สายตาเอียง (Astigmatism) สัญญาณ อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาสายตาเอียง - Astigmatism

สายตาเอียง

สายตาเอียง เกิดจากความผิดปกติของกระจกตา (cornea) และเลนส์ (lens) ที่มีรูปร่างและความโค้งผิดเพี้ยนไป จึงก่อให้เกิดการมองเห็นที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง

แชร์

สายตาเอียง

สายตาเอียง เป็นปัญหาทางสายตาที่พบได้บ่อย เกิดจากความผิดปกติของกระจกตา (cornea) และเลนส์ (lens) ที่มีรูปร่างและความโค้งผิดเพี้ยนไป โดยปกติแล้วกระจกตาและเลนส์ตาจะมีลักษณะโค้งมนคล้ายลูกบอล แต่ในกรณีปัญหาสายตาเอียง จะเกิดความโค้งผิดรูปที่ทำให้เกิดลักษณะรีคล้ายรูปไข่ จึงก่อให้เกิดการมองเห็นที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง รวมไปถึงอาการสายตาพร่ามัว ทั้งในการมองเห็นระยะใกล้และระยะไกล โดยปัญหานี้มักแก้ไขได้ด้วยด้วยการสวมใส่แว่นตา และคอนแทคเลนส์ รวมไปถึงการผ่าตัดปรับเปลี่ยนรูปร่างและความโค้งของกระจกตา

สัญญาณและอาการสายตาเอียง

อาการตาพร่ามัว และการปัญหาการมองภาพผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง คืออาการทั่วไปที่พบได้ในผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียง บางรายมีแนวโน้มว่าเกิดความยากลำบากในการมองเห็นในเวลากลางคืน นอกจากนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการสายตาเอียง ปวดตาและไม่สบายตา ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะตามมา

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางและวิธีในการแก้ไขปัญหาสายตาเอียง หากอาการที่เกิดจากปัญหาสายตาเอียงเริ่มกระทบหรือส่งผลต่อประสิทธิภาพในกิจวัตรประจำวัน

ปัญหาสายตาเอียงในเด็กและวัยรุ่น

ปัญหาสายตาเอียง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยตั้งแต่แรกเกิด โดยปัญหาหนึ่งของสายตาเอียงในเด็กคือการที่เด็กที่มีปัญหาสายตามักไม่สามารถอธิบาย หรือกล่าวให้ทราบถึงอาการที่เป็นอยู่ได้ การตรวจคัดกรองและทดสอบสายตาในเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึงวัยเรียน จึงมีความจำเป็นเพื่อวินิจฉัย และหาวิธีการรักษาเพื่อแก้ไขอาการสายตาผิดปกติอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งโดย กุมารแพทย์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดสายตา

สาเหตุของสายตาเอียง

สายตาเอียง เกิดจากรูปร่างและส่วนโค้งที่ผิดปกติของ กระจกตา และเลนส์ตา โดยทั้งสองสิ่งนี้ทำหน้าที่ในการโฟกัสภาพในระยะใกล้ และสะท้อนแสงไปสู่จอประสาทตา (retina) ที่อยู่ด้านหลังของลูกตา โดยส่วนโค้งมนนี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตกกระทบและการกระจายแสง ซึ่งนำไปสู่ความคมชัดของภาพที่มองเห็น เมื่อรูปร่างและส่วนโค้งนั้นผิดไปจากปกติ ภาพที่เก็นจึงพร่ามัว และผิดเพี้ยนไปจากปกติด้วยนั่นเอง

การตรวจวินิจฉัยสายตาเอียง

การวินิจฉัยปัญหาสายตาเอียงมักมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพการตกกระทบของแสงบนกระจกตาและเลนส์ โดยอาศัยอุปกรณ์ส่งแสงเข้าสู่ดวงตา โดยเลนส์ชนิดต่างๆมักถูกนำมาใช้ประกอบ เพื่อทดสอบคุณภาพในการมองเห็นผ่านเลนส์ชนิดต่างๆ โดยวิธีการนี้ยังช่วยประกอบการพิจารณาในการแก้ไขปัญหาสายตาที่เหมาะสมต่อไปอีกด้วย

การรักษาสายตาเอียง

วิธีการรักษาปัญหาสายตาเอียงนั้น มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิการการมองเห็น แว่นตา และคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมกับสายตาของผู้ป่วยมักเป็นวิธีที่ใช้โดยทั่วไป และแพร่หลาย นอกจากนี้การผ่าตัดปรับเปลี่ยนรูปร่างและความโค้งของกระจกตา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตกกระทบและกระจายแสง ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการสวมใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ในระยะยาว

  • การผ่าตัด การผ่าตัดเพื่อปรับเปลี่ยนรูปร่างและความโค้งของกระจกตาอาจประกอบไปด้วยการผ่าตัดดังต่อไปนี้
    • เลสิค Laser-assisted in-situ keratomileusis (LASIK)
    • เลเสก Laser-assisted subepithelial keratectomy (LASEK)
    • Photorefractive keratectomy (PRK)
    • Epi-LASIK
    • Small-incision lenticule extraction (SMILE)


    เตรียมตัวก่อนพบแพทย์

    ก่อนการนัดหมายคุณควรตระหนักถึงข้อจำกัดที่อาจต้องปฏิบัติก่อนการนัดหมาย และคุณอาจเตรียมข้อมูลบางอย่าง เช่น

    • อาการที่เกิดขึ้น
    • ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ
    • ยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่
    • คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์

    ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูล เช่น

    • จุดเริ่มต้นของอาการ
    • อาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว
    • ความรุนแรงของอาการ
    • สิ่งที่อาจทำให้อาการของคุณดีขึ้นหรือแย่ลง

    เผยแพร่เมื่อ: 26 ต.ค. 2020

    แชร์