ชามือ ชาเท้า จุดเริ่มต้นของโรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ - Numbness of hands and feet, an early sign of peripheral neuropathy

ชามือ ชาเท้า จุดเริ่มต้นของโรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ

อาการชา หรืออาการรับความรู้สึกผิดปกติ อาจหมายรวมถึงอาการที่เราเสียการรับรู้ความเจ็บปวด ความรู้สึกร้อน เย็น และการสัมผัสหรือการสั่นสะเทือน ซึ่งอาจมีอาการมากน้อยแตกต่างกันแล้วแต่บุคคล

แชร์

ชามือ ชาเท้า จุดเริ่มต้นของโรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ

อาการชา หรืออาการรับความรู้สึกผิดปกติ อาจหมายรวมถึงอาการที่เราเสียการรับรู้ความเจ็บปวด ความรู้สึกร้อน เย็น และการสัมผัสหรือการสั่นสะเทือน ซึ่งอาจมีอาการมากน้อยแตกต่างกันแล้วแต่บุคคล อาการดังกล่าวพบได้มากในช่วงวัยทำงานถึงวัยผู้สูงอายุ ท่าทางในชีวิตประจำวัน พฤติกรรมการรับประทานอาหาร โรคประจำตัว หรือพันธุกรรมของแต่ละบุคคลล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความผิดปกติของการรับรู้ความรู้สึก การเข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเพื่อค้นหาสาเหตุ จะป้องกันไม่ให้อาการเป็นมากขึ้น ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามลำดับ

อาการแสดงที่มากกว่าอาการชา

โดยทั่วไปอาการชาจากโรคของเส้นประสาทอาจแสดงอาการได้หลายแบบ

  • อาการรับความรู้สึกผิดปกติ บางกรณีผู้ป่วยอาจแจ้งอาการชา ไม่รู้สึกถึงการจับสัมผัส หรือไม่รู้สึกถึงอุณหภูมิร้อนเย็น บางรายมีปัญหาการทรงตัวเดินลำบาก ในขณะที่ในทางตรงกันข้ามกันบางรายอาจแสดงอาการไวผิดปกติของเส้นประสาท เช่น  รู้สึกคล้ายไฟช็อต รู้สึกเจ็บปวดมากกว่าปกติเมื่อได้รับการสัมผัสหรือการกระตุ้น ตำแหน่งที่เกิดอาการมีความแตกต่างกันไป เช่น ที่มือ แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจพบได้ที่ปลายแขนและขาทั้งสองข้าง อาการดังกล่าวอาจมีลักษณะเป็นๆหายๆ ในช่วงเริ่มต้นและพัฒนาไปจนมีอาการค้างอยู่ตลอด บางรายอาจเริ่มมีอาการที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งแล้วลุกลามไปสู่ตำแหน่งอื่น
  • อาการอ่อนแรง อาจพบอาการอ่อนแรงร่วมกับอาการชาในตำแหน่งเดียวกัน บางรายมีอาการปวดเจ็บกล้ามเนื้อร่วมด้วย
  • อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ อาการที่พบได้ เช่น เหงื่อออกผิดปกติ หรือ มีอาการหน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่าทาง หรือระบบย่อยอาหารทำงานไม่ดี ท้องอืด ท้องผูก


ควรพบแพทย์เมื่อไร

หากมีอาการของการรับความรู้สึกน้อย (ชา) หรือมากกว่าปกติ (เจ็บ) มีอาการอ่อนแรง หรือมีปัญหาการทรงตัวลำบาก ควรพบแพทย์เพื่อรับการประเมินและตรวจวินิจฉัย

สาเหตุตามลักษณะอาการแสดงของโรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ

สาเหตุตามลักษณะอาการแสดงของโรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ

1. ผู้ป่วยที่มีอาการชาของแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง

ผู้ป่วยที่มีอาการชาของแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง อาจเป็นอาการแสดงของโรคตั้งแต่ระดับเส้นประสาท แขนงประสาท รากประสาท และปมประสาทรับความรู้สึก ตัวอย่างสาเหตุที่พบ เช่น  การกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) จากการใช้งาน การกดทับของเส้นประสาทบริเวณขา (Peroneal entrapment) จากการนั่งไขว่ห้างหรือนั่งขัดสมาธิ ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับรากเส้นประสาท และการอักเสบหรือการติดเชื้อของแขนงประสาทและปมประสาท เป็นต้น
นอกจากนี้หากเกิดอาการเริ่มต้นที่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งหลายตำแหน่งพร้อมกัน อาจพบในภาวะเส้นประสาทอักเสบจากการขาดเลือด (ischemia) จากโรคทางกาย เช่น โรคภูมิคุ้มกัน SLE โรค rheumatoid หรือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

