เลือกหัวข้อที่อ่าน
- โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ คืออะไร?
- เส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ มีอาการอย่างไร?
- สาเหตุที่เกิดโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เกิดจากอะไร?
- ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ มีอะไรบ้าง?
- การวินิจฉัยโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
- การรักษาโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ คืออะไร?
โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (carpal tunnel syndrome) เกิดขึ้นจากการกดทับบริเวณเส้นประสาทมีเดียน ที่อยู่ในโพรงเส้นประสาทฝ่ามือ โพรงฝ่ามือตั้งอยู่ตรงข้อมือมีทั้งกระดูกและเส้นเอ็น ปัจจัยหลายอย่างอาจส่งผลให้เป็นโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมืออย่างเช่น โครงสร้างข้อมือ โรคประจำตัว หรือการใช้มือข้างใดข้างหนึ่งซ้ำ ๆ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
เส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ มีอาการอย่างไร?
อาการทั่วไปของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ คือความรู้สึกชาบริเวณนิ้วหรือมือ หรือปวดแสบเหมือนถูกเข็มทิ่ม บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง แต่จะไม่เกิดขึ้นกับนิ้วก้อย อาการจะเกิดขึ้นเยอะช่วงกลางวัน ในขณะที่กำลังทำกิจวัตรประจำวันเช่นขับรถ หรือการหยิบจับสิ่งของ อย่างเช่นการถือโทรศัพท์หรือหนังสือพิมพ์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการช่วงตอนนอน เนื่องจากการงอข้อมือโดยไม่รู้ตัว แล้วทำให้เกิดอาการชาจนปลุกผู้ป่วยและต้องสะบัดมือ ในขณะเดียวกันอาการปวดอาจส่งผลให้มีการตื่นช่วงกลางคืน โดยที่ผู้ป่วยจะสามารถสังเกตุ ได้จากอาการเหน็บชาในช่วงเช้า ความรู้สึกชาอาจจะมีมากขึ้นหลังจากอาการทรุดลง อาการชาบริเวณมือ อาจทำให้มืออ่อนแรง และทำให้หยิบจับสิ่งของจะหล่นจากมือทันที
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หากพบว่าอาการเหล่านี้รบกวนกิจวัตรปร ะจำวัน และวงจรการหลับ (sleep cycle) หากไม่ได้รับการรักษา โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมืออาจะส่งให้เส้นประสาท และกล้ามเนื้อถูกทำลายอย่างถาวร
สาเหตุที่เกิดโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เกิดจากอะไร?
เส้นประสาทมีเดียนคือเส้นประสาทหลักที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อที่ช่วยเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ และยังทำหน้าที่รับความรู้สึกบริเวณนิ้วหัวแม่มือถึงนิ้วต่างๆ เช่น นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง แต่ไม่รวมนิ้วก้อย การระคายเคืองหรือการกดทับที่บริเวณเส้นประสาทมีเดียน อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ สาเหตุอื่นๆที่เป็นต้นเหตุในการเกิดโรคนี้คือ กระดูกข้อมือหัก (wrist fracture) และ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) ซึ่งโรคเหล่านี้อาจก่อให้เกิดการบวมและการอักเสบ แต่ไม่พบวสาเหตุจำเพาะที่ก่อให้เกิดโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เพราะอาจจะเกิดจากปัจจัยหลายๆด้านรวมกัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ มีอะไรบ้าง?
ปัจจัยเหล่านี้อาจจะไม่ได้เป็นสาเหตุรหลักในการเกิดโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ แต่อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการอักเสบแก่เส้นประสาทมีเดียน
ปัจจัยโครงสร้างร่างกาย (Anatomic factors) - เมื่อเกิดการหักและการเคลื่อนบริเวณกระดูกข้อมือ รวมถึงโรคข้ออักเสบที่อาจก่อให้เกิดการแปลงรูปของกระดูกข้อมือ สิ่งเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดการกดทับ ที่เส้นประสาทมีเดียน นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีโพรงเส้นประสาทฝ่ามือ (carpal tunnel) ที่มีขนาดเล็ก อาจจะมีความเสี่ยงที่สูงในการเป็นโรคนี้
- เพศหญิง - โพรงเส้นประสาทฝ่ามือของผู้หญิงมีขนาดเล็กกว่าผู้ชาย ดังนั้นผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคนี้ ได้มากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงที่เป็นโรคนี้มักจะมีโพรงเส้นประสาทฝ่ามือที่เล็กกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้เป็นโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
- ภาวะสุขภาพที่ทำลายเส้นประสาท - ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงสูงที่เส้นประสาทจะโดนทำลายและ ส่งผลให้เกิดภาวะเส้นประสาทมีเดียนได้รับความเสียหาย
- การอักเสบ (Inflammatory conditions) - โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) ส่งผลกระทบต่อเส้นเอ็นที่ข้อมือ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อเส้นประสาท
จากการวิจัยที่ผ่านมามีข้อมูลว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือและการใช้ยาบางชนิด อย่างเช่นยากลุ่มแอนแอสโทรโซล (Arimidex) ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเต้านม
โรคอ้วน คือหนึ่งในปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
- ภาวะการคั่งน้ำ (Changes in fluid retention) อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเส้นประสาทมีเดียน และส่งผลให้มีการกดทับที่โพรงเส้นประสาทฝ่ามือ ภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นโดยทั่วไปช่วงการตั้งครรภ์ แต่จะหายไปเองหลังจากการตั้งครรภ์สิ้นสุดลง
- ภาวะทางการแพทย์อื่นๆ - ระยะหมดประจำเดือน โรคของต่อมไทรอยด์ (thyroid disorders) ภาวะไตวายและภาวะบวมน้ำเหลือง (lymphedema) อาจก่อให้เกิดการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
ปัจจัยจากการทำงาน (Workplace factors) - งานที่จำเป็นต้องใช่้ข้อมือทำงานมากๆ จะส่งผลให้เกิดการกดทับที่เส้นประสาทมีเดียน อย่างเช่นการทำงานที่ใช้เครื่องมือหรือการทำงานในสายการผลิต การทำงานรูปแบบนี้อาจทำอันตรายหรือทำให้โพรงเส้นประสาทฝ่ามือถูกทำลายมากขึ้น และอาการจะทรุดลงในสภาพอากาศที่เย็น
มีหลักฐานจากข้อมูลการวิจัยว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการเกิดการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือกับการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ และยังบอกว่าอาจเกิดจากการใช้เมาส์มากกว่าการใช้แป้นพิมพ์แต่ไม่มีข้อมูลอ้างอิงที่เพียงพอ ในการสนับสนุนว่าการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานนั้นมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับอาการโรค
การวินิจฉัยโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
แพทย์จะทำการตรวจสอบลักษณะอาการ (symptoms pattern) อย่างเช่นมีอาการปวดที่นิ้วไหนบ้าง หากผู้ป่วยมีอาการปวดที่นิ้วก้อย อาจเป็นลักษณะอาการของโรคอื่นๆ นอกเหนือจากโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายของผู้ป่วย ด้วยการทดสอบกล้ามเนื้อมือและความรู้สึกของนิ้วแต่ละนิ้ว การตรวจด้วยการงอ การกด หรือการเคาะเบาๆบริเวณเส้นประสาทจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแสดงอาการ ในบางครั้งจะมีการใช้เครื่องเอกซ์เรย์ในการตรวจ เพื่อหาความเป็นไปได้ของการเป็นโรคข้อต่ออักเสบหรือการหักของกระดูกข้อมือ บางครั้งแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยทำการตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (electromyography)
สำหรับการตรวจชนิดนี้ แพทย์จะทำการสอดเข็มที่เป็นขั้วไฟฟ้า (electrode-needle) ในบริเวณกล้ามเนื้อที่ต้องการ การตรวจแบบนี้จะช่วยประเมินความสามารถในการยืดหดของกล้ามเนื้อผ่านการใช้คลื่นไฟฟ้าและยังสามารถประเมินความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อเส้นประสาทมีเดียน นอกจากนี้ยังมีการตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าในรูปแบบอื่นๆ อย่างเช่นการตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท (nerve conduction study) โดยแพทย์จะทำการพันขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วในจุดที่ต้องการตรวจบนตัวผู้ป่วย และส่งกระแสไฟฟ้าระดับเบาไปตามเส้นประสาทมีเดียนเพื่อจะช่วยบ่งชี้ว่ากระแสไฟฟ้า(electrical impulse) ที่ส่งผ่านไปยังโพรงประสาทฝ่ามือมีการคลื่อนไหวได้ช้าลงหรือไม่วิธีตรวจนี้สามารถช่วยในการวินัจฉัย โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
การรักษาโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะแรกของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง อย่างเช่นการพักการใช้มือข้างที่มีอาการ การหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม ที่อาจให้ทำอาการทรุดลง และการประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม
นอกจากนี้ยังมีทางเลือกกรรักษา อย่างเช่น การใช้เฝือกพยุงข้อมือ (wrist splinting) การใช้ยาและการผ่าตัด การใช้เฝือกพยุงข้อมือ (wrist splingting) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาแบบประคับประคอง (conservative treatment) ที่สามารถช่วยรักษาอาการในระดับไม่รุนแรงจนถึงอาการระดับปานกลางที่เป็นๆหายๆช่วงระยะเวลาไม่เกิน 10 นาที แนะนำให้ผู้ป่วยนัดพบแพทย์หากมีความรู้สึกชาบริเวณฝ่ามือ
การรักษาแบบไม่ผ่าตัดเหล่านี้อาจจะทำมาใช้ในการรักษาโรคในระยะเริ่มต้น
การใช้เฝือกพยุงข้อมือ (wrist splinting) คือวิธีการรักษาด้วยการวางข้อมือนิ่งๆในขณะนอนหลับ เพื่อลดอาการปวด หรืออาการชาในช่วงกลางคืน การใช้ Night splint หรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้ข้อมืออยู่ตำแหน่งปรกติในเวลานอน ก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ และยังสามารถนำมาป้องกันอาการช่วงเวลากลางวันอีกด้วย
การใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs - NSAIDs) - กลุ่มยาไอบูโพรเฟน อย่างเช่น Advil และ Motrin IB อาจจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในระยะสั้น
- ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) - ในบางครั้งแพทย์จะแนะนำการฉีดยาด้วยตัวยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่โพรงประสาทฝ่ามือ และจะมีการใช้อุลตราซาวด์ด้วยในวิธีนี้
- ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์จะช่วยบรรเทาอาการกดทับบริเวนเส้นประสาทมีเดียน ช่วยให้อาการปวดลดลง การทำงานของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ คือจะช่วยลดอาการอักเสบและบวมที่เกิดขึ้น ในการรักษาโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ การใช้ยาฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์มีประสิทธิภาพในการรักษาดี กว่าการใช้ยาแบบเดียวกันแต่เป็นชนิดกิน
มีหลักฐานกล่าวว่าการทำการรักษาโรคข้อต่ออักเสบอาจมีส่วนช่วยลดอาการของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ โดยเฉพาะในกรณีที่โรคเกิดจากผลพวงของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือการอักเสบอื่นๆที่ข้อ
ในบางครั้งแพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ หรือการไม่ตอบสนองต่อการรักษารูปแบบอื่นๆ การผ่าตัดจะช่วยบรรเทาการกดทับด้วยการผ่าตัดเอ็นที่กดทับเส้นประสาทมีเดียน
ทางเลือกการผ่าตัดสำหรับการรักษาโรคมีทั้งหมดสองชนิดคือ การผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคปและการผ่าตัดทั่วไป สำหรับการผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคป (endoscopic surgery)ศัลยแพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีกล้องขนาดเล็ก ในการตรวจโครงสร้างด้านในของโพรงเส้นประสาทฝ่ามือ ศัลยแพทย์จะทำการตัดเส้นเอ็นเดียว หรือสองเส้นเอ็นที่อยู่บนฝ่ามือหรือข้อมือของผู้ป่วย ในบางครั้งจะมีการใช้เครื่องมืออุลตราซาวด์แทนการใช้เทเลสโคปในการช่วยตัดเส้นเอ็น ทางเลือกการผ่าตัดแบบที่สองคือการผ่าตัดทั่วไปศัลยแพทย์จะทำการกรีดฝ่ามือของผู้ป่วยที่โพรงเส้นประสาทฝ่ามือ และกรีดทะลุเส้นเอ็นเพื่อตัดส่วนดังกล่าวจากการกดทับเส้นประสาท