What Is Cardiomegaly Banner 1.jpg

โรคหัวใจโตคืออะไร

ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือยืดออกจนหัวใจมีขนาดโตผิดปกติ สูบฉีดเลือดได้ลำบากขึ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวร โรคหัวใจโตสามารถควบคุมดูแลได้

แชร์

โรคหัวใจโต คือภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือยืดออกจนหัวใจมีขนาดโตผิดปกติ สูบฉีดเลือดได้ลำบากขึ้น ภาวะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวร อย่างไรก็ตามโรคหัวใจโตสามารถควบคุมดูแลได้และผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพต่อไปได้

อาการ
โรคหัวใจโตอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการดังต่อไปนี้   

  • เหนื่อยล้าและวิงเวียนศีรษะ
  • ใจสั่น
  • หายใจไม่ทัน
  • มีอาการบวมน้ำในช่องท้อง ขา และเท้า

ผู้ป่วยโรคหัวใจโตจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจล้มเหลวสูงกว่าคนทั่วไป

สาเหตุ
เวลาที่คนเราออกกําลังกาย กล้ามเนื้อจะใหญ่ขึ้น เช่นเดียวกับหัวใจ เมื่อหัวใจต้องทํางานหนักมากขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจก็จะขยายใหญ่และเหยียดตัวขึ้นได้เช่นกัน โดยโรคที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นจนหัวใจโต ได้แก่

  1. เส้นเลือดหัวใจ
  2. ความดันโลหิตสูง
  3. โรคลิ้นหัวใจ
  4. กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
  5. โรคหัวใจพิการแต่กําเนิด
  6. ยาและแอลกอฮอล์
  7. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ปัจจัยเสี่ยง

  • การใช้ชีวิตแบบเนือยนิ่ง
  • ผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจวายหรือหัวใจโต
  • ความดันโลหิตสูง
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

การตรวจวินิจฉัย
แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการ โรคประจำตัว และประวัติทางการแพทย์ของคนในครอบครัว และอาจสั่งให้ทำการตรวจวินิจฉัยดังต่อไปนี้

  1. เอกซเรย์ทรวงอกสําหรับตรวจประเมินปอดและสภาพหัวใจ
  2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อตรวจสอบกระแสไฟฟ้าของหัวใจ
  3. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อประเมินลักษณะทางกายภาพของหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจและการไหลเวียนของเลือด
  4. การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพื่อบันทึกวิดีโอของสภาพหัวใจและการไหลเวียนของเลือด
  5. การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อสร้างภาพหัวใจโดยละเอียด

การรักษา
แพทย์จะทำการวินิจฉัยสาเหตุของโรคหัวใจโตและทำการรักษาด้วยการรับประทานยา ฝังอุปกรณ์ หรือผ่าตัดรักษา

ยาสำหรับโรคหัวใจโต

  1. ยาขับปัสสาวะ
  2. ยากลุ่ม Beta-Blockers เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจและระดับความดันโลหิต
  3. ยาลดความดันโลหิตหรือยาขยายหลอดเลือด
  4. ยารักษาเบาหวานบางกลุ่ม โดยที่ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเบาหวาน

การผ่าตัด

  1. การแก้ไขหลอดเลือดที่อุดตัน
  2. การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม
  3. การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ ICD
  4. การจี้ไฟฟ้าหัวใจ

การป้องกัน
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจโตควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรค การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตก็สามารถช่วยป้องกันโรคได้เช่นกัน

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกําลังกายเป็นประจํา อย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
  • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ
  • เลิกสูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติด

ภาวะแทรกซ้อน
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจโตมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการทางโรคหัวใจดังนี้

  • ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หากหัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไปเนื่องจากโรคหัวใจโต
  • เสียงฟู่ของหัวใจ หากการทำงานของลิ้นหัวใจบกพร่อง
  • หัวใจล้มเหลวหากมีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโต
  • หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากกาวะลิ่มเลือดอุดตัน

สถานการณ์ฉุกเฉิน
โดยปกติแล้วโรคหัวใจโตไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ แต่ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์

  • เจ็บหน้าอก
  • รู้สึกชาหรือปวดกราม คอ แขน และหลัง
  • หายใจไม่ทัน
  • เป็นลมหมดสติ

โรคหัวใจโตทั้งแบบชั่วคราวและถาวรสามารถควบคุมได้ด้วยการรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี การดูแลสุขภาพและหมั่นขยับเคลื่อนไหวร่างกายช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจโตได้

บทความโดย

  • MedPark Hospital Logo
    นพ. วุฒิพงศ์ วุฒิพฤกษ์ อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ชำนาญการด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด

เผยแพร่เมื่อ: 19 ต.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคความดันโลหิตสูง, โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรง , การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณแขนขาตีบ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหัวใจและหลอดเลือด, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจล้มเหลว การวินิจฉัย การรักษาและการป้องกัน, การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด, โรคหัวใจแต่กำเนิด, การใช้อัลตราซาวน์ในเส้นเลือดหัวใจเพื่อช่วยการวินิจฉัยและรักษา, การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวด, การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน, การรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันโดยการใส่สายสวน, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน
  • Link to doctor
    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์หัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด