ทำรากฟันเทียม (Dental Implant) ชนิดของรากฟันเทียม เทคนิคการรักษา

การทำรากฟันเทียม (Dental Implant)

การใส่รากฟันเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุด จุดประสงค์ของการทำฟันแบบรากเทียม คือการรักษาโดยการใส่รากฟันเทียมเพื่อแทนที่ฟันธรรมชาติที่เกิดปัญหาอันเนื่องจากฟันผุ โรคเหงือกหรืออุบัติเหตุ เป็นต้น

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน

การใส่รากฟันเทียม คืออะไร?

รากฟันเทียม คือการรักษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้วัสดุที่ทำจากไททาเนียมที่มีรูปร่างคล้ายรากฟัน ที่ใช้ทดแทนฟันที่หายไปในผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยี ทางด้านรากเทียมมีการพัฒนาไปมาก ในอดีตการทํารากเทียม นอกจากจะยุ่งยากแล้ว ยังใช้เวลาในการรักษานานอีกด้วย ในอดีตการทําฟันรากเทียมนอกจากจะยุ่งยากแล้วยังใช้เวลาในการรักษานานอีกด้วย อาจจะต้องใช้เวลาถึงครึ่งปีหรือมากกว่านั้นแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านรากเทียม พัฒนาไปไกลทำให้สามารถย่นระยะเวลาการรักษาได้อย่างรวดเร็วยิ่งกว่าเดิม

การพัฒนาเทคโนโลยีรากฟันเทียม

รากเทียมในปัจจุบันมีการยึดติดกับกระดูกได้เร็วและเทคนิคในการฝังและใส่ฟัน ซึ่งเอื้อให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการรักษาได้เร็วและมีประสิทธิภาพ ในบางรายผู้รักษาสามารถมีฟันกลับไปได้ใน 1 วัน หรืภายใน 1 อาทิตย์

วัตถุประสงค์และประโยชน์ของรากฟันเทียม

ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุด จุดประสงค์ของการทำฟันแบบรากเทียม คือการรักษาโดยการใส่รากฟันเทียมเพื่อแทนที่ฟันธรรมชาติที่เกิดปัญหาอันเนื่องจากฟันผุ โรคเหงือกหรืออุบัติเหตุ เป็นต้น รากเทียมผลิตขึ้นจากไทเทเนียมที่สามารถเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี

การออกแบบและอายุการใช้งานของครอบฟัน

โดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นคนออกแบบรูปร่างและสีของครอบฟันบนรากเทียมให้มีความใกล้เคียงกับสีของฟันธรรมชาติมากที่สุด การใส่ฟันรากเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมอบประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ทำให้คนไข้สามารถรับประทานอาหารได้ทุกประเภท โดยไม่จำเป็นต้องกังวลเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น ข้อดีอีกอย่างของการทำฟันรากเทียมคือสามารถช่วยเรื่องการพูดออกเสียงได้อีกด้วย

ประโยชน์อื่น ๆ ของการทำฟันรากเทียมคือช่วยลดการละลายของสันกระดูกที่รองรับฟันปลอม ทำให้สามารถทำความสะอาดฟันได้ง่าย เพราะการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ทำให้คนไข้ยิ้มได้อย่างมั่นใจเพราะมีความสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ ดังนั้นทันตกรรมรากเทียมจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและมีแนวโน้มว่าจะมาแทนที่การทำสะพานฟันเพราะการทำรากเทียมไม่ส่งผลข้างเคียงต่อฟันที่เหลืออยู่ ในขณะที่การทำสะพานฟันจะส่งผลกระทบต่อฟันธรรมชาติข้างเคียง

การเปรียบเทียบกับการทำสะพานฟันและการละลายของกระดูก

เนื่องจากการทำสะพานฟันคือการเสริมฟันบริเวณด้านบนของเหงือก หลังจากเวลาผ่านไปกระดูกที่ทำหน้าที่รองรับรากฟันของซี่ที่ได้รับการถอนจะเกิดการละลาย ส่งผลให้เกิดการยุบตัวของกระดูกบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะจะกระทบบริเวณฟันหน้าด้านบน ส่งผลให้โครงหน้าเปลี่ยนและดูเกินวัย แต่การทำฟันรากเทียมจะช่วยรักษากระดูกรองรับรากฟันไว้และช่วยคงไว้ซึ่งกระดูกส่วนนั้นให้คงอยู่สภาพเดิมและไม่ละลายParts of the dental implant equipment-ชิ้นส่วนของอุปกรณ์การใส่รากฟันเทียม

ส่วนประกอบของรากเทียม มีอะไรบ้าง?

  • ส่วนที่ฝังลงไปในกระดูก (Implant body or fixture) ส่วนที่ฝังลงในกระดูก คือส่วนที่มีลักษณะคล้ายสกรูหรือน๊อตและจะฝังจมลงไปในกระดูกขากรรไกร ช่วยในการยึดติดของกระดูกขากรรไกรเปรียบเสมือนรากฟัน
  • ส่วนยึดต่อระหว่างส่วนที่ฝังลงไปในกระดูก (Implant abutment) ส่วนยึดต่อกับส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ทำจากวัสดุไททาเนียมหรือเซรามิค ทำหน้าที่เหมือนส่วนของตัวฟัน
  • ส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ (Prosthetic component) ส่วนทันตกรรมประดิษฐ์คือส่วนของฟันเทียมที่ใช้ยึดกับอะบัตเมนท์ด้วยกาวทางทันตกรรมหรือสกรูในการทำครอบสะพานฟันหรือฟันเทียมที่สามารถถอดได้

รากเทียมมีกี่ชนิด ?

รากเทียมแบ่งไดเป็น 3 ชนิดหลักและการใช้แต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับสภาพภายในช่องปากและความจำเป็น 

  • การฝังรากเทียมโดยทั่วไป (Conventional implant)
    สำหรับการทำฟันรากเทียมชนิดนี้พบว่ามีข้อจำกัดน้อยมากหากมีการวางแผนการรักษาไว้อย่างดี ปัญหาที่พบได้บ่อยคือ คนไข้บางรายมีปริมาณของกระดูกที่น้อยมากๆ ในบริเวณที่จะประสงค์จะทำการฝังรากเทียม ดังนั้นจึงต้องมีการปลูกกระดูกก่อนและคนไข้บางรายอาจมีเหตุให้ปลูกกระดูกไม่ได้
  • การฝังรากเทียมทันทีหลังจากทำการถอนฟันธรรมชาติออก (Immediate implant)
    การทำฟันแบบรากเทียมด้วยวิธีนี้สามารถช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำลงได้อย่างมากและยังช่วยลดการละลายของกระดูก ลดความเสี่ยงในการการเกิดเหงือกร่น อย่างไรก็ตามคนไข้ที่จะสามารถทำรากเทียมชนิดนี้ได้จำเป็นต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากเทียมสามารถยึดได้และจะต้องไม่พบพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันในตำแหน่งฟันที่จะถอน โดยตำแหน่งฟันที่จะทำการใช้ได้คือฟันหน้าหรือฟันกรามน้อย
  • การต่อส่วนของทันตกรรมประดิษฐ์ (Immediate loaded implant)
    การทำรากเทียมชนิดนี้คือการทำครอบฟันทั้งแบบชั่วคราวหรือถาวรไปที่รากเทียมทันทีที่ทำการฝังรากเทียม ข้อดีของการใส่รากฟันเทียมวิธีนี้คือจะช่วยร่นระยะเวลาของการรักษาลงไปได้ค่อนข้างเยอะ และยังดูสวยงามเพราะคนไข้จะมีฟันอยู่ตลอดเวลาในทางกลับกันก็ยังมีข้อจำกัดอีกมากหากจะใช้วิธีนี้

    ทั้งนี้ ในแต่ละเทคนิคและรูปแบบของการใส่รากฟันเทียมขึ้นอยู่กับสภาพคนไข้นั้นๆ โดยทันตแพทย์ผู้ทําการรักษาจะตรวจและประเมินเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะกับแต่ละท่าน

เทคนิคการรักษาแบบใส่รากฟันเทียม

การรักษาโดยการใส่รากฟันเทียมในปัจจุบัน มีเทคนิคในการรักษา ดังนี้

  1. การออกแบบวางแผนการรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อความแม่นยําและมีประสิทธิภาพสูงสุด เราสามารถเห็นภาพเคสการรักษาตั้งแต่เริ่มจนจบ และสามารถดูอวัยวะข้างเคียงเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายได้
  2. การใส่รากฟันเทียมทันทีหลังถอนฟัน เพื่อให้คนไข้ลดการทําผ่าตัด และความบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้น
  3. การบูรณะด้วยการทำฟันรากเทียมทั้งปาก ในเทคนิคที่เรียกว่า All on4 โดยการใส่รากเทียม เพื่อเป็นหลักยึดฟันปลอมทั้งปากแบบติดแน่น และผู้ป่วยสามารถได้ฟันภายในเวลา 1 อาทิตย์
  4. การใส่ฟันชั่วคราวแบบติดแน่นบนรากเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีฟันใช้ขณะรอรากเทียมยึดติดกับกระดูก
  5. การปลูกกระดูกพร้อมกับการใส่รากเทียม ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต่าง ๆ ในช่องปาก หรือในโพรงอากาศ

อาการแบบใดที่เหมาะสมแก่การทำรากเทียม?

คนที่เหมาะกับการรักษาแบบใส่รากฟันเทียมคือคนที่ต้องการให้ฟันดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด รวมถึงต้องการยิ้มและเสริมสร้างความมั่นใจ ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวให้ดีขึ้น หรือมาทดแทนฟันที่เหลืออยู่ซึ่งไม่แข็งแรงและไม่สามารถทำหน้าที่เป็นฟันหลักยึดให้กับฟันเทียมชนิดอื่นๆ รวมถึงคนไข้ที่สามารถทำฟันปลอมแบบถอดแต่ไม่ประสบผลสำเร็จในการทำ

ดังนั้นการรักษาโดยการใส่รากฟันเทียมจึงสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ อย่างการใส่รากเทียมเพื่อทดแทนฟันที่หายไป 1-2 ซี่ การทำรากเทียมถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน นอกจากนี้รากเทียมยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้รากฟันเทียมชนิดถอดได้อีกด้วย

ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการทำฟันแบบรากเทียม?

โดยทั่วไปผู้ทีสูญเสียฟันแท้ไปสามารถรักษาด้วยรากเทียมได้ทุกคนและทุกช่วงอายุ แต่ไม่แนะนำให้ทำในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปีเพราะกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ในกรณีที่คนไข้ตั้งครรภ์ ควรคลอดบุตรก่อนทำรากเทียม โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น คนไข้โรคเบาหวานชนิดที่ไม่สามารถควบคุมได้ คนไข้โรคมะเร็งที่รับการรักษาด้วยการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร คนไข้โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง คนที่เป็นป่วยเป็นโรคลูคิเมีย หรือป่วยด้วยโรคไฮเปอร์ไทรอยด์จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อนทำการฝังรากเทียม

นอกจากนี้คนไข้ที่รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หรือป่วยด้วยโรคทางจิตเภท หรือมีอาการไขข้ออักเสบรุนแรง รวมถึงผู้มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้ประสบปัญหาการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเองได้ คนไข้ที่ทานยาบางชนิด เช่น ยารักษากระดูกพรุนบางตัว หรือผู้ที่สูบบุหรี่จัด ไม่ควรเข้ารับการทำรากเทียม เพราะจะมีผลต่อความสำเร็จในการรักษา 

การเตรียมตัวเข้ารับการทำรากฟันเทียม

คนไข้ที่จะทำการเข้ารับการรักษาด้วยการทำรากฟันเทียม จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจและประเมินจากทันตแพทย์เฉพาะทางอย่างละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบดเคี้ยวและขั้นตอนการทำทันตกรรมประดิษฐ์ จะทำการเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ หากคนไข้มีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาอยู่ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ นอกจากนั้นการดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ดีเป็นสิ่งสำคัญที่คนไข้ควรปฏิบัติก่อนทำการเข้ารับการรักษา

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม เป็นอย่างไร?

  • ส่วนที่ 1 -   เริ่มต้นขั้นตอนด้วยการฝังฟันรากเทียมจะใช้เวลาการทำประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้น 5-7 วันทันตแพทย์จะทำการนัดคนไข้เพื่อกลับมาติดตามอาการและเช็คแผล  
  • ส่วนที่ 2  - หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนส่วนที่ 1 ต่อไปคือการใส่ฟันบนรากเทียม ส่วนนี้จะจะใช้เวลาการทำห่างจากส่วนที่ 1 ประมาณ 2 เดือนหรือมากกว่า ระยะเวลาในการรักษาของส่วนนี้จะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน รวมกระบวนการรับส่งงานจากแลป 

สาเหตุที่จำเป็นต้องเว้นระยะเวลาการทำระหว่างส่วนที่ 1 กับส่วนที่ 2 อย่างน้อย2 เดือน พราะจะได้มีเวลาเพียงพอให้รากเทียมสามารถยึดติดกับกระดูฟันให้แน่น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหารากเทียมที่อาจหลุดได้ แต่ในบางครั้ง สามารถทำรากเทียมแบบใช้ทันทีได้ภายใน อาทิตย์ ทั้งนี้ จะต้องปรึกษาความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย 

หมายเหตุ: กรณีหากเป็นการปลูกกระดูกที่มีความซับซ้อน อาจจะมีความจำเป็นต้องปลูกกระดูกทิ้งไว้ 3-6 เดือน (โดยเฉพาะสำหรับกรณีที่กระดูกหายไปเป็นจำนวนมาก) หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ถึงทำการเริ่มทำส่วนที่ 1 หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำรากเทียมคนไข้จำเป็นต้องนัดพบทันตแพทย์เพื่อทำการเช็ครากเทียมเป็นประจำ ทุก 6 เดือน 

Procedure for making dental implants-ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม
ข้อดีของการทำรากฟันเทียม มีอะไรบ้าง?

  • ยิ้มได้อย่างมั่นใจและเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี  
  • สวยงามอย่างเป็นธรรมชาติและมีการใช้งานที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด 
  • ไม่จำเป็นต้องทำการกรอเพื่อแต่งฟันข้างเคียง  
  • รับประทานอาหารที่คุณชื่นชอบได้ทุกชนิดได้อย่างไร้กังวล 
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว ดังนั้นจึงทำให้อาหารย่อยได้ดีขึ้น
  • พูดออกเสียงได้ชัดถ้อยชัดคำเป็นธรรมชาติ ไร้ปัญหาด้านการออกเสียง โดยเฉพาะหากเทียบกับการทำฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • ช่วยเสริมประสิทธิภาพการใส่ฟันเทียมแบบถอดให้แน่นกระชับและใส่สบายมากยิ่งขึ้น 
  • ป้องกันการสูญเสียฟันและกระดูกข้างเคียง
  • ช่วยบูรณะโครงสร้างของใบหน้าเพื่อความสมบูรณ์แบบมากขึ้น
  • เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก
  • มีความคงทนและอยู่ถาวร

การใส่รากฟันเทียมสามารถใช้บูรณะในช่องปากได้หลายแบบ กล่าวคืออะไร?

  • บูรณะฟัน 1 ซี่
  • สะพานฟันบนรากเทียม
  • บูรณะฟันทั้งปากแบบติดแน่น
  • เป็นหลักยึดฟันปดได้ทั้ลอมถองปาก

อายุการใช้งานรากเทียมและการดูแลรักษา 

รากเทียม ทำมาจากวัสดุไททาเนียมซึ่งมีความคงทน ดังนั้นอายุการใช้งานจะอยู่ที่ตัวคนไข้ในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก รากเทียมจะไม่เกิดการผุแต่อาจส่งผลให้เกิดโรคเหงือกอักเสบหากดูแลสุขภาพช่องปากได้ไม่ดี  การใส่รากฟันเทียมจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเหมือนการดูแลรักษาฟันธรรมชาติ เช่นการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน และการเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ หากคนไข้ดูแลสุขภาพช่องปากได้ดีรากเทียมจะอยู่คงทนและถาว

Dental Implant-อายุของรากฟัน

เผยแพร่เมื่อ: 22 ก.พ. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ทพญ. กุลนันทน์ ดำรงวุฒิ

    ทพญ. กุลนันทน์ ดำรงวุฒิ

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมการรักษารากฟัน
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมรักษารากฟัน
  • Link to doctor
    ผศ.ทพ. ดร. ศุภศันส์ ทิศทวีรัตน์

    ผศ.ทพ. ดร. ศุภศันส์ ทิศทวีรัตน์

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมการรักษารากฟัน
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมรักษารากฟัน, ทันตกรรมหัตถการ
  • Link to doctor
    ทพญ. จอมขวัญ แสงบัวแก้ว

    ทพญ. จอมขวัญ แสงบัวแก้ว

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมการรักษารากฟัน
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมรักษารากฟัน
  • Link to doctor
    ผศ.ทพญ. อินทรา วงศ์เยาว์ฟ้า

    ผศ.ทพญ. อินทรา วงศ์เยาว์ฟ้า

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมการรักษารากฟัน
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมรักษารากฟัน
  • Link to doctor
    ทพ. พรวิทย์ จารุกิจโสภา

    ทพ. พรวิทย์ จารุกิจโสภา

    • ทันตกรรม
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมรักษารากฟัน
  • Link to doctor
    ทพญ. จิริหทัย พึ่งบุญ ณ อยุธยา

    ทพญ. จิริหทัย พึ่งบุญ ณ อยุธยา

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมการรักษารากฟัน
    ทันตกรรมรักษารากฟัน