ภาวะความดันโลหิตต่ำ - Hypotension

ภาวะความดันโลหิตต่ำ

ภาวะความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือ ภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

แชร์

ภาวะความดันโลหิตต่ำ

ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขาดน้ำหรือความผิดปกติที่ร้ายแรงอื่น ๆ การค้นหาต้นตอสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญต่อการรักษา

อาการ

ผู้ที่มีความดันโลหิคต่ำอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • เวียนศีรษะ
  • เป็นลม
  • คลื่นไส้
  • เหนื่อยล้า
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ขาดสมาธิ

ภาวะความดันโลหิตต่ำอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้หากภาวะดังกล่าวมีความรุนแรง สัญญาณและอาการของภาวะช็อกอาจรวมถึง

  • อ่อนแรง
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • เกิดความสับสน
  • ผิวเย็น ชื้น และซีด
  • หายใจเร็ว

เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์

ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินทันทีหากเกิดภาวะช็อก ทั้งนี้ควรพบแพทย์หากมีสัญญาณหรืออาการของความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางการแพทย์ที่ร้ายแรงอื่น ๆ โดนอาจทำการจดบันทึกอาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เกิดขึ้นและสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ในขณะนั้น

สาเหตุ
ความดันโลหิตขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่

  • จังหวะการหายใจ
  • ระดับความเครียด
  • ท่าทางและการจัดตำแหน่งของร่างกาย
  • ภาวะของร่างกาย
  • การรับประทานยาบางชนิด
  • อาหาร
  • ช่วงเวลาในแต่ละวัน

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ความดันโลหิตลดลงรวมถึงสภาวะทางการแพทย์ เช่น

  • ภาวะขาดน้ำ
  • การตั้งครรภ์
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
  • ปัญหาต่อมไร้ท่อ
  • การสูญเสียเลือด
  • ภาวะโลหิตเป็นพิษหรือการติดเชื้อรุนแรง
  • อาการแพ้อย่างรุนแรง
  • ขาดสารอาหาร

นอกเหนือจากเงื่อนไขทางการแพทย์เหล่านี้ ความดันโลหิตต่ำอาจเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น

  • ยาขับปัสสาวะ
  • Alpha blockers
  • Beta blockers
  • ยาสำหรับโรคพาร์กินสัน
  • ยาต้านซึมเศร้าบางประเภท
  • ยาสำหรับอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ความดันโลหิตต่ำอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ อาจรวมถึง

  • ภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า
    ภาวะความดันโลหิตลดลงอย่างกะทันหันนี้เกิดขึ้นเมื่อคุณยืนขึ้นหลังจากนอนราบหรือจากท่านั่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในคนที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้
    • ผู้สูงอายุ
    • ภาวะขาดน้ำ
    • นอนพักเป็นเวลานาน
    • การตั้งครรภ์
    • โรคเบาหวาน
    • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
    • บาดแผลไฟไหม้
    • ความร้อนมากเกินไป
    • เส้นเลือดขอดขนาดใหญ่
    • ความผิดปกติทางระบบประสาทบางอย่าง
  • ความดันโลหิตต่ำหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่
    ความดันเลือดต่ำประเภทนี้มักเกิดขึ้นประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำหลังประเภทนี้อาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นลม และหกล้ม ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้มีปัจจัยดังต่อไปนี้
    • ผู้สูงอายุ
    • ภาวะความดันโลหิตสูง
    • ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคพาร์คินสัน

เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะนี้คุณอาจรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ และหลียกเลี่ยงอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต การดื่มน้ำมากขึ้นและหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ถือเป็นประโยชน์ในการลดอาการได้

ภาวะความดันโลหิตต่ำจากระบบประสาทอัตโนมัติ

ความดันโลหิตต่ำชนิดนี้เกิดขึ้นหลังจากการยืนเป็นเวลานาน ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ใหญ่และเด็ก การสื่อสารที่ไม่ถูกต้องระหว่างหัวใจและสมองถือเป็นสาเหตุของภาวะนี้

  • ภาวะความดันโลหิตต่ำจากความผิดปกติจากหลายระบบ
    ความเสียหายต่อระบบประสาททำให้ความดันโลหิตลดลง ความดันเลือดต่ำชนิดนี้เรียกอีกอย่างว่า Shy-Drager syndrome อาการของความดันโลหิตต่ำที่หายากนี้มีลักษณะอาการที่คล้ายกับโรคพาร์กินสัน (Parkinson Disease) ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงาน เช่น ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการย่อยอาหาร ผู้ที่มีความดันเลือดต่ำประเภทนี้อาจมีความดันโลหิตสูงขณะนอนราบร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยง

ความดันโลหิตต่ำสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ความเสี่ยงของภาวะนี้อาจเพิ่มขึ้นด้วยปัจจัยบางอย่าง ได้แก่

  • อายุ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสำหรับความดันโลหิตสูง
  • โรคบางอย่าง รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและปัญหาต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตต่ำ

ภาวะความดันโลหิตต่ำอาจนำไปสู่อุบัติเหตุเล็กน้อยจนถึงปัญหาทางการแพทย์ที่ร้ายแรง ผู้ที่มีความดันโลหิคต่ำอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบางอย่างได้ง่าย เช่น การหกล้มเนื่องจากอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนแรง และเป็นลม ภาวะความดันโลหิตต่ำที่รุนแรงอาจทำให้ขาดออกซิเจนซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อหัวใจและสมอง

การวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตต่ำ

แพทย์อาจตรวจสอบปัญหาทางการแพทย์ของคุณก่อนทำการตรวจร่างกายและวัดความดันโลหิต โดยอาจต้องทำการทดสอบบางอย่างร่วมด้วย เช่น

  • การตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบสภาพของร่างกายทั้งหมดและหาสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ เช่น น้ำตาลในเลือดสูง เบาหวาน หรือโลหิตจาง
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อค้นหาปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • การตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ เพื่อประเมินปฏิกิริยาของร่างกายต่อการเปลี่ยนแปลงท่าทางและตำแหน่ง

การรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำ

การรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำขึ้นอยู่กับสาเหตุ ประเภท และความรุนแรงของภาวะ ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความดันโลหิตและเพื่อลดสัญญาณและอาการของภาวะความดันเลือดต่ำที่รุนแรง อาจต้องได้รับการรักษาบางอย่าง เช่น

  • การบริโภคเกลือมากขึ้น
  • การดื่มน้ำมากขึ้น
  • การสวมถุงน่องชนิดแกรดูเอ็ดคอมเพรสชั่น (compression stockings) หรือถุงน่องป้องกันลิ่มเลือด
  • การใช้ยา

การเตรียมการก่อนการพบแพทย์

ก่อนการนัดหมายคุณควรตระหนักถึงข้อจำกัดก่อนการนัดหมาย และเตรียมข้อมูลบางอย่าง เช่น

  • อาการที่เกิดขึ้น
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญของคุณ
  • ยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่
  • คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์

ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูล เช่น

  • จุดเริ่มต้นของอาการ
  • อาการนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว
  • ความรุนแรงของอาการ
  • สิ่งที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง
  • ประวัติสมาชิกในครอบครัวของคุณที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ

เผยแพร่เมื่อ: 26 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ณิชา สมหล่อ

    พญ. ณิชา สมหล่อ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โภชนศาสตร์คลินิก
    Adult Gastroenterology (Nutrition), โภชนาการคลินิก, อายุรกรรมทั่วไป, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    อายุรกรรมทั่วไป, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. ณัฐภาคย์ ประทักษ์พิริยะ

    นพ. ณัฐภาคย์ ประทักษ์พิริยะ

    • อายุรศาสตร์
    อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. วรวรรณ ศิริชนะ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ.  ศิรญา ไชยะกุล

    พญ. ศิรญา ไชยะกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ.   ปัทมา ริมมากุลทรัพย์

    พญ. ปัทมา ริมมากุลทรัพย์

    • อายุรศาสตร์
    อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ.  ปิยนุช  ปิยสาธิต

    พญ. ปิยนุช ปิยสาธิต

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรกรรมทั่วไป, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. ประสิทธิ์ เผ่าทองคำ

    นพ. ประสิทธิ์ เผ่าทองคำ

    • อายุรศาสตร์
    • เวชพันธุศาสตร์
    เวชพันธุศาสตร์, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. ขจร ตีรณธนากุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    อายุรศาสตร์โรคไต, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ภาวินี น้อยนารถ

    พญ. ภาวินี น้อยนารถ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคเลือด
    อายุรศาสตร์โรคเลือด, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. อัญชนา สุรอมรรัตน์

    พญ. อัญชนา สุรอมรรัตน์

    • อายุรศาสตร์
    อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ประภาพร พิมพ์พิไล

    พญ. ประภาพร พิมพ์พิไล

    • อายุรศาสตร์
    โรคเบาหวาน, อายุรกรรมทั่วไป, โรคความดันโลหิตสูง, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคกระดูกพรุน, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง