อาการ สาเหตุ การรักษาข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด (Ankylosing Spondylitis)

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด (Ankylosing Spondylitis)

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด คือภาวะข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้กระดูกเล็กๆในกระดูกสันหลังยึดติดกัน ทำให้สูญเสียความยืดหยุ่นของกระดูกกสันหลัง และเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการหลังค่อม

แชร์

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด (Ankylosing Spondylitis) คือภาวะข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้กระดูกเล็กๆในกระดูกสันหลังยึดติดกัน ทำให้สูญเสียความยืดหยุ่นของกระดูกกสันหลัง และเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการหลังค่อม ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด อาจมีอาการติดขัดเมื่อหายใจเข้าลึกๆ ในกรณีที่โรคส่งผลกระทบต่อกระดูกซี่โครง

สัญญาณและอาการของโรคมักเริ่มในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และมีแนวโน้มการเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  ทั้งนี้อาการอักเสบอาจเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย รวมไปถึงดวงตา อย่างไรก็ตามไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด โดยวัตถุประสงค์หลักของการรักษาคือเพื่อบรรเทาอาการและชะลอการพัฒนาของโรค

อาการบ่งบอกโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด

อาการปวดและตึงที่หลังส่วนล่างและสะโพกเป็นสัญญาณและอาการเริ่มต้นของโรคกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังจากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมาระยะหนึ่ง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดคอและเมื่อยล้าซึ่งเป็นอาการทั่วไปของโรคกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด โดยอาการเหล่านี้อาจแย่ลงหรือพัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และอาการดังกล่าวอาจหายไปอย่างผิดปกติ

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติดอาจเกิดขึ้นในบริเวณใดก็ได้ของร่างกาย อย่างไรก็ตามบริเวณที่ได้รับผลกระทบได้บ่อยอาจรวมถึง

  • ข้อต่อตรงกลางฐานของกระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกราน
  • กระดูกสันหลังส่วนล่าง
  • บริเวณกระดูกสันลงไปจนถึงหลังส้นเท้า หรือบริเวณอื่น ๆ ที่เส้นเอ็นและเอ็นยึดติดกับกระดูก
  • กระดูกอ่อนระหว่างกระดูกหน้าอกและกระดูกซี่โครง
  • ข้อต่อสะโพก
  • ข้อต่อหัวไหล่

เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์

ควรพบแพทย์หากมีอาการปวดหลังส่วนล่างหรือบริเวณก้น โดยเฉพาะในช่วงเช้าหรือช่วงดึก ทั้งนี้โรคกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติดอาจส่งสัญญาณของโรค เมื่อมีอาการปวดที่บรรเทาลงด้วยการออกกำลังกาย แต่มีอาการแย่ลงเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย

เนื่องจากการอักเสบอาจส่งผลต่อดวงตา ควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการเจ็บปวดตา ตาแดง ตาไวต่อแสงอย่างรุนแรง หรือตาพร่ามัว

ข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด เกิดจากสาเหตุอะไร?

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างโรคกับยีนส์ที่เรียกว่า HLA-B27 ซึ่งส่งผลให้เกิดปัจจัยทางพันธุกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของโรค

อะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ ข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด?

ปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติดประกอบไปด้วย

  • อายุ สัญญาณและอาการของโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติดมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
  • เพศ ผู้ชายมีความเสี่ยงต่อการเเกิดโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติดมากกว่าผู้หญิง
  • ปัจจัยด้ายพันธุกรรม โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติดมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในผู้ที่มียีน HLA-B27

ภาวะแทรกซ้อนของโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด

ในโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติดชนิดรุนแรง การยึดติดของข้อกระดูกสันหลังจะลดความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการแข็งของกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกายรวมทั้งกระดูกซี่โครง สิ่งนี้อาจจำกัดความสามารถและการทำงานของปอดซึ่งอาจทำให้หายใจลำบาก

คนไข้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติดอาจเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น

  • การบีบอัดของกระดูกที่แตกหัก ไขสันหลังและเส้นประสาทอาจได้รับบาดเจ็บจากการกดทับของกระดูกสันหลังแตกหัก
  • อาการตาอักเสบ ผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติดอาจมีอาการปวดตาอย่างรวดเร็วตาพร่ามัวหรือความไวต่อแสงอย่างรุนแรง
  • ปัญญาเกี่ยวกับหัวใจ

การตรวจวินิจฉัยโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด มีกี่วิธี อะรไรบ้าง?

แพทย์อาจทำการตรวจร่างกายรวมถึงทำการทดสอบการเคลื่อนไหวในกระดูกสันหลัง โดยสังเกตการงอตัวไปในทิศทางต่างๆ และขยับขาหลาย ๆ ท่า แพทย์อาจตรวจสอบความเจ็บปวดโดยกดที่กระดูกเชิงกรานเฉพาะส่วนของ ทั้งนี้เพื่อตรวจดูการทำงานของปอด แพทย์อาจขอให้คนไข้หายใจเข้าลึก ๆ เพื่อสังเกตหาความผิดปกติของการหายใจ

แพทย์อาจต้องทำการทดสอบเพิ่มเติมซึ่งอาจรวมถึง

การทดสอบภาพถ่ายทางการแพทย์

  •  การเอ็กซเรย์ แพทย์อาจใช้การเอ็กซเรย์เพื่อตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของข้อและกระดูก
  • เอ็มอาร์ไอ แพทย์อาจทำเอ็มอาร์ไอ เพื่อดูภาพกระดูกและเนื้อเยื่อโดยละเอียด
  • การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การทดสอบในห้องปฏิบัติการช่วยให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุของการอักเสบได้

ข้อกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด รักษาด้วยวิธีใดบ้าง?

จุดประสงค์ของการรักษาโรคกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติดคือเพื่อบรรเทาอาการปวดและเพื่อป้องกันหรือชะลอภาวะแทรกซ้อนที่อาจก่อให้เกิดอาการกระดูกสันหลังผิดรูป การรักษาโรคกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด มักประสบความสำเร็จมากที่สุด เมื่อได้รับการรักษาก่อนที่ข้อต่อจะเสียหายอย่างไม่สามารถกลับคืนมาได้ การรักษาโรคกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติดมีหลายวิธี รวมไปถึงการใช้ยา การบำบัด การผ่าตัด ตลอดจนการเปลี่ยนวิถีชีวิตและการรักษาตัวที่บ้าน

  • การใช้ยารักษา แพทย์อาจสั่งยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ ปวด และตึง หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อ NSAIDs แพทย์อาจใช้ยาทางชีววิทยาเช่น ตัวป้องกันเนื้องอกเนื้อร้าย(a tumor necrosis factor blocker) หรือ interleukin-17 เป็นทางเลือก
  • การบำบัด แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดการแนะนำท่าทางการออกกำลังกาย รวมไปถึงการออกกาลังกายเพื่อคงการพิสัยการเคลื่อนไหว และการยืดเพื่อบรรเทาอาการปวด และคงความยืดหยุ่นของข้อต่อ นอกจากนี้คนไข้อาจได้รับคำแนะนำให้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ปรับท่าทางการเดิน รวมถึงออกกำลังหลังและหน้าท้องเพื่อให้อยู่ในท่าทางที่ตรงไม่โค้งงอ
  • การผ่าตัด โดยทั่วไปการผ่าตัดไม่จำเป็นสำหรับโรคกระดูกสันหลังอักเสบจากการยึดติด อย่างไรก็ตามในบางกรณีที่รุนแรงซึ่งมีอาการปวดเฉียบพลันหรือความเสียหายของข้อต่อ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อที่เสียหาย

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาตัวที่บ้าน

นอกเหนือจากการรักษาข้างต้นแล้ว อาการของโรคกระดูกสันหลังอักเสบที่ยึดติดอาจบรรเทาได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการรักษาตัวที่บ้าน เช่น

  • ปรับท่าทางของร่างกายให้เหมาะสม  ผู้ป่วยอาจฝึกท่าทางให้เหมาะสม เช่น ท่าทางขณะยืน
  • ประคบร้อนหรือเย็น  การประคบข้อต่อที่มีอาการจะช่วยบรรเทาอาการปวดและตึงได้ ในขณะที่การประคบเย็นสามารถลดอาการบวมได้
  • เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย  การออกกำลังกายสามารถเสริมสร้างและรักษาความยืดหยุ่นของข้อต่อ รวมไปถึงอาจช่วยปรับปรุงท่าทางของร่างกายได้
  • เลิกสูบบุหรี่

 เตรียมตัวเพื่อพบแพทย์

ก่อนการนัดหมายแพทย์คนไข้อาจเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลเฉพาะเจาะจง เช่น
    • สิ่งที่กังวลใจ
    • ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
    • ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยและครอบครัวที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการ
  • อาการ
    • จุดเริ่มต้นของอาการ
    • ความรุนแรงของอาการ
  • ยา วิตามิน และอาหารเสริมอื่น ๆ ที่บริโภคอยู่ในปัจจุบัน
    • ข้อมูลอาจรวมถึงปริมาณและการใช้

คำถามที่ควรถามแพทย์

  • สิ่งที่อาจทำให้เกิดอาการ
  • การทดสอบที่อาจจำเป็น
  • อาการที่เป็นอยู่เป็นแบบชั่วคราวหรือเรื้อรัง
  • วิธีการที่มีคาดว่าจะประสิทธิภาพสูงสุด
  • การจัดการกับอาการและสภาวะสุขภาพอื่น ๆ
  • ข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้น

ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูลเช่น

  • บริเวณที่ปวด
  • ความรุนแรงของอาการปวด
  • อาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว
  • ปัจจัยที่อาจทำให้อาการแย่ลงหรือดีขึ้น
  • ยาที่รับประทาน

เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    • ศัลยกรรมประสาท
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เตมีธ์  เสถียรราษฎร์

    นพ. เตมีธ์ เสถียรราษฎร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง