รักษาแก้วหูแตก แก้วหูทะลุ (Perforated eardrum) อาการ สาเหตุ

แก้วหูแตก หรือแก้วหูทะลุ (Ruptured Eardrum)

แก้วหูหรือเยื่อแก้วหูเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ กั้นระหว่างรูหูและหูชั้นกลาง อวัยวะสําคัญสําหรับการได้ยินของมนุษย์และยังทําหน้าที่เป็นเกราะป้องกันน้ำ เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าไปสู่หูชั้นกลาง

แชร์

แก้วหูแตก (แก้วหูทะลุ)

แก้วหูหรือเยื่อแก้วหูของคนเราเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ กั้นระหว่างรูหูและหูชั้นกลาง เป็นอวัยวะสําคัญสําหรับการได้ยินของมนุษย์ และยังทําหน้าที่เป็นเกราะป้องกันน้ำ เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าไปสู่หูชั้นกลาง หากแก้วหูแตกหรือทะลุ นั่นหมายความว่าเยื่อแก้วหูมีการฉีกขาดหรือเป็นรู ทำให้เสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินและการติดเชื้อ ส่วนใหญ่แล้วอาการแก้วหูแตกหรือแก้วหูทะลุมักหายได้เอง เว้นในรายที่รุนแรงอาจจําเป็นต้องได้รับการผ่าตัด

อาการ แก้วหูแตก หรือแก้วหูทะลุ

  • ปวดหู
  • มีของเหลวออกจากหู
  • มีเสียงในหู
  • บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน
  • สูญเสียการได้ยิน

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

หากมีอาการดังที่กล่าวมาแล้ว ควรนัดพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าเยื่อแก้วหูฉีกขาดหรือไม่

สาเหตุที่แก้วหูแตก หรือแก้วหูทะลุ

  • การใส่สิ่งของแปลกปลอม เช่น ก้านสําลีเข้าไปในรูหูอาจทําให้แก้วหูทะลุได้
  • การบาดเจ็บของหูชั้นในจากเสียงดัง เช่น เสียงยิงปืนหรือระเบิดอาจทําให้แก้วหูฉีกขาดได้
  • หูชั้นกลางอักเสบจากของเหลวที่คั่งอยู่ภายในหู
  • การบาดเจ็บจากแรงดัน เช่น การดำน้ำ
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง เช่น ฐานกะโหลกศีรษะร้าว

ภาวะแทรกซ้อน

  • การสูญเสียการได้ยินอาจเกิดขึ้นได้ชั่วคราวจนกว่าการฉีกขาดของเยื่อแก้วหูจะหายเป็นปกติ ระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดและตําแหน่งเยื่อแก้วหูที่ขาด
  • หูชั้นกลางอักเสบหรือการติดเชื้อแบคทีเรียในหูชั้นกลาง บางรายอาจมีติดเชื้อในหูชั้นกลางซ้ำ ๆ หรือเรื้อรัง นําไปสู่การสูญเสียการได้ยิน
  • Cholesteatoma คือ ก้อนในหูชั้นกลาง เกิดจากการที่มีเซลล์ผิวหนังตกค้างสะสมภายใน แต่พบได้น้อย

การป้องกันแก้วหูแตก หรือแก้วหูทะลุ

  • ไม่แหย่หรือใส่วัตถุใด ๆ เข้าไปในหู วัตถุ เช่น ก้านสําลีหรือคลิปหนีบกระดาษอาจทำให้แก้วหูทะลุได้ หากจําเป็นต้องทำความสะอาดใบหู ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดบริเวณภายนอก
  • ไปพบแพทย์หากมีไข้ ปวดหู และการได้ยินลดลง เนื่องจากอาการเหล่านี้เป็นอาการของการติดเชื้อในหูชั้นกลางซึ่งอาจทําให้แก้วหูได้รับความเสียหาย
  • เมื่อเดินทางโดยเครื่องบิน ควรป้องกันโดยการใส่ที่อุดหูปรับความดัน เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือหาวบ่อย ๆ อาจใช้วิธี Valsalva maneuver เพื่อเคลียร์หูโดยการบีบจมูกและปิดปาก แล้วหายใจออกแรง ๆ เหมือนกับกำลังสั่งน้ำมูก
  • สวมที่ครอบหูลดเสียงหรือที่อุดหูป้องกันหากทำงานในที่มีเสียงดังมาก ๆ เช่น งานก่อสร้าง 

การตรวจวินิจฉัยแก้วหูแตก หรือแก้วหูทะลุ

  • ซักประวัติและตรวจร่างกายด้วยกล้องส่องตรวจหู otoscope หรือกล้องจุลทรรศน์
  • การตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจดูว่าหูชั้นกลางติดเชื้อหรือไม่
  • การตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียงเพื่อประเมินการสูญเสียการได้ยิน
  • การตรวจเพื่อประเมินการทำงานของหูชั้นกลาง (Tympanometry)  เพื่อดูการตอบสนองของแก้วหู
  • การตรวจการได้ยิน (Audiology Exam) เพื่อวัดความสามารถในการแยกแยะความดังเบา ระดับเสียง และความถี่ของเสียง

การรักษาแก้วหูแตก หรือแก้วหูทะลุ

โดยปกติแล้วอาการแก้วหูแตกหรือแก้วหูทะลุสามารถหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ หากมีการติดเชื้อ อาจต้องหยดยาปฏิชีวนะ หากไม่หาย แพทย์อาจแนะนำให้ทำการรักษาดังต่อไปนี้

  • การปิดเยื่อแก้วหู (Eardrum patch): แพทย์จะแปะกระดาษเพื่อปิดรูฉีกขาด ซึ่งอาจต้องทำซ้ำหลายครั้งถึงจะหายสนิท
  • การผ่าตัดปะแก้วหูที่ทะลุ (Tympanoplasty): แพทย์จะนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยมาปิดแก้วหูที่ทะลุ ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล

การรักษาตัวที่บ้าน

  • งดสั่งน้ำมูกเมื่อมีอาการแก้วหูทะลุ
  • งดการทําความสะอาดหูเพราะอาจไปรบกวนและทำให้หายได้ช้า
  • คอยระวังให้ใบหูแห้งอยู่เสมอ เวลาอาบน้ำควรใส่หมวกอาบน้ำหรือที่อุดหูซิลิโคนเพื่อป้องกันน้ำเข้า

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

  • จดอาการที่มี รวมถึงอาการที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับหูหรือการสูญเสียการได้ยิน
  • จดบันทึกว่าเคยมีอาการหูติดเชื้อ ได้รับบาดเจ็บที่หู หรือเดินทางด้วยเครื่องบินเมื่อไม่นานมานี้หรือไม่
  • จดรายการยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่คุณกําลังรับประทาน

คําถามสำหรับถามแพทย์

  • สาเหตุของอาการคืออะไร
  • ทําอย่างไรจะช่วยให้อาการหายเร็วยิ่งขึ้น
  • มีการรักษาแบบใดบ้าง

คําถามที่แพทย์อาจถาม

  • เริ่มมีอาการเมื่อไร
  • ได้ทําความสะอาดหูหรือใส่อะไรเข้าไปในรูหูหรือไม่
  • คุณมีอาการปวดหู หูติดเชื้อ บ้านหมุน หรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะบ้างหรือไม่
  • ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังบ่อยหรือไม่
  • ว่ายน้ำ ดำน้ำ หรือโดยสารเครื่องบินเมื่อเร็ว ๆ นี้บ้างหรือไม่

ขณะที่รอนัดหมายหรือพบแพทย์ ควรดูแลให้ใบหูแห้งอยู่เสมอและไม่ควรซื้อยาหยอดหูมาใช้เอง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 23 ม.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน

    ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน

    • ประสาทวิทยา
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • Link to doctor
    พญ. ฐาปนี สมบูรณ์

    พญ. ฐาปนี สมบูรณ์

    • ประสาทวิทยา
    • โรคลมชัก
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    โรคลมชักและการผ่าตัดโรคลมชัก, โรคความผิดปกติระหว่างการนอนหลับ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. วรการ วิไลชนม์

    นพ. วรการ วิไลชนม์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, เครื่องช่วยหายใจ, วัณโรค