โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger)

โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger)

โรคนิ้วล็อค หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Trigger finger เป็นภาวะที่เกิดจากความไม่สมดุลกันของขนาดเส้นเอ็นในการงอนิ้วมือ กับตัวปลอกเส้นเอ็นเอง กล่าวคือในภาวะปกติขณะที่เราทำการงอ เหยียดนิ้วมือนั้น

แชร์

โรคนิ้วล็อค

ด้วยความตั้งใจจริงและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวิธีการรักษาแบบใหม่ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีอยู่ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้วันนี้สามารถคิดค้นวิธีรักษานิ้วล็อคแบบใหม่ที่เรียกว่าการสะกิดนิ้วล็อคโดยใช้อัลตราซาวด์นำ ทำให้มั่นใจได้เลยว่าผู้ป่วยนิ้วล็อคที่ทำการรักษาจะได้รับความสะดวก ประหยัด แม่นยำ ปลอดภัย ฟื้นตัวไว

โรคนิ้วล็อค หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Trigger finger เป็นภาวะที่เกิดจากความไม่สมดุลกันของขนาดเส้นเอ็นในการงอนิ้วมือ กับตัวปลอกเส้นเอ็นเอง กล่าวคือในภาวะปกติขณะที่เราทำการงอ เหยียดนิ้วมือนั้นเส้นเอ็นก็จะเคลื่อนตัวอยู่ในปลอกเส้นเอ็นซึ่งทำหน้าที่ช่วยให้เส้นเอ็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่เมื่อใดก็ตามถ้าปลอกเส้นเอ็นมีการหนาตัวขึ้น และรัดเส้นเอ็นแน่นขึ้นกว่าปกติจนทำให้เกิดการติดขัดของเส้นเอ็นขณะงอเหยียดนิ้วนั้นเอง

อาการของโรคนิ้วล็อคสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ตามความรุนแรงของโรค คือ ปวด สะดุด ล็อค ยึด โดยในระยะแรกอาจเริ่มต้นจากการอักเสบของปลอกเส้นเอ็น ส่งผลให้มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือด้านฝ่ามือโดยเฉพาะเวลาใช้งาน โดยที่ยังไม่มีอาการล็อค หรือสะดุดร่วม ต่อมาเมื่อตัวโรคดำเนินไปมากขึ้น ปลอกเส้นเอ็นหนาขึ้นจนรบกวนการเคลื่อนที่ของเส้นเอ็น ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มสะดุดเวลางอเหยียดนิ้วมือ จนถึงมีอาการนิ้วล็อค ไม่ว่าจะเป็นงอนิ้วได้ไม่สุด หรืองอแล้วเหยียดไม่ออก ต้องใช้ความพยายามในการเหยียดนิ้ว หรืออาจถึงกับต้องใช้มืออีกข้างมางัดออก ถ้าปล่อยเอาไว้ ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจะทำให้เกิดการยึดติดของตัวข้อนิ้วตามมาด้วย ซึ่งทำให้การรักษายุ่งยากมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดภาวะนิ้วล็อคได้แก่ อายุ และกิจกรรมการใช้งานมือของแต่ละบุคคล กล่าวคือการหนาตัวขึ้นบ้างของปลอกเส้นเอ็นเป็นภาวะปกติของการตอบสนองของเนื้อเยื้อที่ได้รับแรงกระทำซ้ำๆ จากการใช้มือทำกิจกรรมต่างๆ ในชิวิตประจำวันที่สะสมมาในอดีต และปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีภาวะบางอย่างที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนิ้วล็อคได้มากกว่าคนปกติ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรครูมาตอยด์ โรคไทรอยด์ เป็นต้น

การรักษาโรคนิ้วล็อคควรเริ่มต้นจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดซึ่งประกอบด้วย การพักการใช้งานมือ การบริหารที่ถูกต้อง การรับประทานยา การใส่ที่ประคองนิ้ว การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด ความร้อน/เย็น การฝังเข็ม รวมถึงการฉีดยาสเตียรอยด์ ถ้าอาการของโรคยังคงอยู่ หรือกลับมาเป็นซ้ำอีกก็จะพิจารณารักษาโดยวิธีผ่าตัด ซึ่งหลักการผ่าตัดคือการตัดปลอกเส้นเอ็นที่เป็นโรคให้เปิดออก ทำให้เส้นเอ็นสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวกตามเดิม เทคนิคในการผ่าตัดในปัจจุบันแบ่งออกเป็นการผ่าตัดแบบเปิดแผล และการผ่าตัดผ่านผิวหนัง(สะกิดนิ้วล็อค)

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันเครื่องอัลตราซาวด์สำหรับกระดูกและกล้ามเนื้อได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง สามารถประเมินความรุนแรงของโรค และตำแหน่งของปลอกเส้นเอ็นที่เป็นโรคได้อย่างแม่นยำ รวมถึงเนื้อเยื้อสำคัญที่อยู่โดยรอบได้แก่ หลอดเลือด และเส้นประสาท ส่งผลให้สามารถทำการผ่าตัดรักษาโรคนิ้วล็อคแบบผ่านผิวหนังโดยใช้อัลตราซาวด์นำทาง ได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก เนื่องจากสามารถให้การรักษาได้ที่แผนกผู้ป่วยนอก ไม่มีความจำเป็นต้องหยุดยาละลายลิ่มเลือด ใช้เวลาในการรักษา 5 นาทีต่อนิ้ว ส่วนมากไม่ต้องทานยาแก้ปวดหลังการรักษา ไม่มีแผลเปิด ฟื้นตัวได้เร็ว ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำล้างมือได้ปกติหลังจาก 24 ชั่งโมง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 21 ก.ค. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ผศ.พญ. สุมาลี ซื่อธนาพรกุล

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • Link to doctor
    พญ. พิม ตีระจินดา

    พญ. พิม ตีระจินดา

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู, การประเมินภาวะกลืนลำบาก
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. สุทัศน์ ภัทรวรธรรม

    ผศ.นพ. สุทัศน์ ภัทรวรธรรม

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. ศิรประภา ลิ้มประเสริฐ

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • Link to doctor
    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู, การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. ธรรมสรณ์ เจษฎาเชษฐ์

    นพ. ธรรมสรณ์ เจษฎาเชษฐ์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • Link to doctor
    พญ. เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์

    พญ. เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู, กายอุปกรณ์
  • Link to doctor
    นพ. สฤษดิ์พงศ์ แซ่หลี

    นพ. สฤษดิ์พงศ์ แซ่หลี

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • Link to doctor
    นพ. ชนศักดิ์ หทัยอารีย์รักษ์

    นพ. ชนศักดิ์ หทัยอารีย์รักษ์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู, การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยและความผิดปกติของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
  • Link to doctor
    พญ. ไพรินทร์ เลาหสิณณรงค์

    พญ. ไพรินทร์ เลาหสิณณรงค์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู