ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง

ชั้น 5 เคาน์เตอร์ A (WEST Lift)

โทร. 02-090-3116

8:00 - 20:00 น. / เสาร์-อาทิตย์ 8:00 - 17:00 น.

ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง

ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระดูกและข้อที่พบมากในปัจจุบัน หนึ่งในนั้น คือ อาการปวดหลัง ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติที่พบได้ทุกช่วงวัย เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหวผิดท่าทาง ความเสื่อมของร่างกายตามวัย ความผิดปกติแต่กำเนิด หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ 

หากสังเกตพบว่ามีอาการปวดหลังเรื้อรัง ไม่ควรชะล่าใจ หรือปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะอาการปวดหลังที่กวนใจเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ อาจนำไปสู่สัญญาณของโรคกระดูกสันหลังที่มีความรุนแรงมากขึ้นได้ เช่น กระดูกก้านคอเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เนื้องอกกระดูกสันหลัง เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อพบว่ามีอาการปวดหลังเป็นเวลานาน แม้จะลองเปลี่ยนอิริยาบถ ปรับพฤติกรรม หรือยืดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ แล้ว ยังไม่รู้สึกดีขึ้น แนะนำให้ขอรับคำปรึกษา และตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกสันหลัง เพื่อคัดกรองและวินิจฉัยความผิดปกติ พร้อมค้นหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ช่วยลดความเจ็บปวด และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นโดยเร็วที่สุด

ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง คืออะไร?

กระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก เพราะแนวกระดูกสันหลังไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงโครงสร้างหลักในการค้ำยันร่างกายให้สามารถตั้งตรงได้อย่างมั่นคงเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ปกป้องไขสันหลัง และทำงานร่วมกับระบบประสาทและสมอง ส่งต่อคำสั่งจากสมองไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย หากกระดูกสันหลังได้รับการกระทบกระเทือน หรือถูกกดทับ จะส่งผลต่อการควบคุมการเคลื่อนไหว การรับรู้ความรู้สึกของแขน-ขา ทำให้รู้สึกปวด ชา อ่อนแรง หรือพิการได้

และเมื่อเกิดความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลัง ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ สาขาศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง จะเป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจวินิจฉัยและพิจารณาหาแนวทางรักษาที่เหมาะสมและตรวจจุด เพื่อให้คนไข้หายจากอาการเจ็บปวด และกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ดี ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบได้อย่างมีความสุข

ศัลยแพทย์กระดูกสันหลัง แตกต่างจากศัลยแพทย์กระดูกและข้อ สาขาอื่นอย่างไร?

ศัลยแพทย์กระดูกสันหลัง คือ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อที่ มีความชำนาญเฉพาะทางในการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลังทุกส่วน ได้แก่

  • กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical-Spine: C-Spine) มีทั้งหมด 7 ชิ้น
  • กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic-Spine: T-Spine) มีทั้งหมด 12 ชิ้น
  • กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumba-Spine: L-Spine) มีทั้งหมด 5 ชิ้น
  • กระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum)
  • กระดูกก้นกบ (Coccyx)

ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังจะพิจารณาหาแนวทางการรักษาที่เหมาะกับตัวโรค อาการ และการใช้ชีวิตของคนไข้ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งแนวทางการรักษาออกเป็น 2 วิธีหลัก ๆ คือ

  • การรักษาโดยไม่ผ่าตัด เช่น การทำกายภาพบำบัด การรับประทานยา การฉีดยาระงับปวดตามจุดต่าง ๆ เป็นต้น
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดแผลเล็ก การผ่าตัดเปลี่ยนข้อกระดูกสันหลัง การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นต้น

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ สาขาศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเมดพาร์ค มีความชำนาญในการวินิจฉัยและเลือกแนวทางการรักษาแบบองค์รว ร่วมกับแพทย์และสหวิชาชีพสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบวิธีรักษาที่มอบคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดให้คนไข้สามารถพึ่งพาตนเอง และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข โดยเปิดโอกาสให้คนไข้และครอบครัว มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษาที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด

ทำไมควรตรวจรักษากระดูกสันหลัง ที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค

  • ตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยศัลยแพทย์เฉพาะทาง ด้านศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง ที่มีความชำนาญในการรักษาภาวะผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกสันหลังที่มีความยากซับซ้อนมานานกว่าสิบปี ผ่านการฝึกอบรมจากต่างประเทศ และได้รับการยอมรับจากศัลยแพทย์กระดูกและข้อในระดับประเทศ
  • มีการวินิจฉัยและปรึกษาหาแนวทางการรักษาภาวะผิดปกติทางกระดูกสันหลัง ร่วมกับสหวิชาชีพหลากหลายสาขา เช่น ศัลยแพทย์หลอดเลือด ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง รังสีแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ วิสัญญีแพทย์เฉพาะทางด้านการระงับปวด เพื่อค้นหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับสุขภาพ ร่างกาย ไลฟ์สไตล์ ตรงกับความต้องการของคนไข้และครอบครัวมากที่สุด
  • มีความพร้อมในด้านเครื่องมือแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ และนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจวินิจฉัยและรักษา เช่น การผ่าตัดแผลเล็ก เจ็บน้อย เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวไว ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัด ผลลัพธ์การรักษาเป็นที่น่าพอใจ หรือตรงตามแผนการรักษาที่วางไว้ ช่วยให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพได้ดีขึ้น เป็นต้น
  • มีทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด ประจำศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ให้การดูแลและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดในการฟื้นฟูสุขภาพภายหลังผ่าตัด เพื่อให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดูแลตนเองได้ดี หรือสามารถกลับมาทำกิจกรรมที่ชื่นชอบได้ตามต้องการ

โรคและภาวะผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง

  • โรคหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท 
  • โรคหมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท
  • โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด 
  • โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
  • โรคกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท 
  • โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ 
  • โรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาท 
  • โรคกระดูกสันหลังคดในผู้ใหญ่
  • โรคกระดูกสันหลังคดในเด็กและวัยรุ่น
  • โรคกระดูกสันหลังยุบตัวจากภาวะกระดูกพรุน
  • โรคมะเร็งกระดูกสันหลัง
  • ภาวะติดเชื้อในกระดูกสันหลัง
  • กระดูกงอกบริเวณกระดูกสันหลัง 
  • ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง 
  • การบาดเจ็บของกระดูกไขสันหลัง 
  • เนื้องอกกดทับไขสันหลัง
  • การติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง
  • ออฟฟิศซินโดรม
  • ปวดคอ
  • ปวดหลังส่วนล่างในผู้ใหญ่
  • หลังค่อม

การบริการของศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

  • ตรวจวินิจฉัยภาวะผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น
    • การตรวจคัดกรองกระดูกสันหลังทุกส่วนด้วย MRI 
    • การตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายและความหนาแน่นของกระดูก 
    • การทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
  • รักษาภาวะผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง แบ่งได้ 2 วิธีหลัก ๆ คือ
    • การรักษาแบบไม่ผ่าตัด เช่น
      • การเฝ้าสังเกตอาการ ร่วมกับการปรับพฤติกรรม
      • การรับประทานยาบรรเทาการอักเสบ ปวด ตึง
      • การกายภาพบำบัด
      • การสวมใส่อุปกรณ์พยุงหลัง
      • การฉีดยาระงับปวด
    • การรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น
      • การฉีดซีเมนต์ยึดตรึงกระดูกสันหลัง
      • การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด เช่น การผ่าตัดใส่โลหะดามกระดูกด้วยแท่งโลหะ การผ่าตัดเข้าทางด้านหน้าและช่องอกเพื่อเชื่อมกระดูกสันหลังทางด้านหน้า การผ่าตัดใส่โลหะดามกระดูกชนิดต่าง ๆ การผ่าตัดแบบเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง การผ่าตัดแบบไม่เชื่อมข้อกระดูกสันหลัง เป็นต้น
      • การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก (MIS) เช่น การผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยการส่องกล้อง การผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด การผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น
      •  การผ่าตัดขยายโพรงกระดูกสันหลัง
      • การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอจากด้านหน้า
      • การผ่าตัดเปิดบางส่วนของกระดูกลามินาออก
      • การผ่าตัดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทด้วยเทคนิคลามิเนกโตมี
      • การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกบริเวณคอ

อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • การตรวจวินิจฉัย
    • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ (X-Ray)
    • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan)
    • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การรักษา 
    • เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบซีอาร์ม (C-Arm)
    • กล้องเอนโดสโคป (Endoscope)
    • หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง (Robotic Spinal Surgery)

อาการผิดปกติของกระดูกสันหลัง ที่สังเกตได้ด้วยตนเอง

  • ร่างกายด้านซ้ายและขวาไม่สมมาตรกัน เช่น ไหล่ไม่เท่ากัน กระดูกสะบักสองข้างนูนไม่เท่ากัน เอวไม่เสมอกัน หรือสะโพกสูงต่ำไม่เท่ากัน เป็นต้น
  • กระดูกสันหลังผิดรูป หรือหลังค่อมผิดปกติ
  • ปวดคอ ปวดชาร้าวลงขา รู้สึกเสียวแปล๊บตามมือ แขน เท้า ขา 
  • มีอาการมือ แขน ขา และเท้าอ่อนแรง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการเดิน และการทรงตัว
  • เดินได้ในระยะสั้น ๆ รู้สึกปวดจนต้องหยุดพักสักครู่ถึงจะเริ่มเดินได้อีกครั้ง
  • ชารอบทวารหนัก ปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือจาม กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้
  • ปวดหลังมาก แม้เปลี่ยนท่านั่ง ยืน เดิน หรือนอนราบแล้วก็ยังไม่ทุเลาลง
  • ปวดรุนแรงจนไม่สามารถนอน หรือรู้สึกมากปวดจนตื่น
  • ปวดรุนแรง แม้จะรับประทานยา หรือทำกายภาพบำบัดแล้วก็ไม่ดีขึ้น

ใครบ้าง มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการเหล่านี้

  • มีประวัติสมาชิกในครอบครัว ป่วยด้วยโรคกระดูกชนิดต่าง ๆ
  • มีภาวะผิดปกติของกระดูกแต่กำเนิด
  • มีภาวะผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อบางชนิด เช่น สมองพิการ กล้ามเนื้อเสื่อม เป็นต้น
  • มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกสันหลัง เช่น นั่งไม่ถูกท่า ยกของหนัก 
  • มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง และไขสันหลัง
  • เคยเข้ารับการผ่าตัดบริเวณทรวงอก หรือแนวกระดูกสันหลัง

อุปสรรคและข้อจำกัดในการรักษากระดูกสันหลัง

  • เข้ารับการรักษาจากศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์กระดูกสันหลังล่าช้า ทำให้พลาดโอกาสที่ดีที่สุดที่สามารถรักษาให้หายดี หรือบรรเทาอาการเจ็บปวดลงได้มากกว่าในปัจจุบัน
  • คนไข้ได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสม เช่น ซื้อยามารับประทานเอง รักษาด้วยการนวดโดยผู้ที่ขาดความรู้ความชำนาญอย่างแท้จริง ทำให้บาดเจ็บ เจ็บปวดรุนแรงขึ้น หรือเป็นอันตรายมากขึ้น
  • มองข้ามอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น เช่น อาการชา แขนขาอ่อนแรง เป็นระยะเวลานาน จนทำให้การผ่าตัดรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องจากเส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน โอกาสฟื้นตัวได้ดีจะลดลงมากขึ้น
  • คนไข้กลัวการผ่าตัด เพราะมีความเชื่อว่าอาจทำให้เป็นอัมพาต หรือพิการ ซึ่งในความเป็นจริงการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะการผ่าตัดกระดูกคอ เป็นหัตถการที่ให้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีมาก คนไข้สามารถลุกยืน หรือเดินได้ในวันรุ่งขึ้น
  • มีอาการแทรกซ้อนจากภาวะกระดูกพรุน ซึ่งส่งผลต่อการรักษาเป็นอย่างมาก

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในระหว่างการรักษากระดูกสันหลัง

การรักษาโรคกระดูกสันหลังบางชนิด อาจมีผลกระทบบางอย่างต่อร่างกาย เช่น

  • มีอาการชาตามมือ แขน ขา และเท้า
  • มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ทรงตัวได้ไม่ดี
  • ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
  • เป็นอัมพาต

คำถามที่พบบ่อย

  • Q: กระดูกสันหลังเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมตามธรรมชาติ มียารักษาหรือไม่?
    A: ปัจจุบันยังไม่มียารักษา เพราะความเสื่อมเป็นไปตามธรรมชาติ แต่คนไข้สามารถดูแลตัวเองได้โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้กระดูกเสื่อม เพื่อชะลอความเสื่อมให้ช้าลง
  • Q: ผ่าตัดกระดูกสันหลัง อาจทำให้เดินไม่ได้จริงหรือ?
    A: ปัจจุบันการผ่าตัดกระดูกสันหลังมีความปลอดภัย และแม่นยำสูง จึงลดความเสี่ยงที่จะเดินไม่ได้ ได้ดีกว่าในอดีตมาก โดยเฉพาะหากได้รับการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ฯ ที่มีความชำนาญ และประสบการณ์สูง มีทีมสหวิชาชีพที่มีความพร้อม และมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ก็จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและเป็นไปตามที่ศัลยแพทย์ได้วางแผนไว้
  • Q: การผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีโอกาสหายดีหรือไม่?
    A: การผ่าตัดกระดูกสันหลัง ให้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจถึง 90 - 95% ยกเว้นคนไข้บางราย ที่มีภาวะติดเชื้อจากแผลผ่าตัด ซึ่งพบได้ประมาณ 1 - 2% เท่านั้น
  • Q: กรณีเป็นการผ่าตัดซ้ำ เพื่อแก้ไขผลลัพธ์จากการผ่าตัดรักษาภาวะผิดปกติของกระดูกสันหลังที่ผ่านมา จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นหรือไม่?
    A: ขึ้นอยู่กับว่าการผ่าตัดนั้น ๆ ผ่านมานานเท่าไร เพราะยิ่งทิ้งระยะเวลาหลังการผ่าตัดมานานหลายปี ก็จะยิ่งทำให้เกิดพังผืดบริเวณจุดที่ผ่าตัด ส่งผลทำให้ผ่าตัดได้ยากขึ้น ซึ่งการเลาะพังผืดจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้เยื่อหุ้มเส้นประสาทฉีกขาดมากกว่าคนไข้ที่ยังไม่เคยผ่าตัดมาก่อน ซึ่งกรณีนี้จะพบความเสี่ยงประมาณ 2 - 3%
  • Q: การใส่นอตยึดกระดูกสันหลัง จะก้มหลัง หรือกลับไปเล่นกีฬาได้ไหม?
    A: สามารถก้มหลังได้ตามปกติ ยกเว้นกรณีใส่นอตยาวหลายข้อ อาจทำให้ก้มหลังได้ไม่มาก แต่ก็ยังสามารถก้มได้ในองศาที่ใกล้เคียงปกติ ส่วนการเล่นกีฬา แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมว่ากีฬาชนิดนั้น ๆ จะส่งผลทำให้เกิดภาวะหลังเสื่อม หรือมีปัญหาอื่น ๆ ตามมามากน้อยเพียงใด
  • Q: การใส่นอตยึดกระดูกสันหลัง เป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลังข้อใกล้เคียงเสื่อม จนต้องกลับมาผ่าตัดอีกหรือไม่?
    A: ความเสื่อมของกระดูกสันหลังข้ออื่น ๆ ที่ทำให้ต้องผ่าตัดซ้ำ ไม่ได้เกิดจากการผ่าตัดใส่นอตยึดกระดูกสันหลังเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น การก้ม หรือเงยบ่อย ๆ การยกของหนัก และความเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้น หากคนไข้ใส่ใจดูแลร่างกายเป็นอย่างดี ก็จะสามารถใช้ชีวิตตามปกติโดยไม่ต้องกลับมาผ่าตัดอีกได้นานเป็นสิบปี

เผยแพร่เมื่อ: 27 ส.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    • ศัลยกรรมประสาท
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เตมีธ์  เสถียรราษฎร์

    นพ. เตมีธ์ เสถียรราษฎร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เทวเจษฎา ภาเรือง

    นพ. เทวเจษฎา ภาเรือง

    • ศัลยกรรมประสาท
    • ศัลยกรรมไขสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง