ไมเกรน Migraine อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และการรักษา

ไมเกรน (Migraine)

ไมเกรน (Migraine) คือ โรคทางประสาทวิทยาชนิดหนึ่ง ส่งผลให้เกิดอาการปวดตุบ ๆเป็นจังหวะอย่างรุนแรง โดยมักพบอาการปวดที่ข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ

แชร์

ไมเกรน คืออะไร?

ไมเกรน (Migraine) คือ โรคทางประสาทวิทยาชนิดหนึ่ง ส่งผลให้เกิดอาการปวดตุบ ๆเป็นจังหวะอย่างรุนแรง โดยมักพบอาการปวดที่ข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ อาการปวดอาจเกิดขึ้นเป็นชั่วโมง หรือต่อเนื่องได้หลายวัน มักพบอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และภาวะไวต่อการรับรู้แสง เสียง กลิ่นและสัมผัสร่วมด้วย ความรุนแรงของโรคมีตั้งแต่น้อยไปจนถึงรุนแรง

ไมเกรนมีอาการอย่างไร?

อาการของโรคแบ่งออกเป็น 4 ระยะ และสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ

  • อาการไมเกรน ระยะแสดงอาการล่วงหน้า (Prodrome Stage) ก่อนอาการปวดรุนแรงไมเกรนจะเริ่มต้นขึ้น มักมีการมีอาการล่วงหน้า เช่น อารมณ์ที่แปรปรวน ท้องผูก หิว คอแข็ง หาวบ่อย กระหายน้า และความถี่ในการปวดปัสสาวะที่เพิ่มขึ้น
  • อาการไมเกรน ระยะส่งสัญญาณเตือน (Aura Stage) สัญญาณเตือนของไมเกรนมักเริ่มต้นจากความผิดปกติในการมองเห็นและภาวะไวต่อแสง ในบางกรณีอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นชั่วขณะ หรือการรับภาพที่แย่ลง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของระบบประสาท อาจมีความผิดปกติของประสาทสัมผัสที่มักพบได้บ่อยครั้งร่วมด้วย เช่นอาการไวต่อกลิ่น การได้ยินเสียงรบกวน สัญญาณอาจรุนแรงขึ้นในบางรายและส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ หรือมีอาการชาที่แขนหรือขา โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นเวลาประมาณ 20 – 60 นาที
  • ระยะแสดงอาการของโรค (Attack Stage) หลังจากระยะสัญญาณเตือนจบลง อาการปวดตุบ ๆอย่างรุนแรงมักเกิดขึ้นที่ข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ โดยมักมีอาการวิงเวียน และคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกันกับอาการที่ปรากฏในระยะสัญญาณเตือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการไวของประสาทสัมผัสและแสง
  • ระยะหลังแสดงอาการ (Postdrome Stage) สิ่งที่เกิดขึ้นหลังเกิดอาการปวดรุนแรงของไมเกรนแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ส่วนใหญ่มักเกิดอาการเหนื่อยล้าและสับสนในช่วงวันแรก แต่ก็พบว่าผู้ป่วยบางรายมีอาการสดใสขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวร่างกายโดยฉับพลัน อาจทำให้อาการปวดของไมเกรนเกิดซ้ำได้

ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะรุนแรง ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน คอแข็ง สับสน หรือมีการอาการผิดปกติของการพูดร่วมด้วย ควรต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดอย่างรุนแรงหลังเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ นอกจากนี้ ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หากพบว่าเกิดอาการปวดที่ผิดปกติเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว

ไมเกรนมีสาเหตุเกิดจากอะไร?

สาเหตุของไมเกรนยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่พบว่าปัจจัยสิ่งแวดล้อม และกลไกทางพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องให้เกิดอาการไมเกรนได้ จากการศึกษาพบว่าความไม่สมดุลของสารในสมอง เช่น เซโรทอนิน (Serotonin) และ กรดอมิโนเพปไทด์ ที่เกี่ยวข้องกับกลไกทางพันธุกรรม (CGRP) มีส่วนก่อให้อาการของโรค

นอกจากสาเหตุทางพันธุกรรมข้างต้นแล้ว ยังพบว่าตัวกระตุ้นบางอย่างก็เพิ่มโอกาสในการเกิดไมเกรนได้อีกด้วย เช่น ความเครียด การนอนหลับที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยทางร่างกาย การได้รับยาบางชนิด และการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนในเพศหญิง

โดยทั่วไปไมเกรนมักพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 3 เท่า เนื่องมาจากตัวกระตุ้นอย่างการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทั้งในช่วงของการมีรอบเดือน ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือในช่วงวัยทอง การใช้ยาฮอร์โมนบางชนิด ยังส่งผลเกี่ยวพันต่ออาการของไมเกรน โดยพบว่าผู้ป่วยบางรายแสดงอาการที่รุนแรงขึ้นหลังใช้ยาเหล่านี้ แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่า อาการไมเกรนอาจดีขึ้นหลังใช้ยาตัวเดียวกันในผู้ป่วยบางเคส

นอกจากตัวแปรทางเพศแล้ว พบว่าผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นไมเกรน มีโอกาสที่จะแสดงอาการของโรคสูงขึ้นตามไปด้วย

ไมเกรนมีวิธีการรักษาอย่างไร?

วิธีการรักษาโรคไมเกรนมักอาศัยการใช้ยาเป็นตัวช่วยโดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามวัตถุประสงค์ของการรักษา

  • การให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • การให้ยาเพื่อป้องกันอาการของโรค

ยาที่ใช้ในการรักษาอาการไมเกรนนั้น มีหลายชนิด โดยแพทย์จะเลือกใช้แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากยาแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นตัวยาดังต่อไปนี้

  • ยาแก้ปวด
    ยาแก้ปวดจาพวกแอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อบรรเทาอาการปวดชนิดไม่รุนแรง ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะจากการใช้ยาเกินขนาดได้
  • ยาจาพวกทริปแทน (Triptans)
    ทริปแทนเป็นยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์หรือเภสัชกรณ์เท่านั้น ตัวยาจะเข้าไปกีดขวางการสั่งการของสมอง ทาให้ขจัดการรับรู้ถึงอาการปวด ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ หรือเส้นเลือดอุดตัน
  • Dihydroergotamines (D.H.E. 45, Migranal)
    เป็นยาที่ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงในการรักษาอาการของโรคไมเกรน หากได้รับภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนที่รุนแรงขึ้นหลังได้รับยา เนื่องจากยาชนิดนี้ส่งผลโดยตรงกับหลอดเลือดแดง ผู้ป่วยที่มีโรคทางหลอดเลือดแดง ภาวะความดันสูง โรคตับ หรือไต ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา
  • Lasmiditan (Reyvow)
    Lasmiditan (Reyvow) เป็นตัวยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาการอาการต่าง ๆของไมเกรนได้ ทั้งอาการปวด คลื่นไส้อาเจียน และอาการไวต่อแสงและเสียง ยานี้มีผลให้เกิดอาการข้างเคียงคือ อาการวิงเวียนศีรษะ จึงไม่ควรขับรถหลังใช้ยา และไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หรือยากดประสาทส่วนกลางชนิดอื่น
  • Ubrogepant (Ubrelvy)
    Ubrogepant (Ubrelvy) คือยารับประทานจาพวกกรดอมิโนที่เกี่ยวพันทางพัธุกรรมชนิดแรกที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในผู้ป่วยไมเกรนที่มีอาการรุนแรง โดยมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดรุนแรง และอาการอื่นของโรค ทั้งอาการคลื่นไส้อาเจียน และภาวะไวต่อแสงและเสียง โดยยาจะออกฤทธิ์ภายใน 2 ชั่วโมงหลังได้รับยา
  • Opioid medications
    ยาชนิดนี้มักถูกเลือกใช้เมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองกับการรักษาโดยยาชนิดอื่นเท่านั้น เพราะส่งผลให้ติดยาได้
  • ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (Anti-nausea drugs)
    ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน มักถูกใช้ร่วมกับยาจาพวกบรรเทาอาการปวด

อาการ สาเหตุ ไมเกรน (Migraine) infographic TH

เผยแพร่เมื่อ: 24 ก.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์

    พญ. ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์

    • ประสาทวิทยา
    โรคระบบประสาท, หลอดเลือดสมองผิดปกติ, ภาวะสมองเสื่อม, ไมเกรน, อาการเวียนศีรษะ, ชาปลายมือปลายเท้า, การฉีดโบทูลินัมท็อกซินรักษาโรคทางระบบประสาท, โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มณฑล ว่องวันดี

    ผศ.นพ. มณฑล ว่องวันดี

    • ประสาทวิทยา
    ภาวะสมองเสื่อม, ปวดหัว, ไมเกรน, โรคหลอดเลือดสมอง, อาการสั่น, โรคพาร์กินสัน, อาการเวียนศีรษะ, บ้านหมุน
  • Link to doctor
    นพ. สุรศักดิ์ โกมลจันทร์

    นพ. สุรศักดิ์ โกมลจันทร์

    • ประสาทวิทยา
    โรคหลอดเลือดสมอง, เทคนิคร่วมรักษาโรคหลอดเลือดสมอง, Chronic Headache, ไมเกรน