คำแนะนำ เพิ่มโอกาสทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ให้สำเร็จ

คำแนะนำ เพิ่มโอกาสทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ให้สำเร็จ

แพทย์แนะนำให้ผู้ที่ทำเด็กหลอดแก้วเตรียมความพร้อมด้านร่างกายล่วงหน้า 3 เดือนก่อนการทำเด็กหลอดแก้วสำหรับว่าที่คุณแม่ และการผลิตสเปิร์มที่แข็งแรง มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการผสมกับไข่สำหรับว่าที่คุณพ่อ

แชร์

คำแนะนำ เพิ่มโอกาสทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ให้สำเร็จ

สำหรับคู่แต่งงาน การมีลูกคือการเติมเต็มชีวิตครอบครัวให้สมบูรณ์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology: ART) ด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสานฝันการเป็นพ่อแม่คนให้สำเร็จ ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว การปรับไลฟ์สไตล์เพื่อเตรียมความพร้อมทางร่างกายให้เหมาะสมทั้งก่อนและหลังขั้นตอนการทำ จึงมีความสำคัญเพื่อช่วยให้คู่รักเพิ่มอัตราความสำเร็จในการมีลูกน้อยสมใจ

การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) คืออะไร?

การทำเด็กหลอดแก้ว คือ เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ในผู้ที่มีบุตรยากโดยการนำสเปิร์มของพ่อ และไข่ของแม่มาทำการปฏิสนธิในหลอดแก้วภายในห้องปฏิบัติการ จากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่แข็งแรงเข้าไปฝังยังมดลูกของแม่เพื่อให้เจริญเติบโตต่อไปในครรภ์จนถึงวันกำหนดคลอด การทำเด็กหลอดแก้ว หรือการทำ IVF ถือเป็นเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน ช่วยให้คู่รักสร้างครอบครัวในฝันได้อย่างสมบูรณ์

คำแนะนำ ช่วยเพิ่มโอกาสทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ให้สำเร็จ

แพทย์แนะนำให้ผู้ที่ทำเด็กหลอดแก้วเตรียมความพร้อมด้านร่างกายล่วงหน้า 3 เดือนก่อนการทำเด็กหลอดแก้วสำหรับว่าที่คุณแม่ และการผลิตสเปิร์มที่แข็งแรง มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการผสมกับไข่สำหรับว่าที่คุณพ่อ การเตรียมความพร้อมด้านร่างกายทั้งก่อนและหลังการทำเด็กหลอดแก้วจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การตั้งครรภ์ราบรื่น การปรับไลฟ์สไตล์ให้เหมาะสมจะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี คำแนะนำในการเพิ่มความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วมีดังต่อไปนี้

การทานอาหารดีมีประโยชน์

อาหารที่มีประโยชน์จะให้สารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินที่จำเป็นสำหรับการผลิตไข่และสเปิร์มที่แข็งแรง สุขภาพที่แข็งแรงของไข่และสเปิร์มจะเพิ่มโอกาสในการทำเด็กหลอดแก้วได้สำเร็จ ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ควรเพิ่มสัดส่วนอาหารเหล่านี้ในมื้ออาหาร

อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก เร่งไข่ตก สำหรับว่าที่คุณแม่

อาหารบำรุงสุขภาพช่วยบำรุงไข่ บำรุงมดลูก และช่วยเร่งไข่ตก ช่วยบำรุงครรภ์ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ไข่ ช่วยให้ไข่แข็งแรง ช่วยบำรุงการทำงานฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์ให้แข็งแรง ช่วยปกป้องเซลล์ และช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ได้แก่

  • ผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักโขม บล็อกโคลี
  • มันฝรั่ง ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ งาดำ
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ขนมปังไม่ขัดสี เมล็ดฟักทอง ควินัว
  • พืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วแดง ถั่วปากอ้า ถั่วพู ถั่วแขก และถั่วเลนทิล
  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ ราสป์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่
  • ไข่ นม โยเกิร์ต
  • กล้วยหอม มะเขือเทศ
  • ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน
  • อะโวคาโด น้ำมันมะกอก

ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูง อาหารแปรรูป หรืออาหารสำเร็จรูป และควรทานอาหารสดใหม่แทน

อาหารบำรุงสเปิร์มให้แข็งแรง และเคลื่อนไหวเร็วสำหรับว่าที่คุณพ่อ

อาหารบำรุงสุขภาพเพศชายที่เป็นประโยชน์ต่อระบบเจริญพันธุ์ ช่วยให้อสุจิแข็งแรง เคลื่อนไหวเร็ว ช่วยเพิ่มปริมาณอสุจิ ทำให้สามารถหลั่งได้มาก ช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และช่วยให้ปฏิบัติกิจได้นานขึ้น ได้แก่

  • ไข่
  • ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วปากอ้า วอลนัท เมล็ดฟักทอง
  • มะเขือเทศ กระเทียม หอยนางรม เนื้อวัว
  • กล้วย ทับทิม
  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ ราสป์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่
  • ช็อกโกแลต

ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม และออกกำลังกายเป็นประจำ

การมีน้ำหนักตัวเกินกว่าหรือน้อยกว่าค่ามาตรฐาน BMI ไม่เป็นผลดีต่อภาวะเจริญพันธุ์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ที่ดี แพทย์แนะนำให้ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมด้วยการควบคุมค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมสำหรับคนเอเชียคือน้อยกว่า 23.0 กก/ตร.ม การมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน BMI ทำได้โดยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยการออกกำลังกายที่แพทย์แนะนำทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์คือการเดิน และการเล่นโยคะ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักทุกประเภท

การออกกำลังกายที่แพทย์แนะนำทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์คือการเดิน และการเล่นโยคะ

หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไป

แพทย์แนะนำ ไม่ควรดื่มชา กาแฟที่มีคาเฟอีนเกินกว่า 1-2 แก้วต่อวัน การดื่มคาเฟอีนในปริมาณมากไป ลดโอกาสการตั้งครรภ์ให้สำเร็จลงถึง 50%

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์

การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากลดโอกาสความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว ลดคุณภาพของอสุจิ ลดภาวะเจริญพันธุ์ และทำลาย DNA ของตัวอสุจิในเพศชาย ทั้งยังลดโอกาสในการฝังตัวอ่อนในมดลูกให้สำเร็จในเพศหญิง และยังขัดขวางประสิทธิภาพของยาบำรุงช่วยการเจริญพันธุ์อีกด้วย

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับในเวลากลางคืนช่วยซ่อมแซมอวัยวะและกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย แพทย์จึงแนะนำผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยคืนละ 7-8 ชั่วโมง งดการทานอาหาร 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน และหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ช่วยให้ครรภ์แข็งแรง และช่วยเพิ่มโอกาสในการทำเด็กหลอดแก้วให้สำเร็จ

การทานกรดโฟลิก (Folic acid) และวิตามินดี (Vitamin D)

  • กรดโฟลิก (Folic acid) เป็นหนี่งในสารอาหารสำคัญ แพทย์แนะนำให้ทานกรดโฟลิกเป็นอาหารเสริมในช่วง 3 เดือน ก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างการตั้งครรภ์ กรดโฟลิกช่วยให้ตัวอ่อนแข็งแรง ป้องกันความเสียหายของสมองและความผิดปกติในกระดูกสันหลังของทารกในครรภ์ ช่วยให้ครรภ์แข็งแรง และเพิ่มความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว
  • วิตามินดี (Vitamin D) เป็นหนึ่งในวิตามินเสริมที่ช่วยในการตั้งครรภ์ หลังรับการตรวจร่างกายแล้ว แพทย์มักจ่ายวิตามิน D เป็นอาหารเสริมเพื่อช่วยบำรุงครรภ์ เนื่องจากผู้ที่ประสงค์ตั้งครรภ์จำนวนมากมักมีภาวะขาดวิตามิน D ทำให้ลดโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามการทานวิตามิน D หรืออาหารเสริมอื่น ๆ ควรอยู่ในความควบคุมโดยแพทย์ เนื่องจากอาหารเสริมบางชนิดอาจขัดขวางการทำงานของยาที่ช่วยภาวะเจริญพันธุ์ได้

การเพิ่มประสิทธิภาพของสเปิร์ม

คุณภาพและความแข็งแรงของสเปิร์มเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การทำเด็กหลอดแก้วสำเร็จ แพทย์จึงมีคำแนะนำให้ว่าที่คุณพ่อในการช่วยให้สเปิร์มแข็งแรงก่อนเริ่มรอบการทำเด็กหลอดแก้ว เช่น การควบคุม BMI ให้อยู่ในค่ามาตรฐาน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือการรักษาอุณหภูมิของอัณฑะให้เย็นและไม่ให้สัมผัสกับความร้อน โดยการหลีกเลี่ยงการลงอ่างน้ำร้อน การแช่ออนเซ็น การอบซาวน่า การวางแล็ป

ท็อปหรือโน๊ตบุ๊คลงบนตัก และงดการออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานชั่วคราว

นอกจากนี้แพทย์ยังแนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2 ลิตร รวมถึงการบริโภควิตามินและอาหารเสริมบางชนิด เช่น วิตามิน A, B12, C, E ซีลีเนียม และสังกะสี เพื่อให้สเปิร์มแข็งแรง มีคุณภาพ และพร้อมสำหรับการผสมกับไข่

งดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการเก็บอสุจิ 3-4 วัน

ในช่วง 3-4 วันก่อนการเก็บอสุจิ แพทย์แนะนำว่าที่คุณพ่อให้งดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์ การช่วยตัวเอง หรือการหลั่งทุกชนิดเพื่อให้ได้สเปิร์มในปริมาณที่มากพอในขั้นตอนการคัดเชื้อ เพื่อให้ได้สเปิร์มที่ดีที่สุด แข็งแรงที่สุด และมีคุณภาพมากที่สุด

ลดเครียด และคิดบวก

ภาวะมีบุตรยากส่งผลให้คู่รักมีความเครียด ผู้ที่ทำเด็กหลอดแก้วหลายคู่อาจต้องเข้าสู่กระบวนการมากกว่า 1 รอบ อาจทำให้มมีความเครียดสะสม แพทย์จึงแนะนำให้คู่รักคิดบวก ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน พยายามทำจิตใจให้ผ่อนคลาย หากิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดฟินที่ทำให้รู้สึกมีความสุข ทั้งนี้แพทย์จะปรับยา และให้อาหารเสริมเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สำเร็จในครั้งต่อไป

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมี หรือโลหะหนัก

แพทย์แนะนำผู้ที่อยู่ในช่วงเตรียมความพร้อมร่างกาย หรือขณะตั้งครรภ์เด็กหลอดแก้วให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมี โลหะหนักที่อาจปนเปื้อนอยู่ในของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจาก BPA หรือฟีนอล (Phenol) สบู่ที่มีพาราเบน (Parabens) รวมถึงสารป้องกันคราบสกปรกที่เคลือบลงบนเครื่องครัว เช่น สาร per-and polyfluoroalkyl

โรงพยาบาลที่มีความพร้อม ความชำนาญ และทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์

นอกจากการปรับไลฟ์สไตล์เพื่อช่วยให้การตั้งครรภ์สำเร็จแล้ว การเลือกโรงพยาบาลที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยเจริญพันธุ์ พร้อมทั้งทีมแพทย์ผู้ชำนาญการที่มีประสบการณ์ในการทำเด็กหลอดแก้วจนประสบความสำเร็จมาแล้ว เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยากในการพิจารณาเพื่อให้สามารถมีลูกน้อยที่เป็นดั่งโซ่ทองคล้องใจที่จะมาช่วยเติมเต็มความฝันในการมีครอบครัวที่สมบูรณ์พร้อมทั้งพ่อ แม่ และลูกให้เป็นจริงได้

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง


หลากหลายครอบครัวที่สำเร็จ เริ่มต้นจากการพูดคุย

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 07 มิ.ย. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    • นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
    Urogynecology, Female Pelvic Reconstructive Surgery, Minimally Invasive Gynecology, Menopause
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์