อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษา โรคกระดูกพรุน - Osteoporosis- Symptoms, Causes, Diagnose, Treatment

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคกระดูกที่เกิดจากการขาดการซ่อมแซมกระดูกใหม่หรือซ่อมแซมที่เกิดขึ้นช้า เพื่อทดแทนกระดูกเก่าหรือกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ ทำให้เกิดภาวะกระดูกเปราะและแตกหักง่าย

แชร์

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคกระดูกที่เกิดจากการขาดการซ่อมแซมกระดูกใหม่หรือซ่อมแซมที่เกิดขึ้นช้า เพื่อทดแทนกระดูกเก่าหรือกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ ทำให้เกิดภาวะกระดูกเปราะและแตกหักง่าย โรคกระดูกพรุนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของภาวะนี้มักเพิ่มขึ้นในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญเสียกระดูกและเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ควรได้รับการรักษาที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และรักษาน้ำหนักตัวให้แข็งแรง

โรคกระดูกพรุน มีอาการอย่างไร

ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนในระยะเริ่มต้นอาจไม่พบสัญญาณหรืออาการใด ๆ สัญญาณและอาการของโรคกระดูกพรุนมักเริ่มต้นขึ้นเมื่อกระดูกได้รับผลกระทบแล้ว โดยสัญญาณและอาการดังกล่าวอาจประกอบไปด้วย

  • อาการปวดหลังซึ่งเกิดจากกระดูกสันหลังยุบหรือหัก
  • ความสูงลดลง
  • หลังค่อม
  • กระดูกหักได้ง่าย

เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์

ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนหรือผู้ที่ทานยาคอร์ติโคสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือนควรปรึกษาแพทย์ เช่น เดียวกับผู้ที่มีสมาชิคครอบครัวมีประสบการณ์กระดูกสะโพกหัก

กระดูกพรุน มีสาเหตุเกิดจากอะไร

กระดูกสามารถงอกขึ้นใหม่ได้เนื่องจากเป็นเนื้อเยื่อที่มีชีวิต กระดูกใหม่ถูกสร้างขึ้นเพื่อชดเชยกระดูกที่เก่าหรือหัก กระบวนการนี้อาจช้าลงตามอายุซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการสูญเสียและความเปลี่ยนแปลงของมวลกระดูกที่เร็วขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนมีอะไรบ้าง

มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยฮอร์โมน ปัจจัยด้านอาหาร ปัจจัยด้านยา และปัจจัยการดำเนินชีวิต

  • ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนอาจเกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้หลายอย่าง อันได้แก่
    • เพศ: โรคกระดูกพรุนมักพบมากในผู้หญิง
    • อายุ: ความเสี่ยงของภาวะนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุ
    • ประวัติครอบครัว: ความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีอาการกระดูกสะโพกหัก
    • ขนาดโครงสร้าง: ผู้ที่มีโครงร่างเล็กมีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุน
  • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ระดับของฮอร์โมนที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะนี้ ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขนี้อาจรวมถึง:
    • ฮอร์โมนเพศ
    • ปัญหาต่อมไทรอยด์
    • ต่อมอื่น ๆ
  • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้นในผู้ที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้
    • บริโภคแคลเซียมต่ำ
    • ผู้ที่มีการรับประทานผิดปกติ
    • การผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร
  • ปัจจัยด้านยา โรคกระดูกพรุนอาจเป็นผลมาจากการใช้ยาและสเตียรอยด์ในระยะยาวเพื่อรักษาปัญหาทางการแพทย์ ซึ่งอาจรวมถึงการรักใช้ยาเพื่อรักษาโรคหรือภาวะดังต่อไปนี้
    • โรคมะเร็ง
    • อาการชัก
    • กรดไหลย้อน
    • การปฏิเสธและต่อต้านการปลูกถ่าย
  • เงื่อนไขทางการแพทย์ โอกาสของโรคกระดูกพรุนอาจเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีโรคหรือภาวะดังต่อไปนี้
  • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต พฤติกรรมและความเคยชินบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน เช่น
    • การสูบบุหรี่
    • การไม่เคลื่อนไหวร่างกาย หรือเคลื่อนไหวน้อย
    • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุน

ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงที่สุดของโรคกระดูกพรุนคือกระดูกหักในกระดูกสันหลังหรือสะโพก กระดูกที่หักเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดความพิการซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตภายในหลายปีหลังจากได้รับบาดเจ็บ

โรคกระดูกพรุน มีวิธีการวินิจฉัยอย่างไร

การวินิจฉัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดสัดส่วนของแร่ธาตุในกระดูกโดยใช้เครื่องที่มีรังสีเอกซ์ในระดับต่ำ กระดูกในสะโพกและกระดูกสันหลังมักเป็นเป้าหมายของการทดสอบ

โรคกระดูกพรุน มีวิธีการรักษาอย่างไร

การรักษาขึ้นอยู่กับแนวโน้มโอกาสของการแตกหักของกระดูกภายใน 10 ปี แพทย์อาจไม่สั่งจ่ายยาสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงของการแตกหักของกระดูกต่ำทั้งนี้แพทย์อาจสั่งยาให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการแตกหักของกระดูก โดยยาอาจรวมยาจำพวกต่อไปนี้

  • บิสฟอสโฟเนต (Bisphosphonates)
  • ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal antibody medications)
  • การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน
  • ยาเสริมสร้างกระดูก

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาตัวที่บ้าน

คุณอาจเปลี่ยนวิถีชีวิตบางอย่างเพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนโดย

  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • ป้องกันการหกล้ม

การเตรียมการก่อนการพบแพทย์

ก่อนการนัดหมายคุณควรตระหนักถึงข้อจำกัดก่อนการนัดหมาย และเตรียมข้อมูลบางอย่าง เช่น

  • อาการที่เกิดขึ้น
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญของคุณ
  • ยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่
  • คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์

ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูล เช่น

  • ประสบการณ์กระดูกแตกหรือหัก
  • ความสูงลดลง
  • พฤติกรรมการออกกำลังกาย
  • พฤติกรรมการกิน
  • การทรงตัวและประสบการณ์การล้ม
  • ประสบการณ์การผ่าตัดช่องท้อง
  • ประวัติสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคกระดูกพรุนหรือเคยกระดูกสะโพกหักหรือแตก
  • ยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วิรัตน์ ภิญโญพรพานิช

    นพ. วิรัตน์ ภิญโญพรพานิช

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    โรคเกาต์, โรคกระดูกพรุน, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • Link to doctor
    พญ. ประภาพร พิมพ์พิไล

    พญ. ประภาพร พิมพ์พิไล

    • อายุรศาสตร์
    โรคเบาหวาน, อายุรกรรมทั่วไป, โรคความดันโลหิตสูง, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคกระดูกพรุน, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง