อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ระบบน้ำเหลืองผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า lymphocytes ซึ่งจะต่อสู้กับเชื้อโรคและป้องกันเราจากโรคและการติดเชื้อ  เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเกิดการกลายพันธุ์และนําไปสู่โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ระบบน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นรวมไปถึงต่อมน้ำเหลือง ต่อมไทมัส ม้าม และไขกระดูก  ผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า lymphocytes ซึ่งจะต่อสู้กับเชื้อโรคและป้องกันเราจากโรคและการติดเชื้อ  เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเกิดการกลายพันธุ์ นําไปสู่โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin's lymphoma) (หรือโรคฮอดจ์กินเดิม Hodgkin's disease)
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดไม่ใช่ฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin's lymphoma) ซึ่งแบ่งได้อีกหลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์


อาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณต่าง ๆ เช่น ที่คอ รักแร้ กระเพาะอาหาร และขาหนีบบวม สัมผัสแล้วพบก้อนใต้ผิวหนังแต่ไม่ก่อให้เกิดอาการปวดแต่อย่างใด
  • มีไข้
  • น้ำหนักตัวลด
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • มีก้อนตามร่างกาย

ภาพเซลล์มะเร็งขนาดใหญ่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

เชื่อว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อบางชนิด การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • อายุ พบได้ทุกช่วงวัย
  • เพศ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • การติดเชื้อไวรัส Epstein-Barr และเชื้อ Helicobacter pylori เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

 

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • การซักประวัติและการตรวจร่างกาย แพทย์จะสัมผัสที่บริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบเพื่อดูว่าบวมหรือไม่และตรวจดูว่าตับหรือม้ามโตหรือไม่
  • การตรวจเลือด
  • การตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลือง
  • การเจาะไขกระดูกและการตรวจชิ้นเนื้อ
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย เช่น CT สแกน MRI สแกน และ PET scan

การตรวจชิ้นเนื้อสามารถระบุชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นอยู่ เพิ่มงความแม่นยําของการวินิจฉัย และช่วยวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)

การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

วิธีการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคและสุขภาพของผู้ป่วย  การรักษาที่มีประสิทธิภาพควรฆ่าเซลล์มะเร็งให้ได้มากที่สุดและทําให้โรคสงบลง

  • การเฝ้าระวัง เหมาะสําหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่โตช้า จึงอาจต้องรอจนกว่าจะมีอาการ ระหว่างนั้นควรไปตามนัดแพทย์เป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามเฝ้าดูอาการ
  • รังสีรักษา เพื่อทําลายเซลล์มะเร็งด้วยการใช้ลําแสงพลังงานสูง
  • เคมีบําบัด เป็นการให้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่เติบโตอย่างรวดเร็วในรูปแบบของยาเม็ดหรือทางหลอดเลือดดำ
  • การปลูกถ่ายไขกระดูกหรือการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เป็นการแทนที่ไขกระดูกด้วยเซลล์ที่แข็งแรงจากผู้บริจาคหรือตัวผู้ป่วยเอง
  • การรักษาอื่น ๆ เช่น ยาพุ่งเป้า การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด และการรักษาแบบ chimeric antigen receptor (CAR)-T cell therapy

 

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

จดอาการที่เป็น รวมถึงเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อชีวิต ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้ และคําถามที่ต้องการถามแพทย์
ตัวอย่างคําถามสำหรับสอบถามแพทย์

  • ฉันเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ ถ้าเป็น ฉันเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองประเภทใดและขั้นไหน
  • อาการรุนแรงหรือไม่
  • ควรทําการทดสอบและเข้ารับการรักษาอะไรบ้าง
  • ผลข้างเคียงของการทดสอบและการรักษามีอะไรบ้าง
  • การทดสอบและการรักษาใช้เวลานานแค่ไหน
  • หลังการรักษา สามารถกลับไปทํางานต่อหรือกลับมาทํากิจวัตรประจําวันได้หรือไม่




บทความโดย
พญ.ภาวินี น้อยนารถ

อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้ารอายุรศาสตร์โรคเลือด
ประวัติแพทย์

 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

  1. คำถาม: มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คืออะไร
    คำตอบ: มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว เนื่องจากระบบน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นรวมไปถึงต่อมน้ำเหลือง ต่อมไทมัส ม้าม และไขกระดูก  ผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า lymphocytes ซึ่งจะต่อสู้กับเชื้อโรคและป้องกันเราจากโรคและการติดเชื้อ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเกิดการกลายพันธุ์ นําไปสู่โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  2. คำถาม: อาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นอย่างไร
    คำตอบ: มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตในบริเวณต่าง ๆ เช่น ที่คอ รักแร้ กระเพาะอาหาร และขาหนีบบวม สัมผัสแล้วพบก้อนใต้ผิวหนังแต่ไม่มีอาการปวด มีไข้ น้ำหนักตัวลด เหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นต้น
  3. คำถาม: อะไรคือสาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
    คำตอบ: เชื่อว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อบางชนิด การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
  4. คำถาม: การตรวจหามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
    คำตอบ: แพทย์จะสัมผัสที่บริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบเพื่อดูว่าบวมหรือไม่และตรวจดูว่าตับหรือม้ามโตหรือไม่ การตรวจเลือด การตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลือง การเจาะไขกระดูกและการตรวจชิ้นเนื้อ การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย เช่น CT สแกน MRI สแกน และ PET scan
  5. คำถาม: วิธีรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
    คำตอบ: วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคและสุขภาพของผู้ป่วย การรักษาที่มีประสิทธิภาพควรฆ่าเซลล์มะเร็งให้ได้มากที่สุดและทําให้โรคสงบลง เช่น การเฝ้าระวัง เหมาะสําหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่โตช้า จึงอาจต้องรอจนกว่าจะมีอาการ ใช้รังสีรักษาเพื่อทําลายเซลล์มะเร็ง ให้เคมีบําบัดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ปลูกถ่ายไขกระดูก หรือการรักษาโดยใช้ยามุ่งเป้า การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด และการรักษาแบบ chimeric antigen receptor (CAR)-T cell therapy

เผยแพร่เมื่อ: 16 ก.พ. 2023

แชร์