กลุ่มอาการโจเกรน - Sjogrens syndrome

กลุ่มอาการโจเกรน

กลุ่มอาการโจเกรน เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดอาการตาและปากแห้ง ซึ่งกลุ่มอาการนี้มักมาพร้อมกับความผิดปกติอื่น ๆ ของระบบภูมิคุ้มกัน

แชร์

กลุ่มอาการโจเกรน

กลุ่มอาการโจเกรน เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดอาการตาและปากแห้ง กลุ่มอาการนี้มักมาพร้อมกับความผิดปกติอื่น ๆ ของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคลูปัสและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยอาการตาและปากแห้งเป็นผลมาจากความผิดปกติของการควบคุมน้ำตาและน้ำลาย เป็นผลมาจากเยื่อเมือกและต่อมระบายความชื้นของตาและปากได้รับผลกระทบ ภาวะนี้ส่วนใหญ่มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี โดยมักพบมากในผู้หญิง อย่างไรก็ตามกลุ่มอาการโจเกรนสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของการรักษา คือเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น

อาการ

กลุ่มอาการโจเกรนมีอาการหลัก ๆ 2 ประเภทดังนี้

  • อาการตาแห้ง
    ดวงตาอาจรู้สึกแสบ คัน หรือระคายเคืองคล้ายมีเม็ดทรายอยูาในดวงตา
  • อาการปากแห้ง
    ผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการโจเกรนอาจมีความรู้สึกคล้ายมีสำลีอยู่ในปาก ทำให้อาจมีปัญหาในการกลืนอาหารหรือการพูด

กลุ่มอาการโจเกรนอาจนำไปสู่อาการอื่น ๆ ได้แก่

  • ผิวแห้ง
  • ผื่นที่ผิวหนัง
  • ปวดข้อ รวมถึงอาจมีอาการบวมและตึง
  • ช่องคลอดแห้ง
  • ไอแห้งเรื้อรัง
  • ความเหนื่อยล้าเป็นระยะเวลานาน
  • ต่อมน้ำลายบวมโดยเฉพาะบริเวณหลังขากรรไกรและด้านหน้าใบหู


สาเหตุ

กลุ่มอาการโจเกรน เป็นโรคภูมิต้านทานผิดปกติชนิดหนึ่ง โดยเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกายจะถูกระบบภูมิคุ้มกันทำร้ายโดยไม่ได้ตั้งใจ จากการที่ต่อมผลิตน้ำตาและน้ำลายมักเป็นเป้าหมายแรกของระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอาจได้รับความเสียหายได้เช่นกันเช่น ข้อต่อผิวหนัง ไทรอยด์ ไต ตับ ปอด และเส้นประสาท

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการโจเกรนอาจรวมถึง

  • อายุ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงสูงที่ในการเกิดกลุ่มอาการโจเกรน
  • เพศ กลุ่มอาการโจเกรนมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • โรครูมาติก ผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการโจเกรนมักจะเกี่ยวข้องกับโรครูมาติก หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อ


      ภาวะแทรกซ้อน

      ผลกระทบต่อตาและปากอาตส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆดังต่อไปนี้

      • ปัญหาการมองเห็น
        กลุ่มอาการโจเกรนทำให้เกิดอาการตาแห้งซึ่งอาจนำไปสู่อาการไวต่อแสง ตาพร่ามัว และกระจกตาเสียหายได้
      • การติดเชื้อราในช่องปาก
        เชื้อราในช่องปากมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในผู้ที่มีกลุ่มอาการโจเกรน
      • ฟันผุ
        ปริมาณที่ลดลงของน้ำลาย ทำให้เกิดความแห้งในช่องปาก ซึ่งก่อให้เกิดการลดประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจทำให้มีโอกาสเกิดฟันผุสูงขึ้น

      แม้มีโอกาสน้อย แต่กลุ่มอาการโจเกรนอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ กับอวัยวะดังต่อไปนี้

      • ต่อมน้ำเหลือง
        กลุ่มอาการโจเกรนอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
      • ปอด ไต หรือตับ
        การอักเสบอาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงานของปอด ไต และ อาจก่อให้เกิดอาการตับอักเสบหรือตับแข็งได้
      • เส้นประสาท
        ผู้ที่มีกลุ่มอาการโจเกรนอาจมีอาการชา รู้สึกซ่า และแสบร้อนในมือและเท้า


      การวินิจฉัย

      เนื่องจากอาการและอาการแสดงของกลุ่มอาการโจเกรน มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล จึงอาจก่อให้เกิดความสับสนในการวินิจฉัยได้ ทั้งนี้สัญญาณและอาการของกลุ่มอาการโจเกรน อาจเป็นผลข้างเคียงของยาหลายชนิดได้เช่นกัน

      เพื่อวินิจฉักลุ่มอาการโจเกรนอย่างแม่นยำและถูกต้อง แพทย์อาจทำการทดสอบดังต่อไปนี้

      • การตรวจเลือด
        แพทย์อาจทำการตรวจเลือดเพื่อสืบหา
        • ต้นเหตุของการอักเสบ
        • ระดับของเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ
        • การปรากฏตัวของแอนติบอดีที่มักพบในกลุ่มอาการโจเกรน
        • สัญญาณของปัญหาตับและไต
      •  ตรวจสายตา
         แพทย์อาจทำการทดสอบเพื่อวัดความแห้งของดวงตาและความเสียหายของกระจกตา
      • การทดสอบภาพถ่ายทางการแพทย์
        แพทย์อาจใช้การทดสอบภาพถ่ายทางการแพทย์เพื่อตรวจสอบการทำงานของต่อมน้ำลาย
      • การถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ต่อมน้ำลาย (sialogram)
        การทดสอบเพื่อแสดงปริมาณน้ำลายที่ไหลเข้าสู่ช่องปาก
      • การตรวจสแกนด้วยสารกัมมันตรังสี (scintigraphy)
        การทดสอบเพื่อแสดงความเร็วของยานิวเคลียร์ที่ฉีดเข้าต่อมน้ำลาย
      • การตรวจชิ้นเนื้อ
        การตรวจชิ้นเนื้อริมฝีปากเพื่อแสดงการปรากฏตัวของกลุ่มเซลล์ที่เกิดการอักเสบ


      การรักษาอาการโจเกรน

      การรักษากลุ่มอาการโจเกรน แตกต่างกันตามส่วนของร่างกายที่ได้รับผลกระทบ อาการบางอย่างของกลุ่มอาการโจเกรน อาจบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาหยอดตาหรือจิบน้ำบ่อย ๆ อย่างไรก็ตามคนไข้บางรายอาจต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ เช่น การใช้ยา การผ่าตัด และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตรวมไปถึงการรักษาที่บ้าน

      • การใช้ยา
        แพทย์อาจจ่ายยาบางประเภทเพื่อ
        • เพิ่มการผลิตน้ำลาย
        • ลดการอักเสบของตา
        • เบาเทาภาวะแทรกซ้อน
        • รักษาอาการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
      • การผ่าตัด
        เพื่อบรรเทาอาการตาแห้ง แพทย์อาจแนะนำขั้นตอนการผ่าตัดเพื่อปิดท่อน้ำตาซึ่งระบายน้ำตาออกจากดวงตา


      ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษา

      การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาตัวที่บ้านอาจมีประสิทธิภาพและช่วยบรรเทาอาการของกลุ่มโจเกรนได้

      • เพื่อบรรเทาอาการตาแห้ง
        • ใช้น้ำหล่อลื่นดวงตาหรือน้ำตาเทียม
        • เพิ่มความชื้นในที่พักอาศัย
      • เพื่อบรรเทาอาการปากแห้ง
        • เลิกสูบบุหรี่.
        • ดื่มและทานของเหลวมากขึ้น เช่น น้ำเปล่า และน้ำซุป
        • หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
        • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่เป็นกรด เช่น โคลา และเครื่องดื่มบำรุงกำลังบางชนิด
        • การกระตุ้นให้น้ำลายไหล เช่น เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือลูกอมที่ไม่มีน้ำตาล
        • ลองใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนน้ำลาย
        • ใช้น้ำเกลือพ่นจมูก
        • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนเมื่ออาบน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาผิวแห้ง
        • ใช้ผ้าขนหนูซับผิวแทนการถู
        • ทาครีมบำรุงผิวให้ทั่วทั้งผิวหน้า ลำตัว และช่องคลอด
        • ใช้ถุงมือยางเมื่อทำความสะอาดบ้าน หรือล้างจาน
        • ส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดย การแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ ตรวจฟันทุก 6 เดือน และใช้ผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์

      เตรียมตัวก่อนพบแพทย์

      ก่อนการพบแพทย์คนไข้อาจเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้

      • อาการโดยละเอียด
      • ปัญหาทางการแพทย์ในปัจจุบันและในอดีตทั้งของตัวคุณเองและสมาชิกในครอบครัว
      • รายละเอียดยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่บริโภค
      • คำถามที่อยากถามคุณหมอ
      • คำถามเกี่ยวกับกลุ่มอาการโจเกรน ที่อาจรวมถึง
        • สาเหตุของอาการ
        • การทดสอบที่อาจจะเกิดขึ้น
        • การรักษาที่แนะนำ
        • ระยะเวลาที่อาการจะดีขึ้น
        • ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว
        • สภาวะสุขภาพอื่น ๆ

      ระหว่างการตรวจวินิจฉัยแพทย์อาจถามคำถามดังต่อไปนี้

      • อาการแย่ลงตลอดทั้งวันหรือเฉพาะเมื่อออกกลางแจ้ง
      • ภาวะเรื้อรังของคนไข้ เช่น โรคข้ออักเสบหรือความดันโลหิตสูง
      • ยาที่ใช้
      • ประวัติของสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ลูปัส หรือโรคที่เกี่ยวข้อง

      เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

      แชร์