ไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

ไทรอยด์เป็นพิษ

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมน triiodothyronine (T3) และ thyroxine (T4) ในเลือดซึ่งเป็นฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้น

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ไทรอยด์เป็นพิษ

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมน triiodothyronine (T3) และ thyroxine (T4) ในเลือดซึ่งเป็นฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้น เกิดอาการต่าง ๆ เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ น้ำหนักตัวลด และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษพบได้น้อย จะพบได้ในผู้หญิงประมาณ 2% และในผู้ชาย 0.2%

อาการไทรอยด์เป็นพิษ

ไม่ว่าภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะอยู่ในระดับไม่รุนแรงหรือปานกลาง จะมีอาการดังนี้

  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การเต้นของหัวใจเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อาการสั่น วิตกกังวล ขี้หงุดหงิด
  • ขี้ร้อน
  • ประจําเดือนมาไม่ตรงเวลา


สาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษ

  • ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป
    ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป เป็นสาเหตุหลักของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือโรคเกรฟส์ (Graves’ disease) นอกจากนี้การมีก้อนเนื้องอกในต่อมไทรอยด์บางชนิดก็อาจทำให้มีการสร้างฮอร์โมนมากเกินไปจนเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้เช่นกัน
  • ภาวะไทรอยด์อักเสบ
    ภาวะไทรอยด์อักเสบ เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์อักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส จนเกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์รั่วเข้าสู่กระแสเลือด หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น ลิเธียม (lithium) และอินเตอร์เฟอรอน (interferon) ปัญหาของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือการคลอดบุตรก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ต่อมไทรอยด์อักเสบได้
  • การรับประทานฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป
    การรับประทานฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปในผู้ที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ ผู้ป่วยอาจเผลอรับประทานมากเกินไปโดยไม่ได้ตั้งใจหรืออาจเป็นจากกรณีแพทย์ให้ใช้ฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อลดการผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) เพื่อป้องกันหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อผิดปกติในต่อมไทรอยด์
  • การบริโภคฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป
    การบริโภคฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปโดยเฉพาะจากการกินเนื้อวัวที่ปนเปื้ยนด้วยเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ของวัว อาการที่เกิดจากการบริโภคดังกล่าวเรียกว่า “ภาวะไทรอยด์อักเสบจากแฮมเบอเกอร์ (hamburger thyroiditis) ซึ่งพบได้ไม่บ่อย


การตรวจวินิจฉัย

  • การตรวจร่างกาย จะดําเนินการเพื่อตรวจสอบว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่
    • ใจสั่น
    • ตาแดง ตาบวม ตาโปน
    • ต่อมไทรอยด์นูน กดเจ็บ หรือโต
    • มือสั่น
    • เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • การตรวจเลือด จะทำเพื่อตรวจสอบระดับฮอร์โมนไทรอยด์ หากผู้ป่วยมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ระดับฮอร์โมน T3 and T4 จะสูง ในขณะที่ค่า TSH จะต่ำ
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพทางการแพทย์
    • การตรวจระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์โดยการวัดค่าดูดซึมสารกัมมันตรังสีไอโอดีน (Radioactive iodine uptake test) เพื่อตรวจสอบว่าต่อมไทรอยด์ดูดซับสารกัมมันตรังสีไอโอดีนมากน้อยเพียงใด การที่ต่อมไทรอยด์ดูดซึมสารกัมมันตรังสีไอโอดีนในปริมาณมากแสดงว่าต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมน T4 มากเกินไป ผู้ป่วยอาจมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์หรือเป็นโรคเกรฟส์ (Graves’ disease) หากต่อมไทรอยด์ดูดซึมสารกัมมันตรังสีไอโอดีนได้น้อย นั่นแสดงว่าฮอร์โมน T4 รั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือด จากภาวะไทรอยด์อักเสบ
    • การถ่ายภาพการจับสารกัมมันตรังสีในส่วนต่าง ๆ ของต่อมไทรอยด์ (Thyroid scan) เพื่อวินิจฉัยแยกโรค เช่น ภาวะการอักเสบ ก้อน คอพอกและมะเร็งต่อมไทรอยด์ แพทย์จะฉีดสารกัมมันตรังสี เข้าไปในเส้นเลือดของผู้ป่วยและสร้างภาพต่อมไทรอยด์ด้วยเครื่องมือวัดรังสีแกมม่า เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย
    • การอัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์ (Thyroid ultrasound) อาศัยการสะท้อนของคลื่นเสียงความถี่สูงจากต่อมไทรอยด์ เพื่อตรวจสอบว่ามีก้อนในต่อมไทรอยด์หรือไม่


    การรักษาไทรอยด์เป็นพิษ

    แพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุของภาวะไทรอยด์เป็นพิษเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

    • ยาต้านไทรอยด์ เช่น methimazole และ propylthiouracil (PTU) ช่วยยับยั้งการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
    • ไอโอดีนกัมมันตรังสี จะทำลายเซลล์ต่อมไทรอยด์ เพื่อลดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์อย่างถาวร อย่างไรก็ตามเซลล์ต่อมไทรอยด์อาจเสียหายมากเกินไป จนนําไปสู่ภาวะพร่องไทรอยด์ ผู้ป่วยอาจต้องทานยาฮอร์โมนไทรอยด์ไปตลอดชีวิต
    • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy) เป็นการผ่าเอาต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ออกเพื่อรักษาภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เช่นเดียวกับการรักษาด้วยไอโอดีนกัมมันตรังสี ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ในระยะยาว ต้องใช้ยาฮอร์โมนไทรอยด์เสริม
    • ยากลุ่ม Beta blockers เพื่อบรรเทาอาการภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อันได้แก่ อาการมือสั่นและหัวใจเต้นเร็ว
    • ฮอร์โมน Glucocorticoids สามารถช่วยลดอาการปวดจากภาวะไทรอยด์อักเสบ


    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไทรอยด์เป็นพิษ

    • อายุ ความเสี่ยงของภาวะไทรอยด์อักเสบเพิ่มขึ้นตามอายุ ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมีความเสี่ยงสูง
    • เพศ เพศหญิงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษมากกว่าเพศชาย
    • โรคประจำตัว โรคแพ้ภูมิตัวเองต่างๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคโลหิตจางเนื่องจากลำไส้ไม่สามารถดูดซึมวิตาบินบี 12 จากการขาดสารชื่อ intrinsic factor จากกระเพาะอาหาร (pernicious anemia) และโรคแอดดิสัน(Addison’s disease)
    • ประวัติครอบครัว เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคไทรอยด์และโรคเกรฟส์ (Graves’ disease)
    • การคลอดบุตร ในรายที่เพิ่งคลอดบุตรอาจทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจนนําไปสู่ภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้


    การป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ

    ภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้นไม่สามารถป้องกันได้ เว้นแต่มีสาเหตุมาจากการรับประทานฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป เมื่อลดการใช้ยา ก็จะหายจากการเกิดภาวะดังกล่าวได้

    • ภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไป (Hyperthyroidism)
    • ภาวะระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายสูง (Thyrotoxicosis)
    • ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤติ (Thyroid storm หรือ thyroid crisis)

    อาการทั้ง 3 อาการนั้นเกี่ยวข้องกับการที่ต่อมไทรอยด์ผลิตและปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป

    • ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินจำเป็น สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคเกรฟส์ (Graves’ disease)
    • ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) เกิดขึ้นเมื่อมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายสูงมากกว่าปกติ จากการใช้ยาฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไป หรือ ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเป็นสาเหตุของโรคที่พบได้บ่อย
    • ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤติ (Thyroid storm หรือ thyroid crisis) เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตและปล่อยฮอร์โมนที่เก็บสำรองไว้ออกมาในปริมาณมากอย่างฉับพลัน เป็นภาวะที่พบได้น้อยแต่อาจรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จำเป็นต้องไปพบแพทย์ทันที อาการของภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤติ ได้แก่
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • มีไข้สูง >40 องศาเซลเซียส
    • ความดันโลหิตสูง
    • ไม่สงบ สับสน
    • ท้องร่วง อาเจียน
    • หมดสติ

    Thyrotoxicosis - Infographic TH

     

    บทความโดย

    เผยแพร่เมื่อ: 25 เม.ย. 2023

    แชร์

    แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมหมวกไต, ความผิดปกติของแคลเซียมและกระดูก, อินซูลินปั๊ม, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, ไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์
  • Link to doctor
    พญ.  ปิยนุช  ปิยสาธิต

    พญ. ปิยนุช ปิยสาธิต

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรกรรมทั่วไป, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคความผิดปกติของต่อมหมวกไต, โรคทางเมแทบอลิก, ความดันโลหิตสูงจากภาวะผิดปกติของต่อมไร้ท่อ, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์, เนื้องอกและมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • Link to doctor
    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    ไทรอยด์ และมะเร็งไทรอยด์
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. วิน ภาคสุข

    นพ. วิน ภาคสุข

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม