Nutrition for Breast Cancer Prevention.jpg

อาหารต้านมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านมสามารถป้องกันได้โดยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิต

แชร์

โรคมะเร็งเต้านมสามารถป้องกันได้โดยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิต

  • ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10% จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม เนื่องจากเซลล์ไขมันจะกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งเต้านม

  • รับประทานอาหารจากพืช ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี ผัก ผลไม้ ถั่วต่างๆ อาหารเหล่านี้ประกอบด้วย ไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ และสารพฤกษเคมี (phytochemicals) ที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้
    • ผักตระกูลครูซิเฟอรัส เช่น บร็อคโคลี คะน้า ผักกวางตุ้ง แขนง ดอกกะหล่ำ และกะหล่ำปลี มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ ซีและอีสูง นอกจากนี้ยังมีซัลโฟราเฟนและ อินโดล-3- คาร์บินอล (Indole-3-carbinol) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง
    • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ มีสารแอนโทไซยานิน ใยอาหาร วิตามินซีสูง ที่ช่วยป้องกันมะเร็ง
    • ผลไม้ตระกูลส้ม มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และมีสารลิโมนอยด์ (Limonoid) ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง

การรับประทานอาหารจากพืชส่วนใหญ่จะให้พลังงานที่ไม่สูงมากทำให้สามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมได้อีกด้วย โดยควรรับประทานผักผลไม้เป็นประจำ วันละ 5-9 ทัพพี (ผัก 4-7 ทัพพี และผลไม้ 2-4 กำมือ)

  • รับประทานอาหารประเภทถั่วเหลืองพอประมาณ โดยควรบริโภคถั่วเหลืองไม่เกิน 2-3 ส่วน/วัน (ถั่วเหลือง 1 ส่วน เท่ากับ เต้าหู้ ½ ถ้วยตวง, โปรตีนเกษตรหรือถั่วเหลืองสุก ½ ถ้วยตวง, นมถั่วเหลือง 240 มิลลิลิตร) และหลีกเลี่ยงอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากถั่วเหลืองทีมีความเข้มข้นสูงทีใช้ทดแทนฮอร์โมน

  • เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันสัตว์ ของทอด เช่น ไก่ทอด หมูทอด ข้าวมันไก่ หนังไก่ กุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก อาหารที่มีไขมันทรานส์ เช่น เบเกอรี่ ปาท่องโก๋ มันฝรั่งทอด กล้วยแขก เลือกทานไขมันดี จาก น้ำมันมะกอก, น้ำมันรำข้าว, อะโวคาโด, ถั่วเปลือกแข็ง, เมล็ดแฟลกซ์, ปลาทะเล หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป และจำกัดการบริโภคเนื้อแดง ให้น้อยกว่า 500 กรัมต่อสัปดาห์

  • เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด รวมไปถึงมะเร็งเต้านม โดยควรจำกัดปริมาณการดื่ม ในผู้หญิงไม่ควรเกิน 1 ดริ๊งค์ ในผู้ชายไม่ควรเกิน 2 ดริ๊งค์ (1 ดริ๊งค์ เท่ากับ เบียร์ 1 กระป๋อง 330 ml, ไวน์ 1 แก้ว 150 ml, วิสกี้ 45 ml)




Reference

- โภชนบำบัด การป้องกันมะเร็ง: https://www.chulacancer.net/patient-list-page.php?id=244
- มะเร็งเต้านมกับคําถามสุดฮิต: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1198_1.pdf
- What You Should Know About Nutrition and Breast Cancer: https://stanfordhealthcare.org/medical-clinics/cancer-nutrition-services/reducing-cancer-risk/breast-cancer-prevention.html
- ศัลยา คงสมบูรณ์เวช.อาหารบำบัดโรค (ฉบับปรุบปรุง). -พิมพ์ครั้งที่ 4.-กรุงเทพฯ: อมรินทร์สุขภาพ, 2551.(6), 225 หน้า
- ศัลยา คงสมบูรณ์เวช.กินป้องกันโรค.-กรุงเทพฯ: อมรินทร์สุขภาพ, 2553.(10), 229 หน้า

เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2021

แชร์