ภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาวแตกต่างกันอย่างไร (What’s The Difference Between Myopia and Hyperopia?)

ภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาวแตกต่างกันอย่างไร

เมื่อดวงตาของเราไม่สามารถรวมแสงลงบนจอตา (retina) ได้อย่างเหมาะสมจะส่งผลต่อความสามารถในการมองเห็น ทำให้เกิดปัญหาในการมองใกล้หรือมองไกลหรือที่เราเรียกว่าสายตาสั้นหรือสายตายาว

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาวแตกต่างกันอย่างไร

เมื่อดวงตาของเราไม่สามารถรวมแสงลงบนจอตา (retina) ได้อย่างเหมาะสมจะส่งผลต่อความสามารถในการมองเห็น ทำให้เกิดปัญหาในการมองใกล้หรือมองไกลหรือที่เราเรียกว่าสายตาสั้นหรือสายตายาว ภาวะสายตาที่ผิดปกติทั้ง 2 ประเภทนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์หรือเกิดจากสาเหตุของรูปร่างของลูกตาหรือเลนส์ตาผิดปกติ โดยอาการของภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาวนั้นมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างและสามารถรักษาได้ด้วยการใส่แว่น คอนแทคเลนส์ และการผ่าตัด

ภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาว

ภาวะทางสายตาทั้งสองประเภทเกิดจากการที่ลูกตาหรือเลนส์ตามีรูปร่างขนาดไม่เหมาะสม ทําให้ค่าสายตาผิดปกติ

ภาวะสายตาสั้นคืออะไร

ภาวะสายตาสั้นเป็นผลมาจากรูปร่างของลูกตาที่ยาวกว่าระยะโฟกัสของเลนส์ ดวงตาจะรวมแสงของวัตถุที่อยู่ไกลออกไปลงบนด้านหน้าของจอตา ทำให้เห็นภาพได้ไม่ชัด ผู้ที่มีสายตาสั้นจะสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้หรืออ่านหนังสือในระยะใกล้ได้ แต่จะมีปัญหากับการมองระยะไกล การขับรถ หรือเล่นกีฬา เด็กที่มีพ่อแม่สายตาสั้นมีแนวโน้มที่เกิดภาวะสายตาสั้นด้วยเช่นกัน ภาวะสายตาสั้นในเด็กมักแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปถ้าเด็กไม่ได้ออกไปใช้เวลานอกบ้านอย่างเพียงพอหรือใช้สายตาในการมองเห็นระยะใกล้หรือจ้องมองหน้าจอบ่อย ๆ

โดยสายตาสั้นจะแย่ลงเรื่อย ๆ จนอายุมากกว่า 20 ปีที่ค่าสายตาจะเริ่มนิ่ง อย่างไรก็ตามหากไม่หมั่นรักษาสุขภาพดวงตา ค่าสายตาสั้นอาจเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นได้อีก

ภาวะสายตายาวคืออะไร

ภาวะสายตายาวเกิดจากลักษณะลูกตาที่สั้นกว่าระยะโฟกัสของเลนส์อและกล้ามเนื้อซิลิอารียึดเลนต์ตา (ciliary muscles) อ่อนแรง ภาพของวัตถุที่อยู่ไกลออกไปจะไปรวมแสงอยู่ด้านหลังของจอตา ทำให้ภาพที่ปรากฎนั้นไม่ชัด ผู้ที่มีสายตายาวมักมีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือหรือการทํางานระยะใกล้ ๆ มักมีอาการปวดตา ปวดหัว และเป็นโรคตาขี้เกียจได้ ภาวะสายตายาวมักพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี

อาการสายตาสั้นและภาวะสายตายาว

อาการหลาย ๆ อย่างของภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาวมีความคล้ายคลึงกัน

ภาวะสายตาสั้นอาจทําให้มีอาการดังนี้

  • ตาพร่ามัวเมื่อมองไกล
  • หรี่ตาบ่อย ๆ
  • ดวงตาล้า
  • ปวดหัว
  • มีปัญหาเรื่องการขับรถ

อาการของสายตายาว ได้แก่

  • ตาพร่ามัวเมื่อมองใกล้
  • หรี่ตาบ่อย ๆ
  • ดวงตาล้า
  • ปวดหัว
  • มีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือ
  • ตาเพ่งไม่ได้

ควรพบจักษุแพทย์เมื่อไร

หากเริ่มมีปัญหาเรื่องการมองเห็นหรือมีอาการข้างต้น ควรพบจักษุแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจดวงตาและการรักษาที่เหมาะสม

การรักษาภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาว

การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่

  • การใส่แว่นสายตา
  • การใส่คอนแทคเลนส์

การใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์สามารถช่วยแก้ไขค่าสายตาได้ โดยแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์จะช่วยปรับทิศทางของแสงที่หักเหลงบนจอตา ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจน ภาวะสายตาสั้นรักษาได้โดยการใช้เลนส์ที่มีค่าสายตาเป็นลบ ซึ่งจะไปลดการหักเหของแสงทำให้จุดรวมแสงขยายออก สําหรับภาวะสายตายาว เลนส์ที่มีค่าสายตาเป็นบวกจะไปหักเหแสงให้ลงตรงจุดรวมแสง

การใส่แว่นตาอาจทำให้จมูกเป็นรอยจากแรงกดของแว่น บางรายอาจไม่ชอบหน้าตัวเองเวลาใส่แว่น จึงอาจเลือกใส่คอนแทคเลนส์ที่มีน้ำหนักเบาและดูเป็นธรรมชาติมากกว่า อย่างไรก็ตามคอนแทคเลนส์อาจทําให้เกิดการติดเชื้อที่ตาหรือเกิดปัญหาสายตาอื่น ๆ เช่น รอยแผลเป็นที่กระจกตาหรืออาการตาแห้ง

การรักษาด้วยการผ่าตัด ได้แก่

  • การผ่าตัดตาด้วยการใช้เลเซอร์ เป็นการใช้แสงเลเซอร์เพื่อปรับรูปร่างกระจกตา เพิ่มความสามารถในการโฟกัส ผลของการผ่าตัดนั้นถาวรและไม่จําเป็นต้องใส่หรือคอนแทคเลนส์อีกต่อไป อย่างไรก็ตามเลนส์ตาตามธรรมชาติยังจะปรับเปลี่ยนไปตามวัยและอาจเกิดโรคอื่น ๆ เช่น ภาวะสายตายาวตามอายุได้ การผ่าตัดปรับค่าสายตามีหลายวิธี ได้แก่ การทำPhotorefractive Keratectomy (PRK) การทำ Laser In Situ Keratectomies (LASIK) และการทำ ReLEX (Refractive Lenticule Extraction) แต่การทำเลสิกเป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะเวลาพักฟื้นสั้นและอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่า
  • เลนส์เสริม ICL (Implantable Collamer Lens) เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตามากและมีโรคทางตา เช่น โรคตาแห้งหรือผิวกระจกตาไม่แข็งแรง

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

  1. คำถาม: ภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาว เกิดจากอะไร?
    คำตอบ:
    ภาวะสายตาที่ผิดปกติทั้ง 2 ประเภทนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์หรือเกิดจากสาเหตุของรูปร่างของลูกตาหรือเลนส์ตาผิดปกติ โดยอาการของภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาวนั้นมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างและสามารถรักษาได้ด้วยการใส่แว่น คอนแทคเลนส์ และการผ่าตัด

  2. คำถาม: ภาวะสายตาสั้นมีอาการอย่างไร?
    คำตอบ:
    อาการของผู้ที่สายตาสั้น เช่น ตาพร่ามัวเมื่อมองไกล หรี่ตาบ่อย ๆ ดวงตาล้า ปวดหัว มีปัญหาเรื่องการขับรถ เป็นต้น

  3. คำถาม: ภาวะสายตายาวมีอาการอย่างไร?
    คำตอบ:
    อาการของผู้ที่สายตายาว เช่น ตาพร่ามัวเมื่อมองใกล้ หรี่ตาบ่อย ๆ ดวงตาล้า ปวดหัว มีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือ ตาเพ่งไม่ได้ เป็นต้น

  4. คำถาม: ภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาว รักษาอย่างไร?
    คำตอบ:
    การรักษาภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาว คือ 1. การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่ การใส่แว่นสายตา หรือใส่คอนแทคเลนส์ 2. การรักษาโดยการผ่าตัด ได้แก่ การผ่าตัดตาด้วยการใช้เลเซอร์ และเลนส์เสริม ICL (Implantable Collamer Lens)

ภาวะสายตาสั้นและภาวะสายตายาวแตกต่างกันอย่างไร - Myopia and Hyperopia Infographic   Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 20 มี.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

    พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    • โรคของกระจกตา
    โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดลอกต้อเนื้อโดยไม่เย็บ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
  • Link to doctor
    พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

    พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

    ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

    พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    พญ.   ณัฐรินทร์   ภูษิตโภยไคย

    พญ. ณัฐรินทร์ ภูษิตโภยไคย

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    Ophthalmology, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

    รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
    การผ่าตัดต้อกระจก, ผ่าตัดต้อกระจกหลังทำเลสิก, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ใส่คอนแทคเลนส์, โรคกระจกตาโก่ง, การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสายตาเลือนรางและเทคโนโลยีช่วยการมองเห็น
  • Link to doctor
    รศ. นพ. ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์

    รศ. นพ. ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาโรคต้อหิน
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    การผ่าตัดต้อกระจก, ต้อกระจก, โรคต้อหิน, การผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยที่มีอาการม่านตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

    พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ภาวะสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุตตัน, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

    พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, Ophthalmology, โรคต้อเนื้อ, โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
  • Link to doctor
    พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

    พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ต้อกระจก