โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน - psoriatic-arthritis

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

คือโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน ซึ่งเป็นภาวะที่ผิวหนังมีเกล็ดสีแดงปกคลุมด้วยเกล็ดสีเงิน

แชร์

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยหลังจากการปรากฏของโรคสะเก็ดเงิน บางกรณีอาจพบสัญญาณของความผิดปกติของข้อก่อนการปรากฏตัวของสะเก็ดบนผิวหนัง

สัญญาณโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สัญญาณและอาการหลักของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน คือ อาการปวดข้อ ตึง และบวม อาการสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย รวมทั้งปลายนิ้ว และกระดูกสันหลัง โดยอาจมีอาการตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรง นอกจากนี้การแพร่กระจายของโรคอาจแตกต่างกันไปตามระยะเวลา ทั้งนี้ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โดยจุดมุ่งหมายของการรักษาคือการควบคุมอาการ และเพื่อป้องกันความเสียหายของข้อต่อ อย่างไรก็ดีโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่ความพิการได้ในบางกรณี

อาการของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

อาการของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินและโรคสะเก็ดเงินอาจดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยอาการสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย ทั้งนี้สัญญาณและอาการของโรคอาจคล้ายกับโรคไขข้ออักเสบซึ่งทำให้เกิดอาการปวดข้อ บวม และอุ่นเมื่อสัมผัส นอกจากนี้โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินอาจก่อให้เกิด

  • อาการปวดเท้า ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินอาจมีอาการปวดเท้าโดยเฉพาะที่บริเวณส้นเท้าด้านหลังหรือฝ่าเท้า
  • อาการปวดหลังส่วนล่าง
  • นิ้วมือและนิ้วเท้าบวม


เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์

พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินและโรคสะเก็ดเงิน ดังนั้นควรแจ้งแพทย์หากมีอาการปวดข้อ โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงถาวร ซึ่งอาจนำทำให้เกิดความพิการได้

สาเหตุของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน เกิดจากการอักเสบในข้อ เนื่องจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ทั้งนี้สาเหตุที่ก่อให้เกิดการตอบสนองนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่พบว่าอาจเกี่ยวข้องกับทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีแนวโน้มสูงขึ้นที่จะเกิดโรคนี้ตามมา ยิ่งไปกว่านั้นการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียอาจเป็นสาเหตุของโรคได้อีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินประกอบไปด้วย

  • โรคสะเก็ดเงิน
  • ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
  • อายุ ผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

ภาวะรุนแรงของโรคที่เรียกว่าโรคไขข้ออักเสบ มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ้างในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคข้ออักเสบทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ตลอดจนเข้าทำลายกระดูกเล็ก ๆ ในมือ โดยเฉพาะนิ้วมือซึ่งนำไปสู่ความผิดปกติของโครงสร้าง และความพิการอย่างถาวร ปัญหาทางสายตาบางอย่าง เช่น ท่อระบายน้ำตาอักเสบ อาจเกิดขึ้นในคนไข้บางรายและอาจก่อให้เกิดอาการตาแดง และตาพร่ามัว

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

แพทย์อาจใช้การทดสอบเพื่อ

  • ตรวจสังเกตุดูอาการบวม หรืออาการกดเจ็บของข้อต่อ
  • ตรวจหารูขุมขนและเล็บที่แสดงอาการผิดปกติ
  • ค้นหาบริเวณที่กดเจ็บของส้นเท้าโดยการกดที่ฝ่าเท้า
แพทย์อาจตรวจสอบสาเหตุของอาการและแยกความแตกต่างระหว่างโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน และโรคข้ออักเสบอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคเกาต์ โดยทำการทดสอบดังต่อไปนี้
  • การทดสอบโดยภาพถ่ายทางการแพทย์
    • รังสีเอกซ์เรย์ (X-rays) เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลงของข้อต่อที่เกิดขึ้นในโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
    • เอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจสอบปัญหาเกี่ยวกับเอ็นและเส้นเอ็นที่เท้าและหลังส่วนล่าง
  • การทดสอบในห้องปฏิบัติการ
    • ปัจจัยโรครูมาตอยด์ (Rheumatoid factor หรือ RF)
      เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างปัญหาของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
    • การทดสอบของเหลวในข้อ
      เพื่อค้นหาผลึกกรดยูริกในของเหลวในข้อซึ่งอาจบ่งบอกถึงการเกิดโรคเกาต์


การรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน วัตถุประสงค์ของการรักษาคือเพื่อควบคุมการอักเสบและป้องกันอาการปวดข้อและความเสียหายถาวรที่อาจก่อให้เกิดความพิการ โดยการรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินอาจรวมถึง

  • การใช้ยา
    • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
    • ยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Disease Modifying Anti-Rheumatic Drugs: DMARDs)
    • ยากดภูมิคุ้มกัน
    • ยากลุ่ม Biologic agents
    • ยากลุ่ม Newer oral medication
  • การผ่าตัดและกระบวนการรักษาอื่น ๆ
  • การฉีดยาเสตียรอยด์
    เพื่อลดการอักเสบได้เร็วขึ้น แพทย์อาจฉีดยาเสตียรอยด์ในข้อต่อที่ได้รับผลกระทบ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
    แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อให้กับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินที่ข้อต่อได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง


การเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาตัวที่บ้าน

  • การป้องกันดูแลข้อ
    การสร้างความตระหนักและระมักระวังกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อต่อ สามารถป้องกันข้อต่อได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น หลีกเลี่ยงการใช้แรงที่ข้อต่อนิ้วด้วยการดันประตูโดยการใช้ทั้งตัวดันแทนการใช้นิ้ว
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    การออกกำลังกายบางชนิด เช่น การว่ายน้ำ การเดิน และการขี่จักรยาน อาจช่วยส่งเสริมข้อต่อที่ยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • การควบคุมน้ำหนัก
  • การเลิกสูบบุหรี่
  • การจำกัดการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การเพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกาย


          การเตรียมตัวเพื่อพบแพทย์

          ก่อนการนัดหมายแพทย์คนไข้อาจเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้

          • อาการที่เกิดขึ้น
          • จุดเริ่มต้นของอาการ
          • ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคข้ออักเสบหรือโรคสะเก็ดเงิน
          • ยาและอาหารเสริมที่เพิ่งบริโภค

          ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูลเช่น

          • ข้อต่อที่ได้รับผลกระทบ
          • กิจกรรมหรือตำแหน่งที่มีอาการบรรเทาหรือแย่ลง
          • การรักษาที่ได้ลองและได้ผล

          เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

          แชร์

          แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

        • Link to doctor
          นพ. ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ

          นพ. ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ

          • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
          ตจวิทยา โรคผิวหนัง, ภูมิคุ้มกันผิวหนัง
        • Link to doctor
          พญ. มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์

          พญ. มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์

          • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
          ตจวิทยา โรคผิวหนัง
        • Link to doctor
          MedPark Hospital Logo

          นพ. ปุณวิศ สุทธิกุลณเศรษฐ์

          • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
          • ตจพยาธิวิทยา
          ตจวิทยา โรคผิวหนัง
        • Link to doctor
          นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

          นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

          • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
          • โรคผมร่วงและการผ่าตัดปลูกผม
          การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, ผื่นแพ้สัมผัส, ผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, รักษาหลุมสิว, การรักษาโรคผมร่วงและการผ่าตัดปลูกผม, ตจวิทยา โรคผิวหนัง
        • Link to doctor
          พญ. ญาดา อิทธิพานิชพงศ์

          พญ. ญาดา อิทธิพานิชพงศ์

          • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
          ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, Vein Sclerotherapy, Mesotherapy, Anti-aging and Regenerative Medicine, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดผิวหนังและเล็บ, รอยสิว, สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, ผื่นแพ้สัมผัส, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป
        • Link to doctor
          พญ. กาญจนา บุญชู

          พญ. กาญจนา บุญชู

          • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
          ตจศัลยศาสตร์, ตจวิทยา โรคผิวหนัง, การรักษาเกี่ยวกับความงาม
        • Link to doctor
          พญ. ณิชา รังสิมานนท์

          พญ. ณิชา รังสิมานนท์

          • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
          ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, ตจวิทยา โรคผิวหนัง