เวชศาสตร์การกีฬา

ชั้น 5 เคาน์เตอร์ A (WEST Lift)

โทร. 02-090-3116

8:00 - 20:00 น. / เสาร์และอาทิตย์ 8:00 - 17:00 น.

เวชศาสตร์การกีฬา

หลายครั้งที่เราใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป หรือเคลื่อนไหวผิดท่า อาจเกิดได้ทั้งจากการออกกำลังกาย หรืออุบัติเหตุในการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลให้กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อ เกิดการบาดเจ็บในระดับต่าง ๆ หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้อง หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้อาการบาดเจ็บเหล่านั้นทวีความรุนแรงขึ้น นำไปสู่การบาดเจ็บซ้ำ ๆ และพัฒนาเป็นอาการบาดเจ็บเรื้อรัง ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรืออาจร้ายแรงจนถึงขั้นต้องงดเล่นกีฬาชนิดนั้น ๆ ไปตลอดชีวิต  

ดังนั้น หากมีกิจกรรมที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อ ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย หรือรุนแรงเพียงใด ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมกับแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา นอกจากคนไข้จะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติได้ดีแล้ว ที่สำคัญ ยังสามารถกลับมาฝึกซ้อมและเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีความหมายมากที่สุดของการเป็นนักกีฬาอาชีพอีกด้วย

ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเมดพาร์ค มีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย และอุบัติเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ดูแลโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา มีความชำนาญในการผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บของกระดูก เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และข้อต่อ ด้วยเทคนิคการผ่าตัดแบบเปิด การผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเล็ก ตลอดจนการรักษาด้วยยาและการฉีดยา ดูแลอย่างต่อเนื่องไปจนถึงขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายภายหลังการผ่าตัดแบบองค์รวม ร่วมกับศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด เพื่อช่วยให้คนไข้สามารถกลับมาออกกำลังกาย และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ

เวชศาสตร์การกีฬา คืออะไร?

เวชศาสตร์การกีฬา เป็นหนึ่งในอนุสาขาของศัลยศาสตร์ทางกระดูกและข้อ เป็นการประยุกต์นำศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการเคลื่อนไหวของร่างกาย มาใช้ในการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาอาการบาดเจ็บของกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ ที่เกิดขึ้นได้ในขณะเล่นกีฬาหรือฝึกซ้อมกีฬาของนักกีฬาอาชีพ การออกกำลังกายของบุคคลทั่วไป หรืออุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้อวัยวะส่วนนั้นกลับมาใช้งานได้ดีตามปกติ

ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา ต่างจากศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อสาขาอื่น ๆ อย่างไร?

ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา มีความชำนาญในการรักษาอาการบาดเจ็บของกระดูก เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และข้อต่อ ของอวัยวะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในขณะออกกำลังกาย หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หัวไหล่ ข้อศอก หัวเข่า เอ็นร้อยหวาย ข้อสะโพก เป็นต้น 

หากมีการบาดเจ็บรุนแรงที่ครอบคลุมอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ฝ่าเท้า กระดูกสันหลัง ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬาจะทำการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาร่วมกับศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านจุลศัลยกรรม ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเท้าและข้อเท้า หรือศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เพื่อให้คนไข้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ตรงกับอาการบาดเจ็บ ช่วยให้ฟื้นตัวดี หายไว กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และสามารถกลับไปฝึกซ้อม รวมทั้งเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำไมควรเลือกตรวจและรักษาโรคทางเวชศาสตร์การกีฬา ที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค

  • ตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬา ที่มีประสบการณ์รักษาอาการบาดเจ็บทั้งจากการเล่นกีฬาอาชีพ ออกกำลังกาย และอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มในชีวิตประจำวัน ให้สามารถกลับมาฝึกซ้อม ออกกำลังกาย และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีทีมศัลยแพทย์กระดูกและข้อที่มีความชำนาญในการรักษาอวัยวะส่วนอื่น ๆ ครบทุกสาขา ดังนั้นไม่ว่าจะบาดเจ็บบริเวณมือ เท้า หรือกระดูกสันหลัง ก็สามารถทำการตรวจวินิจฉัย ปรึกษาหาแนวทางในการรักษาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำ หรือป้องกันการมีอาการบาดเจ็บเรื้อรังได้เป็นอย่างดี
  • มีเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพในขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยอาการบาดเจ็บ ช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้ละเอียดยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสหายดี สามารถกลับมาฝึกซ้อมและเล่นกีฬาได้อย่างคล่องแคล่ว เต็มศักยภาพ
  • ห้องพักผู้ป่วยในออกแบบมาเป็นพิเศษ ใส่ใจสุขภาพ เพื่อให้คนไข้สามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดรับแสงจากธรรมชาติในช่วงกลางวัน ล้อมรอบด้วยวิวสวนเบญจกิติและโค้งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งยังมีการควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารด้วยระบบแรงดันบวก (Positive Pressure) ทำให้คนไข้ได้รับอากาศสะอาดตลอดเวลาที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเมดพาร์ค
  • ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬาจะวางแผนฟื้นฟูร่างกายภายหลังการผ่าตัด ร่วมกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัด จากศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด เพื่อออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยอุปกรณ์ หรือเทคนิคต่าง ๆ พร้อมดูแลและให้คำแนะนำในระหว่างฟื้นฟูร่างกายด้วยความเข้าอกเข้าใจ คอยให้กำลังใจเสมอ และมีความตั้งใจที่จะช่วยให้คนไข้กลับมาใช้อวัยวะส่วนนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว

โรคและภาวะผิดปกติ ที่เกี่ยวกับเวชศาสตร์การกีฬา

  • ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง 
  • ภาวะข้อไหล่หลุด
  • ภาวะไหล่หลุดซ้ำ
  • ภาวะเอ็นไหล่เสื่อม 
  • ภาวะเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด
  • ภาวะติดเชื้อในข้อสะโพก
  • ข้อไหล่ติดแข็ง 
  • ข้อไหล่เคลื่อนจากการเล่นกีฬา 
  • ข้ออักเสบหลังอาการบาดเจ็บ 
  • ข้อศอกหลุด 
  • ปวดข้อศอก
  • เจ็บข้อศอกด้านใน หรือโรคข้อศอกนักกอล์ฟ
  • ข้อเท้าแพลง
  • กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ 
  • กระดูกเท้าและข้อเท้าแตก-หัก 
  • กระดูกหักล้า 
  • กระดูกพรุน
  • ผิวกระดูกอ่อนข้อเท้าบาดเจ็บ 
  • หมอนรองเข่าฉีกขาด 
  • เอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ 
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ
  • เอ็นร้อยหวายฉีกขาด 
  • เอ็นร้อยหวายตึง 
  • เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด 
  • เอ็นไขว้หลังฉีกขาด
  • เอ็นเข่าด้านในบาดเจ็บ 
  • เส้นประสาทแขนบาดเจ็บ 
  • วงแหวนกระดูกอ่อนที่ข้อสะโพกฉีกขาด
  • ข้อต่อสะโพกขัดหรือเสียดสี
  • มีขอบเบ้ากระดูกข้อสะโพกเกินกว่าปกติ และมีคอกระดูกข้อสะโพกหนาเกินกว่าปกติ ทำให้เกิดการเสียดสีกับเบ้าข้อสะโพก
  • ภาวะบาดเจ็บข้อสะโพกจากการเล่นกีฬา
  • มีเสียงดังจากข้อสะโพก
  • กล้ามเนื้อกางสะโพกฉีกขาด
  • กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
  • กล้ามเนื้อหุบสะโพกบาดเจ็บหรือฉีกขาด
  • กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังบาดเจ็บ

ใครบ้างมีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการเหล่านี้

นักกีฬาอาชีพ ผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย บุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัยที่อาจมีการขยับหรือเคลื่อนไหวอวัยวะผิดท่าจนทำให้เกิดการบาดเจ็บของกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อต่าง ๆ

หากพบว่ามีการบาดเจ็บ ควรปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี แจ้งขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน และรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจากแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา เพื่อให้สามารถกลับมาเล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือใช้ชีวิตประจำวันได้ดี

การบริการของแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา

ภายหลังการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดแล้ว ศัลยแพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมกับอาการบาดเจ็บแตกต่างกันไปเป็นรายบุคคล เช่น การรับประทานยา การฉีดยา การผ่าตัด และการผ่าตัดส่องกล้อง

  • การรักษาภาวะข้อเสื่อม กล้ามเนื้อบาดเจ็บ เส้นเอ็นเสื่อมและอักเสบ ด้วยพลาสม่าเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP Injection) เพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บและอาการอักเสบโดยไม่ต้องผ่าตัด
  • การผ่าตัดยืดเอ็นร้อยหวายด้วยการส่องกล้อง
  • การผ่าตัดซ่อมเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดผ่านกล้อง
  • การผ่าตัดส่องกล้องซ่อมหมอนรองข้อไหล่
  • การผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าและเอ็นไขว้หลัง
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกเข่าด้วยการส่องกล้อง

อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์การกีฬา

  • การตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์
  • การรักษาโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง

อุปสรรคและข้อจำกัดในการตรวจรักษาเวชศาสตร์การกีฬา

  • มีการติดเชื้อบริเวณข้อต่อ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ 
  • มีความเสียหายรุนแรงบริเวณเบ้ากระดูก เนื้อเยื่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้จากการรักษาเวชศาสตร์การกีฬา

  • การติดเชื้อ
  • การบาดเจ็บซ้ำในจุดเดิม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเวชศาสตร์การกีฬา

  • เส้นเอ็นขาด กี่เดือนถึงจะหาย? 
    กรณีเส้นเอ็นขาด และแพทย์สามารถเย็บซ่อมได้สำเร็จ จะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 3 - 6 เดือน ส่วนการกลับมาฝึกซ้อมและเล่นกีฬาตามปกติ จะทำได้ภายใน 6 - 9 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และความมีวินัยในการฟื้นฟูสมรรถภาพและทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัด

เผยแพร่เมื่อ: 06 พ.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. อนุชาต ลลิตวงศ์ชัย

    นพ. อนุชาต ลลิตวงศ์ชัย

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    เวชศาสตร์การกีฬา, ผ่าตัดส่องกล้องโรคข้อและการบาดเจ็บทางกีฬา
  • Link to doctor
    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Sport Injury (Menicus, Cartilage, Ligament)
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ถาวร ศิษยนเรนทร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroscopy, Knee Surgery, Shoulder Surgery
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์  ยุกตะนันทน์

    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    Arthroplasty, เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    นพ. ธีระ โรจน์พรประดิษฐ์

    นพ. ธีระ โรจน์พรประดิษฐ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    พญ. อลิศรา อารีราชการัณย์

    พญ. อลิศรา อารีราชการัณย์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา