อาการ สาเหตุ ผลเสียของการนอนไม่หลับ และการตรวจวินิจฉัยการนอนหลับที่ผิดปกติ (Sleep Disorders)- Symptoms, causes, disadvantages and diagnosed

การนอนหลับที่ผิดปกติ (Sleep Disorders)

การนอนเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลา ประมาณ 1 ใน 3 ของชีวิตมนุษย์ เช่นเรามีอายุขัยเฉลี่ย 80 ปี จะให้เวลาไปกับการนอนทั้งหมดรวมกันประมาณ 30 ปีเลยทีเดียว

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


การนอนหลับที่ผิดปกติ

การนอนเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลา ประมาณ 1 ใน 3 ของชีวิตมนุษย์ เช่นเรามีอายุขัยเฉลี่ย 80 ปี จะให้เวลาไปกับการนอนทั้งหมดรวมกันประมาณ 30 ปีเลยทีเดียว

การนอนที่มีคุณภาพหมายความว่าอย่างไร?

การนอนเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลา ประมาณ 1 ใน 3 ของชีวิตมนุษย์ เช่นเรามีอายุขัยเฉลี่ย 80 ปี จะให้เวลาไปกับการนอนทั้งหมดรวมกันประมาณ 30 ปีเลยทีเดียว ดังนั้น การนอนที่มีคุณภาพจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตในช่วงเวลาที่ตื่น การนอนที่ดี ไม่ได้จำกัดเฉพาะจำนวนชั่วโมงนอนต่อวันเท่านั้น การนอนที่ดี ต้องเป็นการนอนที่มีคุณภาพ เพื่อทำให้ในช่วงเวลากลางวัน มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ

จำนวนชั่วโมงสำหรับการนอนที่พอเพียงที่แนะนำ มีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งในเด็กจะมีจำนวนชั่วโมงการนอนที่มากกว่าในผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ โดย The National Sleep Foundation ของสหรัฐอเมริกา แนะนำจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุดังนี้

  • กลุ่มประถมศึกษา อายุ 6-13 ปี แนะนำ 9-10 ชั่วโมง
  • กลุ่มวัยรุ่น อายุ 14-17 ปี แนะนำ 8-10 ชั่วโมง
  • กลุ่มวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 18-25 ปี แนะนำ 7-9 ชั่วโมง
  • วัยผู้ใหญ่ อายุ 26-64 ปี แนะนำ 7-9 ชั่วโมง
  • ผู้สูงอายุ มากกกว่า 64 ปี แนะนำ 7-8 ชั่วโมง

ซึ่งการนอนที่มากกว่าหรือน้อยกว่าจำนวนชั่วโมงที่แนะนำ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ก็ยังนับว่าเป็นจำนวนชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมได้

การนอนที่มีคุณภาพมีความหมายอย่างไร-What is the definition of quality of sleep?

เมื่อนอนไม่มีคุณภาพจะส่งผลเสียอย่างไรได้บ้าง?

เมื่อการนอนไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการนอนไม่พอ จะส่งผลให้เกิดผลเสียได้หลากหลาย เช่น อาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness) อุบัติเหตุจากความง่วง สมาธิไม่ดี คิดช้า ตอบสนองช้า การประมวลผลของสมองไม่มีประสิทธิภาพ ความจำระยะสั้นไม่ดี ผลการเรียนแย่ และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความจำเสื่อมในอนาคตถ้ามีปัญหาการนอนไม่พอเรื้อรัง หิวบ่อย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง เบาหวานที่ควบคุมยาก และนอกจากนี้ยังพบว่าภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง เมื่อนอนไม่พอ นอกจากนี้ การนอนที่มากกว่าจำนวนชั่วโมงที่แนะนำ เป็นจำนวนมากและเรื้อรัง ก็พบว่ามีผลเสียเช่นกัน แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน โดยผลเสียที่พบจากการนอนที่มากเกิน เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง คุมได้ยาก หรือโรคหัวใจขาดเลือดอาการแย่ลง และยังพบว่าอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น เพราะฉะนั้นการนอนที่ไม่มากไปหรือไม่น้อยไป ร่วมกับการนอนที่มีคุณภาพ ในแต่ละช่วงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญ

นอกจากการนอนจะมีผลต่อโรคทางกายต่างๆแล้ว โรคทางกายบางอย่างก็มีอาการแสดง เป็นความผิดปกติของการนอนหลับต่าง ๆ ได้ เช่นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคความเสื่อมของระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน ซึ่งพบว่ามีอาการนอนละเมอผิดปกติ โรคสมองอักเสบบางชนิด (encephalitis) หรือยาบางชนิดที่มีผลต่อการนอนหลับ เป็นต้น

เมื่อนอนไม่พอจะส่งผลเสียอย่างไร- How does poor sleep effect quality of life

อาการเช่นไรบ้าง ที่ควรมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการนอนหลับ?

  1. อาการนอนกรน มีอาการหยุดหายใจขณะนอน (Obstructive sleep apnea)
  2. เมื่อตื่นนอนแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ปวดมึนศีรษะ หรือมีอาการปากแห้งคอแห้งผิดปกติ
  3. อาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงกลางวัน (Excessive daytime sleepiness)
  4. มีอาการนอนละเมอ ขยับแขนขาผิดปกติ หรือออกเสียงในช่วงการนอน (REM sleep behavior disorder, RBD)
  5. มีภาวะพฤติกรรมผิดปกติขณะนอนหลับ (Parasomnias) เช่นลุกเดินจากที่นอนขณะหลับ หรือมีอาการขยับผิดปกติอื่น ๆ หรือสงสัยมีอาการชักขณะนอนหลับ (Nocturnal epilepsy)
  6. มีอาการขากระตุก ทั้งขณะเข้านอนหรือขณะหลับไปแล้ว (Periodic limb movement disorder, PLMS)
  7. มีอาการขาอยู่ไม่สุข ต้องขยับหรือลุกขึ้นเดินในช่วงก่อนเข้านอนหรือช่วงค่ำ (Restless legs syndrome)
  8. มีอาการนอนกัดฟัน (Bruxism)
  9. มีปัญหานอนไม่หลับ (Insomnia)
  10. มีปัญหาการหลับตื่นที่ผิดปกติ (Circadian rhythm sleep wake disorders)
  11. มีปัญหาหลับกะทันหัน ในช่วงเวลากลางวัน (โรคลมหลับ) (Narcolepsy)


การตรวจการนอนหลับ-Diagnosed sleep disorders

การตรวจการนอนหลับทำได้อย่างไรบ้าง?

การตรวจโรคหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เริ่มต้นจากการถามประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินโดยแพทย์ มีการประเมินอาการด้วยแบบสอบถามที่เจาะจงกับอาการ หรือปัญหานั้นๆ และสำหรับการตรวจการนอนหลับหรือโรคที่เกิดจากปัญหาการนอนหลับ โดยเครื่องตรวจการนอนหลับ ที่เป็นมาตรฐานคือ การตรวจ Polysomnography (PSG) ซึ่งประกอบด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography, EEG) การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography, EMG) การประเมินการหายใจ (Respiration) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography, EKG) การประเมินค่าออกซิเจนในเลือด (Oxygen saturation) ซึ่งเป็นการตรวจที่ละเอียด ทำโดยผู้ป่วยมานอนที่ โรงพยาบาล 1-2 คืน เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับที่ได้กล่าวมา นอกจากนี้ ยังมีการตรวจพิเศษอื่นๆ ของอาการง่วงนอนมากผิดปกติ คือ Multiple Sleep Latency Test, MSLT ซึ่งเป็นการตรวจประเมินปัญหาการนอนหลับที่ส่งผลต่ออาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงเวลากลางวัน อีกด้วย

ในปัจจุบัน แนวโน้มการตรวจวินิจฉัยหรือติดตามอาการโรคหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เริ่มที่จะมุ่งเน้นถึงการประเมินอาการที่เกิดขึ้นจริง ที่บ้านของผู้ป่วย เนื่องจากการมาโรงพยาบาล อาจจะไม่ใช่อาการที่เหมือนกับชีวิตประจำวันผู้ป่วยทั้งหมด ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการพัฒนานวัตกรรม การตรวจการนอนหลับที่บ้านของผู้ป่วย ตั้งแต่การใส่อุปกรณ์วัดการนอนที่ข้อมือ (Actigraphy) ซึ่งช่วยบอกเวลาการหลับหรือตื่นได้ เป็นระยะเวลาเป็นสัปดาห์เพื่อติดตาม หรือช่วยคัดกรองปัญหาการนอน อุปกรณ์วัดการเคลื่อนไหวขณะนอน (NIGHT-Recorder) ชนิดติดกับลำตัวผู้ป่วย เพื่อประเมินการเคลื่อนไหวขณะนอนที่บ้านของผู้ป่วย หรือการตรวจการนอนหลับที่บ้าน ซึ่งคล้ายกับ PSG ในโรงพยาบาล เพื่อวินิจฉัยปัญหาโรคการนอนกรนจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน (Obstructive sleep apnea, OSA) เป็นต้น

คำถามที่พบบ่อย

  • คำถาม: การนอนที่มีคุณภาพหมายความว่าอย่างไร
    คำตอบ: การนอนที่มีคุณภาพจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตในช่วงเวลาที่ตื่น การนอนที่ดี ไม่ได้จำกัดเฉพาะจำนวนชั่วโมงนอนต่อวันเท่านั้น การนอนที่ดี ต้องเป็นการนอนที่มีคุณภาพ เพื่อทำให้ในช่วงเวลากลางวัน มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ
  • คำถาม: ควรนอนกี่ชั่วโมงในแต่ละช่วงอายุ
    คำตอบ:
    กลุ่มประถมศึกษา อายุ 6-13 ปี แนะนำ 9-10 ชั่วโมง กลุ่มวัยรุ่น อายุ 14-17 ปี แนะนำ 8-10 ชั่วโมง กลุ่มวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 18-25 ปี แนะนำ 7-9 ชั่วโมง วัยผู้ใหญ่ อายุ 26-64 ปี แนะนำ 7-9 ชั่วโมง ผู้สูงอายุ มากกกว่า 64 ปี แนะนำ 7-8 ชั่วโมง
  • คำถาม: ผลเสียของการนอนหลับไม่มีคุณภาพ คืออะไร
    คำตอบ:
    การนอนไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการนอนไม่พอ จะส่งผลให้เกิดผลเสียได้หลากหลาย เช่น อาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness) อุบัติเหตุจากความง่วง สมาธิไม่ดี คิดช้า ตอบสนองช้า การประมวลผลของสมองไม่มีประสิทธิภาพ ความจำระยะสั้นไม่ดี ผลการเรียนแย่ และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความจำเสื่อมในอนาคตถ้ามีปัญหาการนอนไม่พอเรื้อรัง หิวบ่อย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง เบาหวานที่ควบคุมยาก เป็นต้น
  • คำถาม: อาการนอนหลับแบบไหน ที่ควรมาพบแพทย์
    คำตอบ:
    อาการนอนกรน มีอาการหยุดหายใจขณะนอน ตื่นนอนแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ปวดมึนศีรษะ มีอาการปากแห้งคอแห้งผิดปกติ อาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงกลางวัน อาการนอนละเมอ ขยับแขนขาผิดปกติ อาจมีอาการชักขณะนอนหลับ อาการขากระตุก ขาอยู่ไม่สุข ต้องขยับหรือลุกขึ้นเดินในช่วงก่อนเข้านอนหรือช่วงค่ำ อาการนอนกัดฟัน เป็นต้น

บทความโดย

  • ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน
    ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน แพทย์ผู้ชำนาญการด้านประสาทวิทยา เฉพาะทางโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ และเวชศาสตร์การนอนหลับ

เผยแพร่เมื่อ: 10 ม.ค. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.(พิเศษ)ดร.พญ. อรอนงค์ โพธิ์แก้ววรางกูล

    ผศ.(พิเศษ)ดร.พญ. อรอนงค์ โพธิ์แก้ววรางกูล

    • ประสาทวิทยา
    • โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
    • พาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
    โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ, โรคพาร์กินสัน
  • Link to doctor
    พญ. ยุวดี ทองเชื่อม

    พญ. ยุวดี ทองเชื่อม

    • ประสาทวิทยา
    • โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
    โรคพาร์กินสัน, พาร์กินสัน, การรักษาผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการซับซ้อนด้วยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก และการใช้ยาฉีด, พาร์กินโซนิซึ่ม หรือกลุ่มโรคพาร์กินสันเทียม, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดโบทูลินัมท็อกซินรักษาโรคทางระบบประสาท
  • Link to doctor
    ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน

    ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน

    • ประสาทวิทยา
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • Link to doctor
    นพ. วสันต์ อัครธนวัฒน์

    นพ. วสันต์ อัครธนวัฒน์

    • ประสาทวิทยา
    • ประสาทวิทยา
    โรคระบบประสาท, Interventional Neuroradiology, โรคหลอดเลือดสมอง
  • Link to doctor
    พญ. จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์

    พญ. จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์

    • ประสาทวิทยา
    • ประสาทวิทยา
  • Link to doctor
    พญ. ฐาปนี สมบูรณ์

    พญ. ฐาปนี สมบูรณ์

    • ประสาทวิทยา
    • โรคลมชัก
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    โรคลมชักและการผ่าตัดโรคลมชัก, โรคความผิดปกติระหว่างการนอนหลับ
  • Link to doctor
    นพ. ธนบูรณ์ วรกิจธำรงค์ชัย

    นพ. ธนบูรณ์ วรกิจธำรงค์ชัย

    • ประสาทวิทยา
    • ประสาทวิทยา