ตรวจวัดฮอร์โมน AMH มีประโยชน์อย่างไรในการทำเด็กหลอดแก้ว - Anti-Mullerian Hormone Test: Levels and Results

ตรวจวัดฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone)

การตรวจวัดฮอร์โมน AMH เป็นการตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH ในเลือด เพื่อประเมินการทำงานของรังไข่ รวมถึงปริมาณของฟองไข่สะสม การวัดระดับฮอร์โมน AMH ในเพศหญิงนั้นสามารถช่วยประเมินสุขภาพและความพร้อมในการมีบุตรได้

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


การตรวจวัดฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone)

การตรวจวัดฮอร์โมน AMH เป็นการตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH ในเลือด เพื่อประเมินการทำงานของรังไข่ รวมถึงปริมาณของฟองไข่สะสม ตามธรรมชาติแล้วร่างกายของเพศชายและเพศหญิงสามารถผลิตฮอร์โมนดังกล่าวได้ แต่การวัดระดับฮอร์โมน AMH ในเพศหญิงนั้นสามารถช่วยประเมินสุขภาพและความพร้อมในการมีบุตรได้

ฮอร์โมน AMH คืออะไร?

ฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone) เป็นฮอร์โมนที่เซลล์รังไข่ผลิตออกมาในช่วงวัยเจริญพันธุ์ของสตรี เป็นตัวบ่งชี้ปริมาณฟองไข่ในรังไข่ โดยระดับฮอร์โมน AMH จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนอยู่ระดับสูงสุดที่อายุ 25 ปี จากนั้นระดับฮอร์โมน AMH จะลดลงเนื่องจากปริมาณถุงไข่อ่อนตั้งต้นลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น จนไม่พบฮอร์โมน AMH อีกเมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือน

จากการศึกษาพบว่าฮอร์โมน AMH มีความสัมพันธ์กับจำนวนไข่ที่สามารถเก็บได้ในช่วงที่รังไข่ถูกกระตุ้น ซึ่งช่วยในการทำนายการตอบสนองของรังไข่ของผู้ที่เข้ารับการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)

ฮอร์โมน AMH มีบทบาทสำคัญในการคาดการณ์ช่วงเวลาของวัยหมดประจำเดือน โดยนักวิจัยพบว่าระดับฮอร์โมน AMH จะลดลงมากจนอาจตรวจไม่พบเลยในช่วง 5 ปีก่อนที่จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

อย่างไรก็ตามฮอร์โมน AMH ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการตั้งครรภ์ เพราะการตั้งครรภ์นั้นต้องอาศัยหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน เช่น คุณภาพของไข่ รังไข่ ตัวอสุจิ รวมถึงมดลูก

ฮอร์โมน AMH มีประโยชน์กับการเจริญพันธุ์อย่างไร?

ฮอร์โมน AMH ทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้สมรรถภาพของรังไข่ และช่วยทำนายการตอบสนองของรังไข่ระหว่างการเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก นอกจากการตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH แล้ว แพทย์ยังอาจทำการตรวจหาข้อบ่งชี้อื่น ๆ เช่น ตรวจวัดระดับฮอร์โมน FSH (follicle stimulating hormone) และฮอร์โมน Estradiol ในวันที่ 2-3 ตรวจนับจำนวนถุงไข่ในรังไข่ เป็นต้น

ควรตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH บ่อยแค่ไหน?

จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่เข้ารับการรักษาผู้มีบุตรยากควรเข้ารับการตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นทุก 3 เดือน เพราะจะช่วยในการประเมินว่าต้องทำการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ และพยากรณ์ความสำเร็จในการตั้งครรภ์

ฮอร์โมน AMH มีประโยชน์กับการเจริญพันธุ์อย่างไร?

การแปลผลค่าระดับฮอร์โมน AMH  

  • ระดับฮอร์โมน AMH น้อยกว่า 0.5 นาโนกรัม/มิลลิลิตร: ปริมาณไข่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เป็นไปได้ยากที่จะเก็บไข่ได้มากกว่า 3 ฟองระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว ความเป็นไปได้ที่จะตั้งครรภ์ได้สำเร็จต่ำ
  • ระดับฮอร์โมน AMH น้อยกว่า 1.0 นาโนกรัม/มิลลิลิตร: ปริมาณไข่น้อย ความเป็นไปได้ที่จะตั้งครรภ์ได้สำเร็จต่ำ
  • ระดับฮอร์โมน AMH มากกว่า 1.0 นาโนกรัม/มิลลิลิตร แต่น้อยกว่า 3.5 นาโนกรัม/มิลลิลิตร: รังไข่มีการตอบสนองที่ดีต่อการกระตุ้นการทำเด็กหลอดแก้ว
  • ระดับฮอร์โมน AMH มากกว่า 3.5 นาโนกรัม/มิลลิลิตร: มีจำนวนไข่เพียงพอ ต้องเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับฮอร์โมนหรือยามากเกินไปในระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว

โดยทั่วไปแล้วระดับฮอร์โมน AMH ของสตรีในวัยเจริญพันธุ์จะอยู่ที่ 1.0–4.0 นาโนกรัม/มิลลิลิตร และระดับฮอร์โมน AMH ที่เหมาะสำหรับการทำเด็กหลอดแก้วจะอยู่ที่ 1.0 to 3.5 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ระดับฮอร์โมน AMH จะทำให้แพทย์ทราบถึงปริมาณไข่ที่ยังเหลืออยู่ อายุของรังไข่ว่าเสื่อมก่อนกำหนดหรือไม่ และทำนายการตอบสนองของรังไข่ต่อยาฉีดกระตุ้นการตกไข่สำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว อย่างไรก็ตามระดับฮอร์โมน AMH ไม่สามารถทำนายการตั้งครรภ์ได้ แพทย์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุของผู้เข้ารับการรักษา จำนวนและการเคลื่อนไหวอสุจิ การสูบบุหรี่ โรคประจำตัว หรือปัญหาทางสุขภาพ เช่น ภาวะตกไข่ผิดปกติ ท่อนำไข่ตีบตัน เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ พังผืดในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น

สรุปการตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH

  • ฮอร์โมน AMH เป็นฮอร์โมนที่รังไข่หลั่งออกมา ช่วยให้แพทย์สามารถประมาณการณ์จำนวนฟองไข่ที่เหลืออยู่
  • ระดับฮอร์โมน AMH มีความสัมพันธ์กับจำนวนไข่ที่เก็บได้หลังการกระตุ้นการตกไข่ในช่วงการทำเด็กหลอดแก้ว
  • ฮอร์โมน AMH ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการตั้งครรภ์ แพทย์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เช่น คุณภาพไข่ สมรรถภาพของรังไข่ สุขภาพของมดลูก และภาวะเจริญพันธุ์ของเพศชาย
  • สตรีที่มีระดับฮอร์โมน AMH 1.0 to 3.5 นาโนกรัม/มิลลิลิตร จะตอบสนองต่อการกระตุ้นรังไข่ระหว่างการทำเด็กหลอดแก้วได้ดีที่สุด
  • ระดับฮอร์โมน AMH จะลดลงตามอายุ ซึ่งเป็นเรื่องตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมได้ จึงไม่ควรกังวลมากจนเกินไป ผู้ที่ต้องการมีบุตรควรใส่ใจรักษาสุขภาพให้แข็งแรงมากกว่า

คำถามที่มักถามบ่อย

  • การตรวจวัดฮอร์โมน AMH ทำได้อย่างไร?
    แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดจากบริเวณแขนของผู้เข้ารับการตรวจ และนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อวัดระดับฮอร์โมน AMH
  • สามารถเข้ารับการตรวจในช่วงที่มีประจำเดือนได้หรือไม่?
    สามารถเข้ารับการตรวจช่วงไหนก็ได้ของรอบเดือน รวมถึงตอนที่มีรอบเดือน เนื่องจากระดับฮอร์โมน AMH นั้นจะไม่ผันผวนในช่วงที่มีประจำเดือน ต่างจากฮอร์โมนเจริญพันธุ์อื่น ๆ
  • ก่อนเข้ารับการตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
    ก่อนเข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความเจริญพันธุ์โดยรวมได้ แต่ชี้วัดเพียงขั้นตอนย่อยในการพยากรณ์จำนวนไข่ที่จะเก็บได้จากการกระตุ้นรังไข่เท่านั้น ความสำเร็จในการตั้งครรภ์ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกหลายๆปัจจัย ผู้ที่กำลังพยายามมีบุตรหรือต้องการทราบถึงความพร้อมในการมีบุตร ควรเข้ารับคำปรึกษาและการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

ตรวจวัดฮอร์โมน Amh Infographic Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 19 ธ.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. วิสันต์ เสรีภาพงศ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. นเรศร สุขเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Infertility, Fertility Preservation, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology