- กาแฟ (Coffee) สารสำคัญที่พบในกาแฟ คือ คาเฟอีน (Caffeine) สามารถช่วยชะลอการสะสมของพังผืดในตับในคนไข้ที่มี ภาวะตับอักเสบเรื้อรังที่จะนำไปสู่ภาวะตับแข็งได้
- ชาเขียว (Green tea) สารต้านอนุมูลอิสระ แคทีชิน (Catechin) ซึ่งช่วยลดการสะสมไขมันที่ตับและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่จะนำไปสู่โรคตับอักเสบและตับแข็งได้
- กระเทียม (Garlic)พบสารสำคัญมากมาย โดยเฉพาะ อัลลิซิน (Allicin) ที่มีผลต่อการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ทั้งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และลดการเกิดอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตับ
- เบอร์รี่ (Berries)ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีสารต้านอนุมูลอิสระ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) มีฤทธิ์ลดการสะสมไขมันที่ตับและอาจช่วยลดการอักเสบของตับได้ รวมทั้งยังช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย
- ถั่วเหลือง (Soybeans) สามารถช่วยชะลอโรคตับที่เกิดจากโรคไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจาก “จีนิสทีน (Genistein)” ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบ ช่วยปรับสมดุลของไขมันที่สะสมในตับ ซึ่งอาจลดโอกาสการเกิดภาวะตับคั่งไขมันได้
อ้างอิงจาก:
Wadhawan M, Anand AC. Coffee and Liver Disease. J Clin Exp Hepatol. 2016;6(1):40-46.
Sakata R, Nakamura T, Torimura T, Ueno T, Sata M. Green tea with high-density catechins improves liver function and fat infiltration in non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD) patients: a double-blind placebo-controlled study. Int J Mol Med. 2013;32(5):989-994.
Gwaltney-Brant, Sharon M. "Nutraceuticals in hepatic diseases." Nutraceuticals. Academic Press, 2016. 87-99.