ตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง Ankle-Brachial Index (ABI)

ตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (ABI)

การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (ABI) เป็นหัตถการสำหรับตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ โดยการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงนี้จะช่วยให้ทราบถึงความรุนแรงของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ แขนและขามีออกซิเจนไปเลี้ยงเพียงพอหรือไม่

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ตรวจ ABI หรือ ตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง คืออะไร?

การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (ABI) เป็นหัตถการสำหรับตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ โดยการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงนี้จะช่วยให้ทราบถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

  • ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ แม้ว่าการตรวจจะไม่สามารถระบุตำแหน่งที่หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน
  • แขนและขาของผู้ป่วยมีออกซิเจนไปเลี้ยงเพียงพอหรือไม่
  • ความรุนแรงของหลอดเลือดที่ได้รับความเสียหายจากการได้รับบาดเจ็บ
  • ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่เเสดงอาการ แต่โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงของการการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจให้สูงขึ้น

การตรวจพบโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตและเข้ารับการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้ทันท่วงที

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบคืออะไร?

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เป็นอาการที่เลือดหล่อเลี้ยงขาและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากการตีบตันหรืออุดตันของหลอดเลือดจากภาวะหลอดเลือดแข็ง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ โรคหัวใจ และภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจอื่น ๆ

ประโยชน์ของการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (ABI) มีอะไรบ้าง?

การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง เป็นวิธีตรวจคัดกรองและตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบในผู้ที่มีความเสี่ยง ง่าย รวดเร็ว (ประมาณ 10-20 นาที) และไม่รุกล้ำ 

ใครที่ควรเข้ารับการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (ABI) ?

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติสูบบุหรี่

อย่างไรก็ตาม การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก หรือปวดขารุนแรง

ขั้นตอนการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (ABI) มีอะไรบ้าง?

ขั้นตอนการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (ABI) มีอะไรบ้าง?

ก่อนตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (ABI)

  • งดออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ
  • งดสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในวันที่เข้ารับการตรวจ
  • แจ้งแพทย์ให้ทราบหากเคยได้รับการรักษาเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ขามาก่อน

ระหว่างตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด

ผู้เข้ารับการตรวจจะนอนราบ โดยระดับของแขนและขาอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ แพทย์จะทำการวัดความดันโลหิตที่หลอดเลือดแดงแขนทั้งสองข้างและที่เส้นเลือดหลังเท้าหรือหลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์ทิเบียลที่บริเวณข้อเท้าทั้งสองข้าง จากนั้นแพทย์จะคำนวณค่า ABI หรือ ความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง โดยจะนำค่าซิสโตลิกหรือค่าตัวบนของความดันโลหิตที่ข้อเท้าหารด้วยค่าซิสโตลิกหรือค่าตัวบนของความดันโลหิตที่แขนข้างที่สูงกว่า

หลังตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (ABI)

ผู้เข้ารับการตรวจสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (ABI) บอกอะไรได้บ้าง?

  • ค่า 1.0-1.4 ไม่พบการอุดตัน: มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบต่ำ หากมีอาการของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงหลังออกกำลังกายเพิ่มเติม
  • ค่า 0.90-0.99 ก้ำกึ่งว่าจะมีการอุดตัน: มีความก้ำกึ่งที่จะเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบต่ำ แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงหลังออกกำลังกายเพิ่มเติม 
  • ต่ำกว่า 0.90 เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ: แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจอัลตราซาวนด์หรือการตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอกซ์เรย์เพิ่มเติมเพื่อดูภาพหลอดเลือดที่ขา

ผู้ป่วยเบาหวานแบบควบคุมไม่ได้ ผู้ที่หลอดเลือดแดงอุดตันมากอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจวัดความดันโลหิตที่หัวแม่เท้าเพื่อยืนยันผล

ค่าความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงต่ำหมายความว่าอย่างไร?

หากค่าความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ≤ 0.9  นั่นแสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคไต และความดันโลหิตสูง หากผู้ป่วยมีอาการของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ แต่ค่า ABI ต่ำกว่าค่าปกติเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการตรวจวัดค่าอีกครั้งหลังเดินออกกำลังกาย หากค่า ABI ลดต่ำลงอย่างน้อยอีก 20% นั่นแสดงว่ามีความผิดปกติ

ค่าความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงสูงหมายความว่าอย่างไร?

ค่า ABI ที่สูงกว่า 1.4 บ่งชี้ว่าหลอดเลือดที่แขนขาแข็งตัว ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอายุที่มากขึ้นหรือโรคเบาหวาน และมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหลอดเหลือหัวใจสูงขึ้นเป็น 2 เท่า

วิธีการรักษาหลอดเลือดแดงอุดตันมากมีอะไรบ้าง?

วิธีการรักษาส่วนใหญ่ ได้แก่ การรับประทานยา การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต การขยายหลอดเลือดโดยการทำบอลลูน และการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การตรวจ ABI หรือ การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง เป็นหัตถการที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ช่วยยืนยันโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบในผู้ป่วย โดยเป็นการตรวจแบบไม่รุกล้ำ ไม่มีการฉีด ผ่า หรือใช้ยาระงับความรู้สึก การตรวจพบโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตั้งแต่เนิ่น ๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ตรวจ ABI คืออะไร ใครควรตรวจ Abi Infographic Th

บทความโดย

  • รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี
    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด

เผยแพร่เมื่อ: 18 ธ.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจล้มเหลว การวินิจฉัย การรักษาและการป้องกัน, การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด, โรคหัวใจแต่กำเนิด, การใช้อัลตราซาวน์ในเส้นเลือดหัวใจเพื่อช่วยการวินิจฉัยและรักษา, การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวด, การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน
  • Link to doctor
    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคความดันโลหิตสูง, โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรง , การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณแขนขาตีบ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน, การรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันโดยการใส่สายสวน, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน
  • Link to doctor
    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์หัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหัวใจและหลอดเลือด, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด