โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ - Peripheral Artery Disease (PAD)

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบก่อให้เกิดการกีดขวางการไหลเวียนของเลือดไปที่แขนขา โดยผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบอาจมีอาการอึดอัดหรือปวดขาขณะเดินเนื่องจากเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะดังกล่าวไม่เพียงพอ

แชร์

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบก่อให้เกิดการกีดขวางการไหลเวียนของเลือดไปที่แขนขา โดยผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบอาจมีอาการอึดอัดหรือปวดขาขณะเดินเนื่องจากเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะดังกล่าวไม่เพียงพอ

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบอาจเป็นสัญญาณของการสะสมของไขมันในหลอดเลือดซึ่งกีดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจและสมอง โรคนี้อาจดีขึ้นและรักษาได้โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างรวมถึงการเลิกสูบบุหรี่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

อาการ

อาการของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบอาจไม่รุนแรงหรืออาจไม่สามารถสังเกตเห็นได้เลย อาการปวดขาขณะเดินเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคนี้ซึ่งคนไข้อาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อและเป็นตะคริวที่แขนหรือขา ซึ่งอาการดังกล่าวอาจหายไปภายในไม่กี่นาทีระดับความรุนแรงของโรคอาจมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อกิจกรรมประจำวันของคุณโดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะเดิน

สัญญาณและอาการของโรคหลอดเลือดส่วนปลายอาจรวมถึง

  • อาการปวดขา
  • อาการชาหรืออ่อนแรงของแขนหรือขา
  • ความรู้สึกเย็นที่ขาส่วนล่าง
  • แผลที่นิ้วเท้า
  • การเปลี่ยนสีของขา
  • การเจริญเติบโตของเส้นขนช้าลงหรือขนบริเวณเท้าและขาร่วง
  • เล็บเท้าเจริญเติบโตช้าลง
  • ผิวที่ขามีลักษณะมันเงา
  • ชีพจรอ่อนที่ขาหรือเท้า หรืออาจตรวจไม่พบชีพจรในบริเวณขาหรือเท้าในบางกรณี
  • สมรรถภาพทางเพศเสื่อมในผู้ชาย

ความเจ็บปวดจากโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบยังสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการพักผ่อนหรือนอนราบ อาการปวดอาจรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืนการห้อยขาไว้เหนือขอบเตียงหรือเดินไปรอบ ๆ ห้องอาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้

เมื่อไหร่จึงควรไปพบแพทย์

ควรพบแพทย์หากคุณมีอาการข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และผู้อายุต่ำกว่า 50 ปีที่เป็นโรคเบาหวานหรือความเสี่ยงอื่น ๆ ของโรค เช่น ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับการตรวจคัดกรองโรค

สาเหตุ

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบเกิดขึ้นเมื่อมีคราบจุลินทรีย์หรือไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง และการไหลเวียนของเลือดที่ส่งไปยังแขนขาเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่แขนขา กายวิภาคที่ผิดปกติความผิดปกติของเอ็นหรือกล้ามเนื้อ หรือการได้รับรังสี

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดส่วนปลายอาจรวมถึง

  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ้วน
  • ความดันโลหิตสูง
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง
  • ระดับโฮโมซิสเทอีนหรือส่วนประกอบของโปรตีนช่วยสร้างและรักษาเนื้อเยื่ออยู่ในระดับสูง
  • สูบบุหรี่


ภาวะแทรกซ้อน

โรคหลอดเลือดส่วนปลายอาจเพิ่มความเสี่ยงของ

  • อาการแขนขาขาดเลือด
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • หัวใจวาย


การวินิจฉัย

ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดส่วนปลายแพทย์อาจทำการทดสอบหลายอย่างเช่น

  • การตรวจร่างกาย เพื่อประเมินหลอดเลือดแดงตีบ
  • Ankle-brachial index (ABI) เพื่อเปรียบเทียบความดันโลหิตระหว่างข้อเท้าและแขน
  • อัลตราซาวนด์ เพื่อประเมินการไหลเวียนของเลือดผ่านหลอดเลือด
  • การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด เพื่อตรวจการไหลเวียนของเลือด
  • การตรวจเลือด เพื่อวัดความเป็นไปได้ของโรคเบาหวาน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์


การรักษา

จุดมุ่งหมายของการรักษาคือการจัดการกับอาการ และยุติความพัฒนาของสิ่งกีดขวางหลอดเลือด ที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้

การรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายอาจรวมถึง

  • การใช้ยา
    • ยาลดคอเลสเตอรอล
    • ยาความดันโลหิตสูง
    • ยาควบคุมน้ำตาลในเลือด
    • ยาควบคุมการอุดตันของเลือด
    • ยาบรรเทาอาการ
  • การขยายหลอดเลือดหัวใจและการผ่าตัด
    • การขยายหลอดเลือดหัวใจ (Angioplasty) เพื่อเปิดหลอดเลือดและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
    • การผ่าตัดบายพาส โดยใช้หลอดเลือดจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น
    • การรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือด ยาละลายลิ่มเลือดจะถูกฉีดเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ถูกปิดกั้นเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • โปรแกรมการออกกำลังกาย
    วัตถุประสงค์ของการรักษาเพื่อปรับปรุงอาการของโรคหลอดเลือดส่วนปลายและส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้ออกซิเจน


การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการรักษาตัวที่บ้าน

โรคหลอดเลือดส่วนปลายสามารถปรับปรุงหรือรักษาได้โดยการเปลี่ยนวิถีชีวิตและการรักษาตัวที่บ้าน โดยคนไข้อาจปรับพฤติกรรมดังต่อไปนี้

  • เลิกสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายบ่อยขึ้นและสม่ำเสมอขึ้น
  • ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • หลีกเลี่ยงยาแก้หวัดบางชนิด
  • ระมัดระวังและหมั่นดูแลสุขภาพเท้า เช่น ล้างและเช็ดเท้าให้แห้งทุกวัน สวมถุงเท้าที่แห้ง สวมรองเท้าที่พอดีกับขนาดของเท้า รักษาการติดเชื้อรา ระมัดระวังในการตัดเล็บตรวจสอบการบาดเจ็บของเท้า และไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาปัญหาที่ผิดปกติของเท้าเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม


การเตรียมการก่อนการพบแพทย์

ก่อนการนัดหมายคุณอาจเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้

  • อาการที่เกิดขึ้น
  • รายการยาที่ใช้อยู่ปัจจุบัน
  • คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์

ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูลเช่น

  • จุดเริ่มต้นของอาการ
  • อาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว
  • อาการแย่ลงเมื่อออกกำลังกายหรือไม่
  • อาการดีขึ้นเมื่อพักผ่อนหรือไม่
  • ความรุนแรงของอาการ
  • คุณสูบบุหรี่หรือไม่

เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ศิรพงศ์ โชคธีรสวัสดิ์

    นพ. ศิรพงศ์ โชคธีรสวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. ปัณฑิตา เอี่ยมศุภนิมิตร

    พญ. ปัณฑิตา เอี่ยมศุภนิมิตร

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Vascular Surgery
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. ปิยนุช พูตระกูล

    ผศ.พญ. ปิยนุช พูตระกูล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Vascular Surgery, การปลูกถ่ายไต
  • Link to doctor
    ศ.นพ. จุมพล วิลาศรัศมี

    ศ.นพ. จุมพล วิลาศรัศมี

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Vascular Surgery
  • Link to doctor
    นายแพทย์ เชาวนันท์   พรวรากรณ์

    นายแพทย์ เชาวนันท์ พรวรากรณ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    General Surgery, Vascular Surgery
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ภิเษก บุญธรรม

    ผศ.นพ. ภิเษก บุญธรรม

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Vascular Surgery, เส้นเลือดขอด, Vascular Intervention Radiology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. คามิน ชินศักดิ์ชัย

    รศ.นพ. คามิน ชินศักดิ์ชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Vascular Surgery
  • Link to doctor
    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Breast Surgery, Vascular Surgery, General Surgery