โรคลมชัก - Seizures

โรคลมชัก (Seizures)

โรคลมชัก (Seizures) เกิดจากการรบกวนของกระแสไฟฟ้าในสมองที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ความรู้สึก หรือพฤติกรรมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปโดยอาจรู้หรือไม่รู้ตัวขณะเกิดอาการลมชัก

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


โรคลมชัก

โรคลมชัก (Seizures) เกิดจากการรบกวนของกระแสไฟฟ้าในสมองที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ความรู้สึก หรือพฤติกรรมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปโดยอาจรู้หรือไม่รู้ตัวขณะเกิดอาการลมชัก อาการลมชักมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและบริเวณที่เกิดความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง โดยปกติอาการชักจะกินเวลาตั้งแต่ 30 วินาทีจนถึง 2 นาที หากอาการชักดำเนินไปเป็นเวลานานกว่า 5 นาทีจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน อาการลมชักอาจเกิดขึ้นหลังจากการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือการติดเชื้อ ทั้งนี้อาการลมชักโดยทั่วไปสามารถควบคุมได้ด้วยยา

อาการโรคลมชัก

สัญญาณและอาการชักแตกต่างกันไปตามประเภทและความรุนแรงของโรคโดยคนไข้อาจมีอาการ:

  • การสูญเสียสติและการรับรู้
  • การเคลื่อนไหวของแขนและขากระตุกโดยไม่สามารถควบคุมได้
  • ความสับสนชั่วคราว
  • อาการตาจ้องกว่าปกติ

อาการชักมีสองประเภท: อาการชักเฉพาะที่ และอาการลมชักที่มีผลต่อทุกส่วนของสมอง หรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่าลมบ้าหมู ซึ่ประเภืของลมชักนี้งจำแนกตามพื้นที่ที่เกิดขึ้ยของกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติ และกระบวนการเริ่มต้นของการรบกวนของกระแสไฟฟ้าในสมอง อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการรบกวนดังกล่าว

อาการลมชักเฉพาะที่ (Focal seizures)

อาการชักประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าในสมองทำงานผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อบริเวณใดบริเวณหนึ่งของสมอง ผู้ที่มีอาการชักเฉพาะที่อาจหมดสติหรือไม่ก็ได้

  • อาการลมชักแบบเฉพาะที่พร้อมอาการหมดสติ ผู้ที่มีอาการลมชักลักษณะนี้จะไม่ตอบสนองตามปกติ คนไข้อาจเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ เช่นเดินเป็นวงกลม ใช้มือถูไปมา เคี้ยวหรือกลืน
  • อาการลมชักแบบเฉพาะที่โดยไม่หมดสติ อาการลมชักแบบเฉพาะที่ลักษณะนี้ไม่ทำให้หมดสติ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการชักแบบนี้อาจพบ
    • การเปลี่ยนแปลงของการรับรู้วมถึง กลิ่น รูปลักษณ์ รส ความรู้สึก และเสียง
    • การกระตุกของร่างกายเช่น แขนและขา
    • อาการเหน็บชา
    • เวียนหัว
    • เห็นแสงวาบ

อาการของการชักแบบเฉพาะที่อาจคล้ายคลึงกับความผิดปกติทางระบบประสาทอื่น ๆ เช่น ไมเกรน โรคลมหลับ หรืออาการป่วยทางจิต

อาการลมชักที่มีผลต่อทุกส่วนของสมอง หรือลมบ้าหมู

อาการชักประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าทำงานผิดปกติและส่งผลกระทบต่อทุกพื้นที่ของสมอง อาการลมชักประเภทนี้สามารถแบ่งได้หลายชนิด ได้แก่

  • ลมชักชนิดเหม่อ (Absence seizures) อาการลมชักชนิดเหม่อมักพบในเด็ก อาจทำให้เกิดการสูญเสียการรับรู้ และการเคลื่อนไหวของร่างกายบางอย่าง เช่น การขยับริมฝีปาก หรือกระพริบตา
  • อาการชักแบบชักกระตุกและเกร็ง (Tonic-clonic Seizures) โดยปกติจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งรวมถึง หลัง แขน และขา ซึ่งอาจทำให้ล้มได้
  • อาการชักแบบกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Atonic Seizures) อาการชักชนิดนี้ อาจทำให้สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อและนำไปสู่การหมดสติ และล้มลงอย่างกะทันหัน
  • อาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว (Clonic seizure) อาการชักชนิดนี้มักทำให้เกิดการกระตุกซ้ำ ๆ และเคลื่อนไหวเป็นจังหวะโดยเฉพาะที่คอ ใบหน้า และแขน
  • อาการชักสะดุ้ง (Myoclonic seizures) ผู้ที่มีอาการชักสะดุ้งมักจะมีอาการกระตุกของแขนและขาอย่างกะทันหัน
  • อาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว (Tonic-clonic seizure) อาการชักนี้อาจทำให้ผู้คนไข้มีปัญหามากที่สุดโดยอาจสูญเสียสติ ร่างกายเกิดอาการแข็ง และสั่น กัดลิ้น หรือสูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ

เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์

ควรต้องพบแพทย์ทันทีหากเกิดอาการดังต่อไปนี้

  • เกิดอาการชักเป็นครั้งแรก
  • อาการชักกินเป็นเวลานานกว่า 5 นาที
  • รู้สึกตัวอย่างผืดปกติหรือหายใจผิดปกติหลังจากหยุดชัก
  • เกิดอาการชักขึ้นซ้ำต่อไปหลังจากการชักครั้งแรก
  • มีไข้สูง
  • มีอาการอ่อนเพลียจากความร้อน
  • เกิดอาการลมชักในผู้ที่ตั้งครรภ์
  • เกิดอาการลมชักในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ได้รับบาดเจ็บหลังจากเกิดอาการชัก

สาเหตุของโรคลมชัก

แรงกระตุ้นทางไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นถูกส่งและรับโดยเซลล์ประสาทในสมอง อาการชักเกิดขึ้นเมื่อมีบางอย่างขัดขวางเส้นทางการสื่อสารของแรงกระตุ้นไฟฟ้าเหล่านี้ โรคลมชักเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการชัก อย่างไรก็ตามสาเหตุอื่น ๆ ของอาการชักอาจรวมถึง

  • ไข้สูงจากการติดเชื้อ
  • ขาดการนอนหลับ
  • ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
  • เป็นผลจากยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดและยาต้านโรคซึมเศร้า
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • เนื้องอกในสมอง
  • ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย เช่น โคเคนและยาบ้า
  • ผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การติดเชื้อโควิด -19

ภาวะแทรกซ้อน

อาการชักอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายหลายอย่างเช่น

  • การล้ม
  • การจมน้ำ
  • อุบัติเหตุทางรถยนต์
  • ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์
  • ปัญหาสุขภาพทางอารมณ์

การวินิจฉัยโรคลมชัก

แพทย์อาจทำการทดสอบบางอย่างเพื่อตรวจสอบสาเหตุของอาการชักซึ่งอาจรวมถึง

  • การตรวจระบบประสาท เพื่อค้นหาปัญหาเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท
  • การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ ภาวะทางพันธุกรรม ระดับน้ำตาลในเลือด หรือความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์
  • การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจหาการติดเชื้อที่อาจทำให้เกิดอาการชัก
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง Electroencephalogram (EEG) เพื่อตรวจสอบการทำงานของสมองและคาดการแนวโน้มของการเกิดซ้ำของอาการชัก และเพื่อตอบคำถามว่าการชักนั้นเกิดจากโรคลมบ้าหมูหรือไม่
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เพื่อเปิดเผยความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในสมอง
  • การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) เพื่อตรวจหาร่องรอยของโรคหรือความผิดปกติที่อาจทำให้เกิดอาการชัก
  • การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (PET) เพื่อตรวจสอบบริเวณที่ใช้งานของสมองและตรวจหาความผิดปกติ
  • เทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะภายในร่างกายที่ต้องการตรวจโดยการให้สารเภสัชรังสี  (SPECT) เพื่อติดตามการไหลเวียนของเลือดในสมองที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการชัก

การรักษาโรคลมชัก

แพทย์อาจตัดสินใจเริ่มการรักษากับผู้ที่มีอาการชักหลายครั้ง โดยการรักษาอาจรวมถึง

  • ยาต้านอาการชัก
  • การผ่าตัดและการบำบัดอื่น ๆ
    • ศัลยกรรม เพื่อหยุดการเกิดอาการชักโดยการเอานำสมองส่วนที่ได้รับผลกระทบให้เกิดอาการชักออก
    • กระตุ้นเส้นประสาทวากัส อุปกรณ์จะถูกฝังไว้ใต้ผิวหนังของหน้าอกเพื่อส่งสัญญาณไปยังสมอง
    • การกระตุ้นระบบประสาทที่ตอบสนอง อิเล็กโทรดจะถูกฝังไว้ที่พื้นผิวของสมองหรือภายในเนื้อเยื่อสมองเพื่อหยุดการชัก
    • กระตุ้นสมองส่วนลึก เพื่อควบคุมปริมาณการกระตุ้นที่ถูกผลิตขึ้น
    • การบำบัดด้วยอาหาร แพทย์อาจแนะนำการบำบัดด้วยอาหารเพื่อปรับปรุงการควบคุมอาการชัก

การตั้งครรภ์และอาการชัก

ผู้หญิงที่มีอาการชักที่วางแผนการตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาอาการชักอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยแพทย์อาจเปลี่ยนขนาดของยาก่อนหรือระหว่างตั้งครรภ์

การเตรียมการสำหรับการพบแพทย์

ก่อนการนัดหมายคุณอาจเตรียมตัวให้พร้อมโดย

  • บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอาการชัก
  • ระวังข้อจำกัดก่อนการนัดหมาย
  • รายการข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ
  • รายการยาที่คุณกำลังใช้อยู่
  • คำถามที่อยากถามคุณหมอ

ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูลเช่น

  • รายละเอียดของอาการชักที่เกิดขึ้น
  • ความรู้สึกเมื่อเกิดอาการชัก
  • อาการอื่น ๆ ที่มี
  • ระยะเวลาของการชัก
  • ประวัติของสมาชิกในครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับโรคลมชักหรือโรคลมบ้าหมู
  • บันทึกการเดินทางของคุณโดยเฉพาะการไปต่างประเทศ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคลมชัก

  • โรคลมชัก คืออะไร
    โรคลมชัก เกิดจากการรบกวนของกระแสไฟฟ้าในสมองที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ความรู้สึก หรือพฤติกรรมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปโดยอาจรู้หรือไม่รู้ตัวขณะเกิดอาการลมชัก อาการลมชักมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและบริเวณที่เกิดความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง โดยปกติอาการชักจะกินเวลาตั้งแต่ 30 วินาทีจนถึง 2 นาที
  • โรคลมชักมีอาการอย่างไร
    สัญญาณและอาการชักแตกต่างกันไปตามประเภทและความรุนแรงของโรค โดยอาจมีอาการสูญเสียสติและการรับรู้ การเคลื่อนไหวของแขนและขากระตุกโดยไม่สามารถควบคุมได้ อาการสับสนชั่วคราว อาการตาจ้องกว่าปกติ เป็นต้น
  • สาเหตุของโรคลมชักคืออะไร
    แรงกระตุ้นทางไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นถูกส่งและรับโดยเซลล์ประสาทในสมอง อาการชักเกิดขึ้นเมื่อมีบางอย่างขัดขวางเส้นทางการสื่อสารของแรงกระตุ้นไฟฟ้าเหล่านี้ โรคลมชักเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการชัก
  • รักษาโรคลมชักอย่างไร
    แพทย์อาจตัดสินใจเริ่มการรักษากับผู้ที่มีอาการชักหลายครั้ง โดยการรักษาอาจรวมถึงยาต้านอาการชัก หรือผ่าตัดและการบำบัดอื่น ๆ เช่น ศัลยกรรม เพื่อหยุดการเกิดอาการชัก การกระตุ้นเส้นประสาทวากัส อุปกรณ์จะถูกฝังไว้ใต้ผิวหนังของหน้าอกเพื่อส่งสัญญาณไปยังสมอง การกระตุ้นระบบประสาทที่ตอบสนอง กระตุ้นสมองส่วนลึก การบำบัดด้วยอาหาร เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

แชร์