คลินิกเต้านม
เต้านม เป็นอวัยวะที่มีโครงสร้างซับซ้อน และมีความสำคัญไม่น้อยกว่าอวัยวะส่วนอื่น โครงสร้างภายในเต้านมประกอบไปด้วย ต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมรวมกันเป็นพูนมประมาณ 15-20 พู เรียงตัวตามแนวรัศมีออกจากหัวนม โดยมีท่อน้ำหลักของแต่ละพูนมมาเปิดบริเวณหัวนม โดยมีท่อน้ำนม ทำหน้าที่ส่งน้ำนมที่ผลิตจากต่อมน้ำนมออกมาให้ทารกดื่มกิน มีไขมันและเนื้อเยื่อพังผืดแทรกอยู่ตรงกลางระหว่างต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม และกล้ามเนื้อผนังหน้าอกทำหน้าที่พยุงตัว โดยมีชั้นเนื้อเยื่อเส้นใยยึดโยงเต้านมกับเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อผนังหน้าอกดังกล่าว
ปัจจุบันมีการตรวจพบความผิดปกติของเต้านมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดย “มะเร็งเต้านม” กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุดในกลุ่มผู้หญิงไทยที่ป่วยเป็นมะเร็ง สถิติจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี พ.ศ. 2565 มีหญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึง 38,559 ราย พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2566 อีกราย 18,000 คนต่อปี และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมในไทยประมาณ 4,800 คน หรือเฉลี่ย 13 คนต่อวัน
การตรวจเต้านมด้วยตนเองตั้งแต่อายุ 20 ปีเป็นประจำ และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมปีละครั้งเมื่อมีอายุ 35 ปีขึ้นไป จะช่วยให้สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม และการรักษาได้ผลดีมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า การตรวจพบก้อนเนื้อมีขนาดน้อยกว่า 2 เซนติเมตร และเข้ารับการรักษาทันท่วงที จะมีอัตราการรอดชีวิตสูงถึง 95-99%
คลินิกเต้านม โรงพยาบาลเมดพาร์ค ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและรักษาเต้านม จึงพร้อมบริการครอบคลุมทั้งในการป้องกันและรักษาความผิดปกติของเต้านมทุกกรณี เช่น คลำเจอก้อนที่เต้านม เจ็บเต้านม ถุงน้ำที่เต้านม เต้านมอักเสบ เนื้องอกที่เต้านม ฯลฯ ด้วยทีมบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความชำนาญเฉพาะทางด้านการดูแลรักษาเต้านม สามารถดูแลคนไข้ได้ทั้งสุขภาพกายและจิตใจ มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีความพร้อม ช่วยให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติอย่างมีคุณภาพ และมีรูปลักษณ์ที่น่าพึงพอใจ เรียกคืนความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง
ทำไมต้องคลินิกเต้านม ที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค
- ทีมแพทย์ของคลินิกเต้านม มีความชำนาญและประสบการณ์ในการรักษาโรคและความผิดปกติของเต้านม ทั้งการผ่าตัด การใช้ยา การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด รวมถึงการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการจัดการเซลล์ผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิทัลที่ช่วยให้ตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ การฉายรังสีเฉพาะจุดที่ช่วยลดผลกระทบต่ออวัยวะหรือเนื้อเยื่อใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
- มีความพร้อมในการดูแลและรับมือกับอาการข้างเคียงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนการรักษาที่มีความยากและซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องทุกสาขา เช่น การตรวจหาการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งโดยตรวจต่อมน้ำเหลืองทั้งต่อม การรักษามะเร็งดื้อยาโดยการตรวจระดับยีนเพื่อหาวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด รวมถึงการทำ Super Micro Surgery เช่น การผ่าตัดต่อท่อน้ำเหลืองเข้ากับเส้นเลือดดำ เพื่อรักษาคนไข้ที่แขนบวมหลังจากการผ่าตัดมะเร็งเต้านม เป็นต้น
- มีแนวทางการป้องกันและรักษามะเร็งเต้านมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตตามปกติกับครอบครัวได้ยืนยาวขึ้น เช่น การผ่าตัดเต้านมเพื่อป้องกันมะเร็งในผู้ป่วยที่พบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม การเจาะตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้ออย่างแม่นยำเพื่อออกแบบแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับระยะและอาการ การผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ การเลือกใช้ยาเคมีบำบัดและยามุ่งเป้าที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย การฉายรังสีเฉพาะจุด เป็นต้น
- ให้ความสำคัญในการดูแลคนไข้แบบองค์รวม ไม่ใช่แค่เพียงดูแลสุขภาพร่างกายให้หายจากโรคเท่านั้น แต่ยังใส่ใจสุขภาพจิตใจของคนไข้ ให้มีความมั่นใจในรูปร่างและรูปลักษณ์หลังจบการรักษา เช่น การเสริมสร้างเต้านมทดแทนส่วนที่มีการผ่าตัด ช่วยให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตประจำวันในสังคมและครอบครัวได้อย่างมีความสุข
- สนับสนุนให้แพทย์และบุคลากรทุกคนหาความรู้เพิ่มเติมและทำงานวิจัย เพื่อยกระดับการบริการและการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้คนไข้มีทางเลือกในการรักษาที่มีศักยภาพ มีความหลากหลาย ตลอดจนมีความจำเพาะเจาะจงตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคล
โรคและภาวะผิดปกติ
- ถุงน้ำในเต้านม หรือซีสต์ที่เต้านม
- เนื้องอกที่เต้านมชนิดไม่รุนแรง
- เต้านมอักเสบ
- ท่อน้ำนมโป่งพอง
- มีของเหลวไหลจากหัวนม
- มะเร็งเต้านม
บริการตรวจวินิจฉัยและหัตถการ
- ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์ (Digital Mammogram with Ultrasound) สำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป และผู้มีภาวะเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เคยเป็นเนื้องอกเต้านม มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง มีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปีหรือยังไม่มีบุตร ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิงหรือผู้ที่รับยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน ผู้ที่เคยได้รับการฉายรังสีบริเวณทรวงอกจากโรคอื่น เป็นต้น
- ให้คำปรึกษาและตรวจความผิดปกติ เมื่อคลำเจอก้อนบริเวณเต้านม เช่น พบก้อนที่เต้านม รูปร่างและขนาดของเต้านมเปลี่ยนไป เป็นต้น
- ให้คำปรึกษาหลังพบความผิดปกติของผิวหนังบริเวณเต้านม เช่น ผิวหนังมีผื่น แผล หรือมีลักษณะคล้ายผิวส้ม มีติ่งเนื้อบริเวณเต้านม เต้านมมีขนาดไม่เท่ากัน มีอาการปวดบวมแดงบริเวณเต้านม เป็นต้น
- ให้คำปรึกษาเมื่อพบว่ามีของเหลวลักษณะผิดปกติไหลออกมาจากหัวนม เช่น น้ำใส เลือด น้ำเหลือง น้ำเหลืองปนเลือด เป็นต้น
ความชำนาญพิเศษ
- ศัลยกรรมเต้านม เป็นการผ่าตัดเต้านมทั้งในกลุ่มโรคไม่ร้ายแรง เช่น การผ่าตัดก้อนเต้านมออก การผ่าตัดเต้านมแบบแผลเล็ก หรือกลุ่มโรคมะเร็ง เช่น การผ่าตัดสงวนเต้านม การผ่าตัดส่องกล้องตัดเต้านม พร้อมเสริมสร้างเต้านมใหม่ การตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล การตรวจต่อมน้ำเหลืองเฉพาะจุด การตัดเต้านมออกทั้งเต้า เป็นต้น ซึ่งการรักษาด้วยวิธีข้างต้นจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
- ศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้าง เป็นการผ่าตัดส่องกล้องตัดเต้านม พร้อมเสริมสร้างเต้านมใหม่ เพื่อเสริมสร้างเต้านมใหม่ให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ผ่าตัดเต้านมออกไป แล้วศัลยแพทย์จะสร้างรูปทรงของเต้านมออกมาใหม่ ให้มีรูปลักษณ์ใกล้เคียงกับเต้านมเดิมก่อนผ่าตัดมะเร็ง
โดยการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมทำได้หลายวิธี เช่น การสร้างเต้านมใหม่พร้อมกับการผ่าตัดเอาเต้านมออกไปทันที หรือการผ่าตัดเสริมเต้านมภายหลังจากการรักษาโรคมะเร็งเต้านมเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งอาจจะมีระยะเวลาหลังจากจบการรักษาไปแล้วหลายปีก็สามารถทำได้ ซึ่งศัลยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยแต่ละคนเหมาะที่จะรักษาด้วยเทคนิคใด