคข้อและการบาดเจ็บทางกีฬา
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์  ยุกตะนันทน์

    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    Arthroplasty, เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Sport Injury (Menicus, Cartilage, Ligament)
  • Link to doctor
    นพ. ธีระ โรจน์พรประดิษฐ์

    นพ. ธีระ โรจน์พรประดิษฐ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา