ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
“กระดูก” เป็นอวัยวะที่มีความแข็งแรงมาก โดยกระดูกทุกชิ้นและทุกข้อต่างทำหน้าที่เป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย ช่วยปกป้องอวัยวะภายในจากอันตรายต่าง ๆ เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุ และผลิตเม็ดเลือดทุกชนิด เนื่องจากกระดูกมีความสำคัญมาก จึงเป็นเหตุผลที่เราควรเอาใจใส่ดูแลกระดูกและข้อให้ดี เพื่อให้มวลกระดูกและข้อต่อทุกชิ้น มีความแข็งแรง ไม่เสื่อมสลาย หรือเปราะบางก่อนวัย
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aged Society) โดยสมบูรณ์แบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จึงมีแนวโน้มของผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคกระดูกและข้อ โดยเฉพาะ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อสะโพกเสื่อม โรคกระดูกพรุน ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เช่นเดียวกับการเข้ารับการรักษาโรคกระดูกและข้อในคนไข้ทุกกลุ่มอายุก็ยังคงพบเห็นได้เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือพบความผิดปกติของกระดูก ข้อ เนื้อเยื่ออ่อน กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท จากกิจกรรมประจำวัน พฤติกรรมการใช้ชีวิต การเสื่อมสภาพตามวัย หรือมีความผิดปกติแต่กำเนิด
ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเมดพาร์ค เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลรักษากระดูกและข้อในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย จึงเกิดการรวมตัวกันของศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ ที่มีประสบการณ์ในการรักษาภาวะความผิดปกติ ทั้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด ความเสื่อมตามช่วงวัย ความเจ็บป่วยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูดูแลอย่างใกล้ชิด โดยศัลยแพทย์และทีมสหวิชาชีพ ที่มีประสบการณ์สูง เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ
ดังนั้น หากพบความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ควรเลือกเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อที่มีประสบการณ์สูง มีศักยภาพในการวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูโรคกระดูกและข้อได้อย่างเหมาะสม ในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความพร้อม มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีสุขภาพดี สามารถเคลื่อนไหว และทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
ทำไมต้องศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค
- เป็นศูนย์รวมของทีมศัลยแพทย์ออร์โธปิกดิกส์ที่มีประสบการณ์สูง นำทีมโดยอาจารย์แพทย์ผู้มีความชำนาญในการรักษาโรคยากและซับซ้อนมานานมากกว่า 30 ปี ร่วมกับศัลยแพทย์รุ่นใหม่ที่มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมแล้วมีแพทย์มากกว่า 40 ท่าน พร้อมด้วยทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ให้บริการดูแลรักษาโรคทางกระดูกและข้อครอบคลุมทุกสาขา ได้แก่ โรคกระดูก ข้อ เอ็น เส้นเอ็น ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เนื้องอกกระดูก การเปลี่ยนสะโพกและข้อเข่า และต่อเส้นประสาท การผ่าตัดกระดูกสันหลังในผู้ป่วยทุกช่วงอายุ รวมไปถึงอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา หรือกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ปัญหากระดูกและข้อในเด็ก ปัญหากระดูกและข้อในผู้สูงอายุ หรือความผิดปกติทางกระดูกและข้อแต่กำเนิด
- แพทย์จะกำหนดแผนการรักษาแบบองค์รวมร่วมกับคนไข้ เพื่อให้ได้แนวทางการรักษาที่เหมาะสม ช่วยให้คนไข้รู้สึกสบายใจ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ราบรื่นและปลอดภัย รวมถึงการให้คำแนะนำแนวทางฟื้นฟูร่างกายภายหลังการรักษาร่วมกับ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด เพื่อให้คนไข้สามารถพึ่งพาตนเองได้ดี และดำเนินชีวิตตามปกติได้เร็วที่สุด
- มีอุปกรณ์การแพทย์และเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการผ่าตัดให้มีความถูกต้องแม่นยำสูง เช่น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgical Assistant) ที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดข้อเข่าเทียม ช่วยกำหนดแนวการวางข้อเข่าเทียมที่อาจเปลี่ยนขณะผ่าตัดได้แบบเรียลไทม์ โดยระบบหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดจะทำหน้าที่ประมวลผลและสร้างภาพข้อเข่าแบบ 3 มิติ เพื่อให้แพทย์วางแผนผ่าตัดได้เหมาะสมกับสรีระและการเคลื่อนไหวตามลักษณะทางกายภาพของแต่ละบุคคล รวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาทช่วยให้การตรวจวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสุขภาพกระดูกและข้อของคนไข้มีความแม่นยำมากขึ้นในระดับมิลลิเมตร รองรับการผ่าตัดที่มีความยากและซับซ้อน เช่น ผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเล็ก ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม ผ่าตัดกระดูกสันหลัง รักษาอุบัติเหตุกระดูกและข้อ การต่อเส้นประสาท รักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา รักษาภาวะกระดูกและข้อที่มีความซับซ้อนในเด็ก ช่วยส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดี ช่วยให้คนไข้เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และใช้ชีวิตตามต้องการได้อย่างราบรื่น
โรคและภาวะผิดปกติ
- อุบัติเหตุทางกระดูกและข้อ เช่น
- ภาวะกระดูกหัก
- กระดูกหักผิดรูป
- กระดูกไหปลาร้าหัก
- กระดูกต้นขาหัก
- กระดูกสะโพกหัก
- กระดูกเชิงกรานหัก
- กระดูกสะบ้าหัก
- กระดูกยุบตัว
- กระดูกแตกแยกเป็นหลายชิ้น
- ข้อต่อเคลื่อน
- ข้อมือหัก
- ข้อเท้าหัก
- อวัยวะถูกตัดขาดจากอุบัติเหตุ
- มือและจุลศัลยกรรม เช่น
- โรคนิ้วล็อก
- โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณข้อมืออักเสบ
- โรคเส้นประสาทบริเวณข้อต่อถูกกดทับ
- โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
- ภาวะเส้นเอ็นอักเสบบริเวณข้อศอกด้านนอก/ภาวะเอ็นข้อศอกด้านข้างเสื่อม
- ภาวะข้อนิ้วเสื่อม
- ภาวะนิ้วเกิน
- ภาวะนิ้วมือหดรั้งในท่างอ
- เจ็บบริเวณนิ้วมือและข้อมือ
- ปวดข้อมือด้านนิ้วก้อย
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
- เอ็นข้อมือด้านนิ้วก้อยฉีกขาด
- มือชา
- ข้อศอกเคลื่อน
- มือและข้อมือพิการตั้งแต่กำเนิด
- เส้นประสาทฉีกขาดจากอุบัติเหตุ
- กระดูกสันหลัง ช่น
- โรคหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท
- โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด
- โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
- โรคกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท
- โรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาท
- โรคกระดูกสันหลังคดในผู้ใหญ่
- ภาวะติดเชื้อในกระดูกสันหลัง
- กระดูกงอกบริเวณกระดูกสันหลัง
- ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง
- การบาดเจ็บของกระดูกไขสันหลัง
- หลังค่อม
- เท้าและข้อเท้า เช่น
- โรครองช้ำ
- ภาวะเท้าแบน
- ภาวะกระดูกนิ้วโป้งเท้าเอียง
- ภาวะเท้าผิดรูป
- ภาวะติดเชื้อในกระดูกเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
- ความผิดปกติของเท้าส่วนหน้าและส่วนหลัง
- ภาวะข้อเท้าเสื่อม
- กระดูกงอกที่เท้า
- ปวดส้นเท้า
- เส้นเอ็นร้อยหวายอักเสบเรื้อรัง
- ข้อสะโพกและข้อเข่า เช่น
- ภาวะหัวกระดูกสะโพกตายจากการขาดเลือด
- ภาวะข้อต่อสะโพกขัด
- ภาวะปวดสะโพกร้าวลงขา
- ภาวะถุงน้ำข้างสะโพกอักเสบ
- ภาวะข้อสะโพกเคลื่อน
- กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ
- กระดูกข้อเข่าเสื่อม
- กระดูกข้อสะโพกเสื่อม
- ข้อกระดูกอ่อนเสื่อม
- ลูกสะบ้าข้อเข่าเคลื่อนหลุด
- เอ็นสะบ้าอักเสบ
- ปวดข้อสะโพกหลังใส่ข้อสะโพกเทียม
- เนื้องอกของกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน เช่น
- เนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนในทุกช่วงอายุ
- มะเร็งกระดูก
- เนื้องอกข้อต่อ
- มะเร็งอวัยวะอื่น แต่ลามมาที่กระดูก
- กระดูกและข้อในเด็ก เช่น
- โรคคอเอียงจากกล้ามเนื้อคอตึง
- โรคกระดูกอ่อนในเด็ก
- โรคนิ้วติดกัน
- โรคเท้าปุก
- โรคเท้าผิดรูปในเด็ก
- โรคเท้าแป
- โรคเท้าแบนในเด็ก
- โรคนิ้วเท้าเกยกัน
- โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก
- โรคกระดูกคอเสื่อมในเด็ก
- โรคหัวกระดูกสะโพกตายขาดเลือด
- ภาวะกระดูกรยางค์ส่วนบนหักบ่อยในเด็ก
- ภาวะขาโก่งในเด็ก
- ภาวะกระดูกหน้าแข้งส่วนต้นโก่ง
- ภาวะไม่มีกระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องแต่กำเนิด
- ภาวะกระดูกหักไม่ติดแต่กำเนิด
- ภาวะกระดูกใต้เข่าผิดรูปแต่กำเนิด
- ภาวะกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในทารก
- ภาวะกระดูกสันหลังโก่งในเด็ก
- ภาวะกระดูกสันหลังคดในเด็กและวัยรุ่น
- ภาวะขาสองข้างสั้นยาวไม่เท่ากันในเด็ก
- กระดูกข้อศอกหักจากอุบัติเหตุ
- กระดูกข้อสะโพกเคลื่อนในเด็ก
- กระดูกหักในเด็ก
- เวชศาสตร์การกีฬา เป็นการรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา รวมถึงการบาดเจ็บจากการเสื่อมของเส้นเอ็นและเส้นประสาทตามช่วงวัย ในส่วนของข้อเท้า เข่า สะโพก ข้อศอก และหัวไหล่ เช่น
- โรคข้ออักเสบหลังอาการบาดเจ็บ
- โรคข้อศอกนักกอล์ฟ
- ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง
- ภาวะข้อไหล่หลุด
- ภาวะไหล่หลุดซ้ำ
- ภาวะเอ็นไหล่เสื่อม
- ภาวะติดเชื้อในข้อสะโพก
- ข้อเท้าแพลง
- กระดูกเท้าและข้อเท้าแตก-หัก
- กระดูกหักล้า
- กระดูกพรุน
- กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่
- ผิวกระดูกอ่อนข้อเท้าบาดเจ็บ
- หมอนรองเข่าฉีกขาด
- เอ็นร้อยหวายอักเสบ
- เอ็นร้อยหวายฉีกขาด
- เอ็นร้อยหวายตึง
- เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด
- เอ็นไขว้หลังฉีกขาด
- เอ็นเข่าด้านในบาดเจ็บ
- ปวดข้อศอก
- ข้อศอกหลุด
- ข้อไหล่ติดแข็ง
- ข้อไหล่เคลื่อนจากการเล่นกีฬา
- เอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ
- เส้นประสาทแขนบาดเจ็บ
- เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด
- หมอนรองข้อสะโพกฉีกขาด/วงแหวนกระดูกอ่อนที่ข้อสะโพกฉีกขาด
- ข้อต่อสะโพกขัดหรือเสียดสี
- การมีขอบเบ้ากระดูกข้อสะโพกเกินกว่าปกติ และมีคอกระดูกข้อสะโพกหนาเกินกว่าปกติ ทำให้เกิดการเสียดสีกับเบ้าข้อสะโพก
- ภาวะบาดเจ็บข้อสะโพกจากการเล่นกีฬา
- กล้ามเนื้อหุบสะโพกบาดเจ็บหรือฉีกขาด
- กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังบาดเจ็บ
- มีเสียงดังจากข้อสะโพก
- กล้ามเนื้อกางสะโพกฉีกขาด
- กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
บริการตรวจวินิจฉัยและหัตถการ
- ตรวจคัดกรองกระดูกสันหลังทุกส่วนด้วย MRI
- ตรวจคัดกรองภาวะข้อเข่าเสื่อม
- ตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายและความหนาแน่นของมวลกระดูก
- การรักษาภาวะข้อเสื่อม กล้ามเนื้อบาดเจ็บ เส้นเอ็นเสื่อมและอักเสบ ด้วยพลาสม่าเกล็ดเลือดเข้มข้น เพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บและอาการอักเสบโดยไม่ต้องผ่าตัด
- การรักษากระดูกสันหลังแตกด้วยการฉีดซีเมนต์ยึดเสริมความแข็งแรง
- รักษาภาวะเท้าผิดรูปจากเบาหวาน
- รักษาโรคและภาวะผิดปกติของมือและจุลศัลยกรรม
- รักษาโรคและภาวะผิดปกติของเท้าและข้อเท้า
- รักษาโรคและภาวะผิดปกติของข้อเข่าและข้อสะโพก
- รักษาโรคและภาวะผิดปกติของกระดูกสันหลัง
- รักษาโรคและภาวะผิดปกติของกระดูกและข้อในเด็ก
- รักษาโรคและภาวะการบาดเจ็บทางเวชศาสตร์การกีฬา
- รักษาโรคเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน
- การเข้าเฝือก
- การผ่าตัดแก้ไขกระดูกหักจากอุบัติเหตุ
- การผ่าตัดแผลเล็กรักษานิ้วหัวแม่เท้าเกด้วยเทคนิค
- การผ่าตัดเท้าและข้อเท้าด้วยการส่องกล้อง
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเท้าเทียม
- การผ่าตัดแก้ไขภาวะเท้าผิดรูป
- การผ่าตัดรักษาภาวะข้อเท้าเสื่อม
- การผ่าตัดกระดูกงอกที่ส้นเท้า
- การผ่าตัดส่องกล้องยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้า
- การผ่าตัดยืดเอ็นร้อยหวายด้วยการส่องกล้อง
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมชนิดบางส่วน
- การผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าทดแทน
- การผ่าตัดส่องกล้องรักษาข้อ
- การผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าและเอ็นไขว้หลัง
- การผ่าตัดหมอนรองกระดูกเข่าด้วยการส่องกล้อง
- การผ่าตัดต่อกระดูกขาเพิ่มความสูง
- การผ่าตัดแก้มุมกระดูกต้นขา
- การผ่าตัดแก้ไขมุมเบ้าสะโพก
- การผ่าตัดส่องกล้องซ่อมเอ็นข้อไหล่
- การผ่าตัดกระดูกสันหลังคดในเด็กด้วยวิธีใส่โลหะดามกระดูกชนิดยืดออกได้
- การผ่าตัดเชื่อมกระดูกด้วยแผ่นโลหะและน็อต
- การผ่าตัดซ่อมแซมการบาดเจ็บของเส้นประสาท
- การผ่าตัดแก้ไขความพิการบริเวณมือตั้งแต่แรกเกิด
- การผ่าตัดซ่อมเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดผ่านกล้อง
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่เทียม
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่เทียมชนิดกลับด้าน
- การผ่าตัดต่อนิ้วมือ
- การผ่าตัดส่องกล้องข้อมือ
- การผ่าตัดมือจุลศัลยกรรม
ความชำนาญพิเศษ
- การผ่าตัดแก้ไขผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดรักษามาแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น เป็นการผ่าตัดที่มีความยากและซับซ้อนสูง และต้องอาศัยแพทย์ที่มีประสบการณ์และทักษะระดับสูง เพื่อแก้ไขอาการเจ็บปวดทรมานของคนไข้จากการผ่าตัดที่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยก่อนผ่าตัดจะมีการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อแก้ไขได้ตรงจุด และช่วยให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้อีกครั้ง
- ผ่าตัดส่องกล้องหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เป็นการเปิดแผลเข้าสู่กระดูกสันหลังขนาดเพียง 1 นิ้ว ผ่าตัดผ่านการส่องกล้องและใช้เครื่องมือขนาดเล็ก จึงเสียเลือดน้อยกว่า ลดความเสียหายของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อโดยรอบได้ดี ลดอาการปวดหลังได้มากกว่าการผ่าตัดแบบเดิม ฟื้นตัวไว แผลเป็นมีขนาดเล็ก และกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
- ผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก (MIS) เป็นการผ่าตัดใส่นอตยึดตรึงกระดูกแบบแผลเล็ก ร่วมกับการใช้กล้อง Endoscope ข้อดีคือทำให้เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวไว เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่มีการทำลายเนื้อเยื่อน้อย ซึ่งเหมาะกับคนไข้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังตีบแคบ ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท โดยคนไข้จะพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 2 - 3 คืน และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
- ผ่าตัดกระดูกและหมอนรองกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาท เนื่องจากเส้นประสาทบริเวณคอเป็นจุดศูนย์รวมเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนและขา การผ่าตัดบริเวณนี้จึงมีความยากและละเอียดอ่อนมาก ปัจจุบันมีการผ่าตัดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อให้เกิดความแม่นยำ ลดโอกาสเกิดความผิดพลาด คนไข้บางรายจำเป็นต้องใช้ หมอนรองกระดูกเทียม เพื่อทดแทนหมอนรองกระดูกที่เสื่อมไป ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงหมอนรองกระดูกธรรมชาติ ช่วยให้คนไข้สามารถกลับมาก้มเงยและหันคอได้ตามปกติ โดยใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 2 วัน และกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
- ผ่าตัดแก้ไขภาวะกระดูกสันหลังคดในเด็กและวัยรุ่น เป็นการแก้ไขภาวะกระดูกสันหลังคดเอียงมากกว่า 10 องศาขึ้นไป พบมากในเด็กวัยรุ่น ศัลยแพทย์จะเลือกวิธีรักษาให้เหมาะสมกับภาวะความเจ็บป่วยโดยให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของคนไข้ ช่วยให้กระดูกที่คดเอียงกลับมาอยู่ในลักษณะตั้งตรงใกล้เคียงปกติ ขณะเดียวกันต้องไม่ขัดขวางพัฒนาการ และป้องกันการกลับมาคดเอียงอีกในอนาคตได้ดี ช่วยให้เด็ก ๆ มีบุคลิกภาพดีขึ้น มีความมั่นใจมากขึ้น ทำกิจวัตรประจำวัน รวมถึงสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ
- ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการผ่าตัดโดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เพิ่มความแม่นยำในการวางแผนและผ่าตัดข้อเข่าเทียมในระดับมิลลิเมตร ลดการเสียเลือดและความเสียหายของเนื้อเยื่อและเส้นเอ็นรอบเข่าจากการไม่ต้องเจาะกระดูกต้นขาเพื่อหาตำแหน่งในการวางข้อเข่าเทียมซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบเดิม ทำให้แผลผ่าตัดเล็กลง รู้สึกถึงอิสระในการเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ร่างกายฟื้นตัวไว เริ่มลุกขึ้นเดินได้หลังผ่าตัดไปแล้ว 24 ชั่วโมง
- ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ช่วยให้คนไข้สามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ หรือรู้สึกติดขัดขณะเปลี่ยนอิริยาบถ เนื่องจากข้อสะโพกเทียมรองรับการขยับขาได้ใกล้เคียงข้อปกติ ทั้งยังช่วยแก้ไขภาวะขาสองข้างยาวไม่เท่ากัน ทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
- ผ่าตัดแก้ไขหัวกระดูกสะโพกเคลื่อนในเด็ก พบในเด็กวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกิน รักษาได้ทั้งการเคลื่อนแบบเรื้อรังและชนิดเฉียบพลัน แพทย์จะจัดเรียงข้อสะโพกให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ทำให้กลับมาเคลื่อนไหวได้ดี ไม่รู้สึกเจ็บเมื่อเดินและนั่ง สามารถก้มผูกเชือกรองเท้าได้ แก้ไขท่าเดินให้เป็นธรรมชาติ คืนบุคลิกภาพที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ มีความมั่นใจมากขึ้น สามารถทำกิจกรรม เล่นกีฬา และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
- ผ่าตัดรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบเรื้อรัง โดยทั่วไปคนไข้จะไม่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคนี้ แต่มักพบหลังจากที่มีการอักเสบเรื้อรังจนเกิดหินปูนงอกเกาะที่กระดูกเท้าและเกิดการเสียดสีกับรองเท้า ส่งผลให้มีอาการปวดเรื้อรังจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬาได้ตามเดิม การรักษาให้หายขาดแพทย์ต้องทำการผ่าตัดกระดูกที่งอกออกมาและเย็บซ่อมเส้นเอ็นที่มีความเสื่อม โดยแผลผ่าตัดจะมีขนาดเพียง 3 - 4 เซนติเมตร ใช้เวลาในการพักฟื้นราว 6 สัปดาห์ และสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ภายใน 4 - 5 เดือนหลังรักษาด้วยการผ่าตัด
- ผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคเท้าและข้อเท้า สามารถรักษาอาการโรคเท้าและข้อเท้าได้หลายโรค เช่น เอ็นร้อยหวายฉีกขาด พังผืดในข้อเท้า เส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบเรื้อรัง กระดูกข้อเท้าและใต้ข้อเท้าเสื่อม เป็นต้น โดยการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะมีแผลขนาดเล็กเพียง 8 - 10 มิลลิเมตร กระดูกและเนื้อเยื่อโดยรอบแผลผ่าตัดจะได้รับความเสียหายน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล จึงเจ็บปวดน้อยกว่า ใช้ระยะในการฟื้นตัวสั้นกว่า สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
- ผ่าตัดส่องกล้องรักษาการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เป็นการรักษาการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือในระยะรุนแรง แพทย์จะผ่าตัดด้วยกล้องเอนโดสโคป โดยสอดกล้องผ่านรูเล็ก ๆ บริเวณข้อมือที่มีขนาด 2 - 3 มิลลิเมตร เข้าไปตรวจโครงสร้างของโพรงเส้นประสาทบริเวณฝ่ามืออย่างละเอียด การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องจะช่วยศัลยแพทย์พิจารณาเลือกรักษาเส้นเอ็นบริเวณข้อมือของคนไข้ได้ตามความเหมาะสม มีความแม่นยำสูง และแก้ไขปัญหาการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผ่าตัดส่องกล้องเลาะเส้นเอ็นเพื่อแก้ไขภาวะไหล่ติด เป็นการผ่าตัดผ่านกล้องขนาดเล็ก เพื่อเลาะเส้นเอ็นที่เกิดพังผืดยึดเกาะ ช่วยให้สามารถกลับมาเคลื่อนไหวไหล่ได้ดีขึ้น โดยไม่ทำลายกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบแผลผ่าตัด เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก จึงฟื้นตัวไว กลับมาใช้ไหล่ทำกิจกรรมตามปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลขนาดใหญ่
- ผ่าตัดส่องกล้องข้อสะโพก การผ่าตัดข้อสะโพกด้วยการส่องกล้องสามารถใช้ผ่าตัดพยาธิสภาพในข้อสะโพกได้ในหลายลักษณะ เช่น การตัดแต่งกระดูกอ่อนผิวข้อ เย็บซ่อมวงแหวนรองข้อสะโพก เย็บซ่อมเส้นเอ็นที่ใช้กางสะโพก ล้างข้อสะโพกที่มีการติดเชื้อ เอาเศษกระดูกที่ขัดอยู่ภายในข้อสะโพกออก การกรอแต่งขอบเบ้าสะโพกและส่วนคอของกระดูกต้นขา เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม มีบางภาวะที่ไม่สามารถทำผ่าตัดโดยการส่องกล้องได้ ทำได้ยาก หรือได้ผลไม่ดี เช่น การที่มีข้อติดแข็งเคลื่อนไหวได้น้อย ทำให้ไม่สามารถดึงข้อสะโพกเพื่อใส่เครื่องมือผ่าตัดได้, มีการติดเชื้อของผิวหนังบริเวณที่จะทำผ่าตัด ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะทำให้เชื้อกระจายเข้าไปภายในข้อได้, ภาวะเบ้าสะโพกตื้นในผู้ป่วยอายุน้อย ซึ่งควรได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดแบบเปิดเพื่อจัดแนวกระดูกใหม่ หรือการที่มีข้อสะโพกเสื่อมมาก ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมให้ผลการรักษาที่ดีกว่า เป็นต้น