มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่พัฒนาในเซลล์เมลาโนไซต์ที่ทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดสีบนผิวหนัง มะเร็งชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะในบริเวณจมูกและลำคอ สาเหตุของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมายังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ถือเป็นปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้
อาการโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาสามารถเกิดขึ้นในบริเวณใด ๆ ก็ได้ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่ต้องเผชิญกับแสงแดดเช่น ใบหน้า แขน หลัง และขา ผู้ที่มีผิวสีเข้มอาจมีมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาซ่อนอยู่ในบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดดเช่น ฝ่ามือ เท้า และเล็บเท้า
ผู้ที่เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ ในช่วงแรกอาจพบการเปลี่ยนแปลงของไฝที่มีอยู่ หรือการพัฒนาของเม็ดสีใหม่ หรือการเติบโตที่ผิดปกติบนผิวหนัง คุณอาจเพิ่มความตระหนักถึงมะเร็งผิวหนังหากไฝของคุณมีอาการดังต่อไปนี้
- มีรูปร่างผิดปกติ
- มีเส้นขอบที่ผิดปกติ
- เปลี่ยนสี
- เป็นการไฝที่เกิดขึ้นใหม่และมีขนาดใหญ่กว่าหกมิลลิเมตร
- เกิดการเปลี่ยนแปลง
- เกิดอาการอื่นๆ เช่น เลือดออก หรือคัน
มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาที่ซ่อนอยู่
มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกายไม่ว่าจะโดนแสงแดดหรือไม่ก็ตามเช่น
- ใต้เล็บ
- ในปาก
- ในระบบทางเดินอาหาร
- ในทางเดินปัสสาวะ
- ในช่องคลอด
- ในสายตา
เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์
คุณควรพบแพทย์หากสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนผิวหนัง
สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเป็นผลมาจากความผิดปกติของการผลิตเมลาโนไซต์ที่สร้างเม็ดสีผิว ความเสียหายของดีเอ็นเอทำให้เซลล์ใหม่เติบโตอย่างไม่สามารถควบคุมได้และไม่เป็นระเบียบ จึงทำให้เซลล์มะเร็งมีจำนวนมากขึ้น
อย่างไรก็ตามสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้นอกเหนือจากปัจจัยทางพันธุกรรมแล้ว สภาพแวดล้อมและการสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตถือเป็นปัจจัยที่เป็นไปได้ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังอาจรวมถึง
- ผิวขาว
- ประวัติการถูกแดดเผา
- การสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)
- อาศัยอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตรหรือที่สูง
- ไฝหรือไฝที่ผิดปกติ
- ประวัติครอบครัวที่เป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
- ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
การวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
ในการวินิจฉัยเนื้องอกแพทย์จะทำการตรวจร่างกายและอาจทำการตรวจชิ้นเนื้อโดยการตัดตัวอย่างเนื้อเยื่อบางส่วนเพื่อทำการทดสอบ
ในการกำหนดขอบเขตหรือระยะของเนื้องอกแพทย์จะทำการดังต่อไปนี้
- กำหนดความหนาของเนื้องอก
- สังเกตการแพร่กระจายของเนื้องอกไปยังต่อมน้ำเหลือง
- มองหาสัญญาณของมะเร็งในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
การรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
การรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมาขึ้นอยู่กับขนาดและระยะของมะเร็ง แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดนำส่วนที่เป็นมะเร็งออกสำหรับผู้ที่มีมะเร็งขนาดเล็ก การผ่าตัดอาจเป็นวิธีการรักษาเดียวที่จำเป็นสำหรับผู้ที่มีเนื้องอกในระยะเริ่มต้น
สำหรับผู้ที่มีเนื้องอกที่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายการรักษาอาจรวมถึงวิธีการดังต่อไปนี้
- การผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับผลกระทบออก
- ภูมิคุ้มกันบำบัด
- การบำบัดแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์
- การรักษาด้วยรังสี
- เคมีบำบัด
การเตรียมการก่อนการพบแพทย์
ก่อนการนัดหมายคุณควรตระหนักถึงข้อจำกัดก่อนการนัดหมาย และเตรียมข้อมูลบางอย่าง เช่น
- อาการที่เกิดขึ้น
- ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญของคุณ
- ยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่
- คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์