โรคหนองใน (Gonorrhea) - อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และการรักษา

โรคหนองใน

โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง  อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีตกขาวผิดปกติออกมาทางช่องคลอดหรือหนองจากอวัยวะเพศชาย หรือมีปัสสาวะแสบขัด วิธีการรักษา

แชร์

โรคหนองใน (Gonorrhea)

โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง  อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีตกขาวผิดปกติออกมาทางช่องคลอดหรือหนองจากอวัยวะเพศชาย หรือมีปัสสาวะแสบขัด วิธีการรักษา ได้แก่ การให้ยาปฏิชีวนะ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้การติดเชื้อลุกลามหรือรุนแรงมากขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อน

สาเหตุของโรค

โรคหนองในเกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซีเรียโกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae)  ซึ่งสามารถติดต่อจากคู่นอนระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก  โดยการแพร่เชื้อนั้นอาจเกิดได้แม้จะไม่มีการหลั่งน้ำเชื้อ อย่างไรก็ตาม การสัมผัสกับวัตถุสิ่งของ เช่น โถส้วม ไม่ทำให้ติดเชื้อ

ปัจจัยเสี่ยง

ผู้ที่ติดเชื้องหนองในอาจแพร่เชื้อไปยังคู่นอนได้ทั้งที่ไม่มีอาการใด ๆ ดังนั้น โอกาสเสี่ยงที่จะได้รับและติดเชื้อจะสูงขึ้นในกรณีที่บุคคลนั้น ๆ มีคู่นอนมากกว่าหนึ่งคน หรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ร่วมด้วย

อาการของโรค

โรคหนองในอาจไม่มีอาการแสดง อาการแสดงอาจมีหลากหลายขึ้นกับตำแหน่งหรืออวัยวะที่มีการติดเชื้อ เช่น ท่อปัสสาวะ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์  และทวารหนัก

อาการในเพศหญิง เช่น

  • ตกขาวผิดปกติ
  • เลือดออกทางช่องคลอด
  • คันบริเวณปากช่องคลอด
  • มีสารคัดหลั่ง (discharge) ออกมาทางทวารหนัก
  • เจ็บเวลาปัสสาวะหรือขับถ่าย

อาการในเพศชาย เช่น

  • ปัสสาวะแสบขัด
  • มีสารคัดหลั่งสีขาวข้นออกมาทางอวัยวะเพศ
  • ลูกอัณฑะบวม

อาการที่อาจพบจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เช่น ในชายรักชายอาจมีสารคัดหลั่งออกมาทางทวารหนัก

การตรวจวินิจฉัย

การเก็บตัวอย่างของเหลวบริเวณช่องคลอดหรือปากมดลูกในผู้หญิง  หรือเก็บตัวอย่างปัสสาวะในผู้ชายมาตรวจทางห้องปฎิบัติการ เพื่อย้อมสีกรัม (gram stain) ตรวจหาเชื้อแบคทีเรียไนซีเรียโกโนเรีย เพาะเชื้อ หรือตรวจพิเศษหาพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย (Nucleic acid amplification tests; NAAT)

ภาวะแทรกซ้อน

  • ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูงขึ้น
  • ติดเชื้อในกระแสเลือด ตามด้วยอาการติดเชื้อที่ข้อและโรคข้ออักเสบ
  • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ทำให้เกิดพังผืดในท่อนําไข่และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะมีบุตรยากและการตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • การอักเสบของลูกอัณฑะ อาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในชาย
  • การแท้งบุตรหรือการคลอดก่อนกําหนด
  • หากติดเชื้อโรคหนองในระหว่างตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิดอาจมีภาวะเยื่อบุตาอักเสบหากคลอดขณะที่มารดากำลังติดเชื้อหนองใน

การรักษา

การรักษาทำได้โดยการฉีดยาปฏิชีวนะ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรกลับมาพบแทย์ทันทีเนื่องจากเชื้ออาจดื้อยา ผู้ป่วยควรงดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 7 วันหลังเข้ารับการรักษาเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วย  แนะนําให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามหลังการรักษา และ 3 เดือนหลังจากได้รับการรักษาเพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ

การป้องกัน

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หากคุณและคู่ของคุณมีตกขาวหรือของเหลวออกมาทางอวัยวะเพศ หรือรู้สึกแสบขัดเมื่อปัสสาวะ
  • หากมีประวัติเสี่ยง พิจารณาตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆแม้ว่าจะไม่มีอาการใด ๆ

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 12 ม.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    • นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
    Urogynecology, Female Pelvic Reconstructive Surgery, Minimally Invasive Gynecology, Menopause
  • Link to doctor
    พญ. ณัฐชา พูลเจริญ

    พญ. ณัฐชา พูลเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecology
  • Link to doctor
    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    • นรีเวชวิทยา
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Obstetric and Gynecological Pathology, Anatomical Pathology, Family Medicine, Obstetrics and Gynecology