ผู้ป่วยที่มีอาการชาของแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง

2. ผู้ป่วยที่มีอาการชาส่วนปลายของแขนและขาทั้งสองข้าง

ผู้ป่วยที่มีอาการชาส่วนปลายของแขนและขาทั้งสองข้าง ในผู้ป่วยบางรายหากมีอาการเป็นมากขึ้นจะพบอาการชาบริเวณหน้าอกและกลางหลังร่วมด้วย หากเกิดอาการเฉียบพลันภายใน 4 สัปดาห์ มักพบในโรคของเส้นประสาทอักเสบ Guillain-Barré syndrome หากอาการเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นระยะเวลานานกว่า 8 สัปดาห์   สามารถบ่งบอกภาวะปลายเส้นประสาทอักเสบที่อาจเกิดจาก โรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ โรคเบาหวาน ภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคกลุ่ม Paraproteinemia การขาดวิตามิน และการได้รับยาเคมีบำบัด เป็นต้น

ผู้ป่วยที่มีอาการชาส่วนปลายของแขนและขาทั้งสองข้าง

การตรวจวินิจฉัยภาวะเส้นประสาทอักเสบทำได้อย่างไรบ้าง

การตรวจวินิจฉัยภาวะเส้นประสาทอักเสบจะเริ่มต้นด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกายทางระบบประสาทเพื่อประเมินโดยแพทย์  การตรวจเบื้องต้นจะมีการทดสอบการรับความรู้สึกในแบบต่างๆ เช่น การทดสอบความรู้สึกร้อนเย็น การทดสอบการรับรู้ความสั่นสะเทือน ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นโดยการตรวจทางไฟฟ้าของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ จะเรียกวิธีการนี้ว่า Electrodiagnostic test แบ่งเป็นการตรวจการทำงานของเส้นประสาท Nerve conduction study (NCS) และการตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Electromyography (EMG) การตรวจนี้สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรค บ่งบอกพยาธิสภาพและตำแหน่งของเส้นประสาทที่ผิดปกติ รวมทั้งยังสามารถใช้ติดตามอาการของเส้นประสาทอักเสบได้ ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการตรวจแบบผู้ป่วยนอก โดยใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง ทั้งนี้ภายหลังการตรวจจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เชื่อมโยงผลการทำงานของเส้นประสาท ผลทางไฟฟ้ากล้ามเนื้อและอาการแสดง เพื่อประกอบการวินิจฉัยและนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมต่อไป





บทความโดย

พญ.มนัสวรรณ์ สันทนานุการ

แพทย์ผู้ชำนาญการด้านประสาทวิทยา
เฉพาะทางด้านประสาทวิทยาโรคกล้ามเนื้อและเส้นประสาทไฟฟ้าวินิจฉัย
ประวัติแพทย์ คลิก


ชามือ ชาเท้า จุดเริ่มต้นของโรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ

บทความโดย

  • พญ. มนัสวรรณ์ สันทนานุการ
    พญ. มนัสวรรณ์ สันทนานุการ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านประสาทวิทยา เฉพาะทางด้านประสาทวิทยาโรคกล้ามเนื้อและเส้นประสาทไฟฟ้าวินิจฉัย

เผยแพร่เมื่อ: 16 ก.พ. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ภูชิต สุขพัลลภรัตน์

    นพ. ภูชิต สุขพัลลภรัตน์

    • ประสาทวิทยา
    โรคระบบประสาท, โรคกล้ามเนื้อและเส้นประสาท, อาการชา, ไฟฟ้าวินิจฉัย
  • Link to doctor
    นพ. ชนศักดิ์ หทัยอารีย์รักษ์

    นพ. ชนศักดิ์ หทัยอารีย์รักษ์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู, การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยและความผิดปกติของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
  • Link to doctor
    พญ. ธารินี คัทรี

    พญ. ธารินี คัทรี

    • ประสาทวิทยา
    • ประสาทวิทยาโรคกล้ามเนื้อและเส้นประสาทไฟฟ้าวินิจฉัย
  • Link to doctor
    นพ. นฤพัชร สวนประเสริฐ

    นพ. นฤพัชร สวนประเสริฐ

    • ประสาทวิทยา
    โรคระบบประสาท, การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า
  • Link to doctor
    พญ. มนัสวรรณ์ สันทนานุการ

    พญ. มนัสวรรณ์ สันทนานุการ

    • ประสาทวิทยา
    • ประสาทวิทยาโรคกล้ามเนื้อและเส้นประสาทไฟฟ้าวินิจฉัย
    โรคกล้ามเนื้อและเส้นประสาท, อาการชา, โรคปวดศีรษะ, บ้านหมุน, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, เส้นประสาทส่วนปลายผิดปกติ, โรคเส้นประสาทอ่อนแรงเฉียบพลัน, การกดทับของเส้นประสาท
  • Link to doctor
    นพ. นรฤทธิ์ ล้วนจำเริญ

    นพ. นรฤทธิ์ ล้วนจำเริญ

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    การใช้อัลตร้าซาวด์นำทางในหัตถการ การรักษาโรคพังผึดกดทับเส้นประสาทข้อมือ นิ้วล็อค โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ, การอัลตราซาวด์ของกล้ามเนื้อและโครงกระดูก, ไฟฟ้าวินิจฉัย, การฟื้นฟูผู้มีปัญหา กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก และข้อ, การจัดการภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง, กายอุปกรณ์