การสวนหัวใจและหลอดเลือด

ชั้น 8 เคาน์เตอร์ D (WEST Lift)

โทร. 02-090-3104

8:00 - 20:00 น.

การสวนหัวใจและหลอดเลือด (Interventional Cardiology)

หลอดเลือดและหัวใจ เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นหนึ่งในวงจรการลำเลียงเลือด และสารอาหารอื่น ๆ จากหัวใจไหลผ่านหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนทั่วร่างกาย ก่อนจะไหลกลับมาสู่หัวใจอีกครั้งผ่านทางหลอดเลือดดำ แต่ถ้าหากเส้นเลือดหัวใจเกิดการตีบหรืออุดตันจากการสะสมของหินปูน คราบไขมัน โปรตีน หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในผนังหลอดเลือดแดงชั้นใน จะส่งผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น หรือถ้าเส้นเลือดมีการตีบตันรุนแรงในระดับที่เลือดไม่สามารถไหลเข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ก็จะนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และเสียชีวิตได้

จากการรายงานของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2565 มีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด สูงถึง 7 หมื่นราย หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และยังมีแนวโน้มว่าตัวเลขจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

ดังนั้น หากคนไข้มีสัญญาณของภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตันต่าง ๆ เช่น เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อยง่ายผิดปกติ นอนราบไม่ได้ หมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น หนึ่งในแพทย์ที่ทำหน้าที่ตรวจ ประเมิน วินิจฉัย และรักษาได้ทันท่วงทีภายในช่วงเวลาทอง โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก คือ แพทย์เฉพาะทางด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีชื่อเรียกในกลุ่มแพทย์หัวใจว่า  “ช่างประปาหัวใจ” หรือ “นักมัณฑนากรหัวใจ” ทำหน้าที่หลักในการค้นหาจุดที่มีการตีบหรืออุดตันภายในเส้นเลือด แล้วจัดการกำจัดอุปสรรคที่กีดขวางการไหลเวียนเลือดด้วยเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงทำการตกแต่งเส้นทางภายในผนังหลอดเลือดชั้นใน เพื่อเปิดทางให้เลือดไหลเวียนเข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง

นอกจากนี้ เทคนิคการรักษาด้วยวิธีสวนหัวใจและหลอดเลือด ยังสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสวนหัวใจและหลอดเลือด คืออะไร?

การสวนหัวใจและหลอดเลือด เป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถตรวจ วินิจฉัย และรักษาภาวะความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด ทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง ด้วยการสอดสายสวนและอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปยังหลอดเลือดจุดที่ตีบหรือตัน เพื่อรักษาภาวะผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

การตรวจประเมินและทำหัตถการผ่านสายสวนมีการรุกล้ำร่างกายน้อยมาก มีเพียงแผลขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร บริเวณข้อมือ หรือขาหนีบ ซึ่งเป็นจุดที่แพทย์สอดสายสวนและอุปกรณ์รักษาต่าง ๆ เข้าไปในเส้นเลือดแดง เป็นการรักษาที่ใช้เวลาในการทำหัตถการประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง ให้ผลลัพธ์ที่ดี มีระยะพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้น เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ คนไข้สามารถกลับไปทำกิจกรรม หรือใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัดชนิดอื่น

ทำไมควรเลือกรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด ที่เมดพาร์ค

  • แพทย์เฉพาะทางด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือดของเมดพาร์ค มีทักษะและประสบการณ์ในการรักษาโรคและความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดระดับอาจารย์แพทย์ สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบบางส่วน โรคหลอดเลือดหัวใจตัน 100% โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบและตัน ซึ่งเป็นโรคที่มีความยากและซับซ้อนสูง ต้องอาศัยความแม่นยำ และละเอียดรอบคอบในการรักษาภายในเวลาจำกัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทำงานเป็นทีมร่วมกับแพทย์เฉพาะทางสาขาที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก นักรังสีการแพทย์ และสหวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการร่วมรักษาด้วยการสวนหัวใจและหลอดเลือด บุคลากรที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระหว่างการทำหัตถการ รวมถึงช่วยให้คนไข้สามารถฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เร็วขึ้น
  • โรงพยาบาลเมดพาร์ค มีความพร้อมในการรักษาคนไข้โรคหัวใจและหลอดเลือดในทุกสถานการณ์ มีห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cath Lab) ที่มีเทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาของแพทย์เฉพาะทางด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือดให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น หากมีความจำเป็นต้องทำหัตถการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ก็สามารถเลือกทำการรักษาภายในห้องผ่าตัดไฮบริด (Hybrid OR) ซึ่งมีเทคโนโลยีการฉายภาพทางรังสีแบบ 2 ระนาบ สามารถเห็นภาพอวัยวะและหลอดเลือดต่าง ๆ ในขณะทำหัตถการได้อย่างคมชัด ช่วยให้แพทย์เฉพาะทางด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือดทำการสวนหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดส่วนอื่น ๆ ร่วมกับศัลยแพทย์โรคทรวงอกและหลอดเลือด เพื่อทำการผ่าตัดด้วยเทคนิคขั้นสูงได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความแม่นยำในการสวนหัวใจและหลอดเลือด ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างผ่าตัดได้ดี

โรคและภาวะผิดปกติ ที่รักษาได้ด้วยการสวนหัวใจและหลอดเลือด

  • กลุ่มโรคหัวใจพิการ หรือหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด เช่น 
    • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
    • การเชื่อมกันระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ
    • รูรั่วระหว่างผนังกั้นหัวใจห้องล่าง
  • โรคลิ้นหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน
  • โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบหรือตัน
  • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เช่น หลอดเลือดแดงเลี้ยงไต หลอดเลือดแดงเลี้ยงขา เป็นต้น
  • ภาวะหลอดเลือดแข็ง
  • ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

สัญญาณผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด

  • แน่นหน้าอก โดยเฉพาะขณะออกแรง หรือออกกำลังกาย
  • หอบ หรือเหนื่อยง่าย ส่งผลให้ทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลง
  • หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม นอนราบไม่ได้
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
  • เป็นลมหมดสติ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • แขน ขา เท้าบวม
  • ปวดจุกบริเวณลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน
  • ปวดร้าวบริเวณกราม แขนซ้าย แขนขวา หรือปวดข้ามไปด้านหลัง

ใครที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการเหล่านี้?

ปัจจุบัน มีแนวโน้มพบคนไข้โรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีอายุน้อยลงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงบอกได้ว่า ช่วงวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงไม่ใช่แค่ เพศชาย อายุ 35 ปีขึ้นไป หรือเพศหญิง อายุ 45 ปีขึ้นไปอีกต่อไป ยิ่งถ้าหากมีไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น รับประทานอาหารไขมันสูง มีภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ หรือมีความเสี่ยงของโรคในกลุ่ม NCDs ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้นอีก

ดังนั้น หากพบสัญญาณผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อตรวจประเมินด้วยวิธีที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด หรือถ้าหากคนในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคหัวใจ ยิ่งจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพกับแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดี

บริการตรวจวินิจฉัย

การตรวจประเมินหลอดเลือดและหัวใจชนิดไม่รุกล้ำร่างกาย คือ ไม่มีการทำหัตถการที่มีการเปิดผิวหนัง ไม่ทำให้เกิดแผล และไม่สอดใส่อุปกรณ์ใด ๆ เข้าไปภายในร่างกาย มีหลายวิธี แตกต่างกันไปตามภาวะของโรคและการพิจารณาของแพทย์ ดังนี้

การตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด

การตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด เป็นการตรวจหลอดเลือดหัวใจชนิดที่มีการรุกล้ำร่างกาย โดยแพทย์จะทำการสอดท่อเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร เข้าไปในเส้นเลือดแดงบริเวณข้อมือ หรือขาหนีบ ก่อนจะฉีดสารทึบรังสีเข้าไปยังเส้นเลือดหัวใจ พร้อมทำการเอกซเรย์ เพื่อตรวจประเมินว่าเส้นเลือดหัวใจจุดใดมีการตีบหรือตันรุนแรงในระดับใด รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดมีประโยชน์ต่

การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดได้หลายวิธี เช่น

  • การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน ด้วยการทำบอลลูนหรือใส่ขดลวด
  • การขยายลิ้นหัวใจไมทรัลด้วยการทำบอลลูน
  • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนหัวใจ
  • การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่น การอุดรอยรั่วของผนังกั้นห้องหัวใจ การอุดรอยรั่วของเส้นเลือดแดงเกินผิดปกติของปอดและหัวใจ เป็นต้น
  • การขยายหลอดเลือดส่วนปลายที่มีการตีบหรือตัน
  • การสลายหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยคลื่นกระแทก  ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่แรกในประเทศไทย ที่รักษาภาวะหินปูนในหลอดเลือดหัวใจได้ผลสำเร็็จ

ปกติแล้วแพทย์เฉพาะทางด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด จะทำหัตถการภายใน ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ (Cath Lab) ซึ่งมีเทคโนโลยีและเครื่องมือแพทย์ พร้อมสำหรับการรักษาด้วยเทคนิคนี้โดยเฉพาะ

แต่ถ้าหากแพทย์พิจารณาแล้วว่าหัตถการนั้น ๆ มีความจำเป็นต้องรักษาร่วมกันหลายเทคนิค หรือมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนการรักษาจากการสวนหัวใจเป็นการผ่าตัดแบบอื่น แพทย์จะเลือกทำหัตถการภายใน ห้องผ่าตัดไฮบริด (Hybrid OR) ซึ่งมีความพร้อมมากกว่า สามารถปรับเปลี่ยนการทำหัตถการได้ทันทีโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายคนไข้จากห้องปฏิบัติการสวนหัวใจไปยังห้องผ่าตัดอื่น รวมถึงยังสามารถทำการรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง เช่น ศัลยแพทย์ทรวงอกและหลอดเลือด และบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากได้อย่างคล่องตัว สามารถลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนย้ายคนไข้ และช่วยให้คนไข้ได้รับการรักษาที่มีความต่อเนื่องได้ทันท่วงที

อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ ที่ใช้ในการสวนหัวใจและหลอดเลือด

มีด้วยกันหลายชนิด แตกต่างไปตามลักษณะของโรค และแนวทางการรักษาของแพทย์ เช่น 

  • สายสวนหัวใจ 
  • บอลลูน 
  • ขดลวดขนาดต่าง ๆ 
  • หัวกรอหินปูน
  • เทคโนโลยีการมองภาพภายในหลอดเลือด

อุปสรรคและข้อจำกัดในการสวนหัวใจและหลอดเลือด

  • เส้นเลือดมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถสอดสายสวนได้
  • เส้นเลือดบริเวณข้อมือหรือขาหนีบ อุดตัน 100% ต้องเปลี่ยนไปสอดสายสวนจากเส้นเลือดแดงในจุดอื่น เช่น ข้อพับแขน เส้นเลือดแดงคอ เป็นต้น
  • เส้นเลือดแข็ง ทำให้ไม่สามารถสอดสายสวนได้
  • คนไข้ภาวะสมองเสื่อมที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อาจมีการขยับร่างกาย หรือไม่ทำตามคำแนะนำของแพทย์ในขณะทำหัตถการ 
  • คนไข้มีค่าไตสูง หรือมีประวัติแพ้อาหารทะเล ซึ่งอาจมีผลกระทบในขั้นตอนการฉีดสารทึบรังสี ที่เป็นสารไอโอดีน

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้จากการสวนหัวใจและหลอดเลือด

การสวนหัวใจและหลอดเลือด เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ราว 2% และมีอัตราการเสียชีวิตเพียง 0.01% เท่านั้น โดยอาการแทรกซ้อนที่อาจพบได้ คือ

  • แพ้สารทึบรังสี
  • ปวด หรือบวมบริเวณจุดสอดสายสวน
  • มีเลือดไหลซึมบริเวณจุดสอดสายสวน
  • ติดเชื้อบริเวณแผลสอดสายสวน
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ
  • เกิดลิ่มเลือดอุดตันในสมอง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดสวนหัวใจ

  • มีโอกาสเสียชีวิตจากการรักษาด้วยการสอดสายสวนหัวใจหรือไม่?
    มีโอกาส แต่พบอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากการรักษาชนิดนี้เพียง 0.01% เท่านั้น
  • อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ตรวจประเมินสุขภาพหัวใจ มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่?
    ปัจจุบัน มีแนวโน้มพบโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มคนอายุน้อยลง หากพบสัญญาณผิดปกติ ควรรีบไปโรงพยาบาลและเข้ารับการตรวจประเมินโรคหัวใจโดยเร็วที่สุด
  • คนทั่วไปสามารถเฝ้าระวังความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้หรือไม่?
    ได้ ด้วยการเช็กสุขภาพพื้นฐานเป็นประจำ เช่น วัดความดัน ตรวจไขมัน ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดตามคำแนะนำของแพทย์
  • การรักษาด้วยการสวนหัวใจและหลอดเลือด ต้องดมยาสลบหรือไม่?
    ไม่ต้อง แพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่ใส่สายสวนเท่านั้น ยกเว้นคนไข้ที่ไม่สามารถสื่อสารกับแพทย์ได้ เช่น คนไข้ภาวะสมองเสื่อม แพทย์จะพิจารณาให้ดมยาสลบเป็นราย ๆ ไป

เผยแพร่เมื่อ: 23 เม.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน, การรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันโดยการใส่สายสวน, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน
  • Link to doctor
    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหัวใจและหลอดเลือด, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์หัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจล้มเหลว การวินิจฉัย การรักษาและการป้องกัน, การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด, โรคหัวใจแต่กำเนิด, การใช้อัลตราซาวน์ในเส้นเลือดหัวใจเพื่อช่วยการวินิจฉัยและรักษา, การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวด, การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน
  • Link to doctor
    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคความดันโลหิตสูง, โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรง , การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณแขนขาตีบ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
  • Link to doctor
    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด