Bariatric Surgery Banner 1.jpg

ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric surgery) วิธีการลดน้ำหนักประเภทหนึ่งสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่ต่อสู้กับโรคอ้วน หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยใช้วิธีการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric surgery)

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric surgery) คือ วิธีการลดน้ำหนักประเภทหนึ่งสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่ต่อสู้กับโรคอ้วน หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โดยใช้วิธีการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร (วิธีการผ่าตัดแบบ Sleeve gastrectomy หรือ Roux-en-Y gastric bypass) เพื่อทำให้อิ่มเร็วและทานอาหารน้อยลง และ ปรับระดับฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวและความอิ่ม ส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักถือเป็นทางเลือกในการลดน้ำหนักที่ได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และช่วยให้ลดน้ำหนักได้อย่างยั่งยืน ทั้งยังลดภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วน และช่วยให้บรรลุเป้าหมายการมีสุขภาพร่างกายที่ดีได้

ทำไมถึงต้องผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก?

โรคอ้วน (Obesity) ไม่ได้นำมาเพียงแค่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะมีบุตรยาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือปัญหาบุคคลิกภาพและความสวยงามเท่านั้น โรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักตัวเกิน ยังอาจทำให้มีอายุขัยที่สั้นลง มีอาการปวดเมื่อยตามข้อมากขึ้น และมีความเสี่ยงของโรคมะเร็งสูงขึ้น เช่น โรคมะเร็งลำไส้ หรือโรคมะเร็งเต้านม ทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรงกว่าคนปกติทั่วไปอีกด้วย

นอกจากนี้ โรคอ้วนยังทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจและทำให้ความนับถือตนเองต่ำ ผู้ชำนาญการด้านโรคอ้วนเข้าใจถึงกลไกที่ซับซ้อนของการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว และระบบควบคุมภายในร่างกายมนุษย์ที่ต้านทานต่อการสูญเสียน้ำหนักตัว และการคงไว้ซึ่งน้ำหนักตัว โดยปัจจัยที่มีผลต่อการลดน้ำหนักยังรวมถึงพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม โรคประจำตัว ฮอร์โมน และเมแทบอลิซึมของแต่ละบุคคลอีกด้วย

ภาวะอ้วน มีวิธีการวัดอย่างไร?

แพทย์จะทำการประเมินภาวะอ้วน โดยการใช้วิธีการวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า การวัดค่า BMI โดยสามารถหาค่าได้จากการนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น น้ำหนักตัว 100 กิโลกรัม ส่วนสูง 165 เซนติเมตรหรือ 1.65 เมตร สูตรการคำนวนค่า BMI ที่ได้ คือ (100/ (1.65 x 1.65) จะได้ค่า BMI = 36.73 กก./ตร..

โดยเกณฑ์ทางการแพทย์ถือว่าผู้ที่มีค่า BMI มากกว่า 25.0 กก./ตร.ม เข้าข่ายเป็นผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนลงพุงและกลุ่มอาการเมตาโบลิก (Metabolic syndrome) ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด ทั้งนี้ค่าดัชนีมวลกายหรือค่า BMI ที่เหมาะสมสำหรับคนเอเชียคือน้อยกว่า 25.0 กก./ตร.ม.

ผู้ที่มีค่า BMI เกิน 25-30 กก./ตร.ม ควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางเพื่อปรึกษาวิธีการลดน้ำหนัก ส่วนผู้ที่มีค่า BMI เกินกว่า 32.5 กก/ตร.ม. ถ้ามีโรคร่วมเป็นเบาหวานและไม่สามารถลดน้ำหนักได้สำเร็จ อาจต้องพิจารณาการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักร่วมกันกับทีมแพทย์ นักกำหนดอาหารและนักโภชนาการ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นโดยเร็ว

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักมีกี่วิธี และมีวิธีการอย่างไร?

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเมดพาร์ค โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการศูนย์ทางเดินอาหารและตับใช้วิธีการในการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักด้วยเทคนิค แผลเล็ก เจ็บน้อย หายไว (Minimally invasive surgery) โดยใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง (Laparoscopic surgery) โดยมีหลักการในการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารเพื่อทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้น้อยลง ลดการดูดซึมแคลอรี่ พร้อมทั้งปรับระดับฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว โดยการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารมี 3 วิธีดังนี้

1. การผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy: SG)

รูปการผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy: SG)

Before vs After

การผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy) เป็นการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร (Restrictive procedure) โดยการตัดกระเพาะอาหารออกราว 75–80% จนเหลือปริมาณความจุ 150 cc โดยประมาณ และเย็บกระเพาะอาหารให้เป็นท่อยาวคล้ายแขนเสื้อ ทำให้ความจุของกระเพาะอาหารเล็กลง ในขณะเดียวกันก็ทำให้ร่างกายลดการผลิตออร์โมนกรีลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็น ฮอร์โมนความหิวที่กระตุ้นความอยากอาหาร ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่กระทบต่อการดูดซึมแคลอรี่และสารอาหารในลำไส้ ทั้งนี้ทีมแพทย์จะทำการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟโดยการส่องกล้องวิดีโอขนาดเล็ก (Laparoscope) และเครื่องมือพิเศษช่วยให้การผ่าตัดที่มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ

2. การผ่าตัดแบบบายพาส (Roux-en-Y gastric bypass: RYGB)

รูปการผ่าตัดแบบบายพาส (Roux-en-Y gastric bypass: RYGB)

Before vs After

การผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส (Roux-en-Y gastric bypass) เป็นการผ่าตัดเพื่อลดขนาด (Restrictive procedure) และลดการดูดซึมของกระเพาะอาหาร (Mal-absorptive procedure) โดยทีมแพทย์จะทำการผ่าตัดแบ่งกระเพาะอาหารส่วนบนให้มีลักษณะเป็นถุงเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 ออนซ์ และทำบายพาสเชื่อมต่อกับลำไส้เล็กขนาดความยาว 180-200 ซม. โดยเป็นการเบี่ยงทางเดินอาหารใหม่ให้เป็นรูปทรง Y เพื่อให้ไม่เดินทางผ่านกระเพาะอาหารส่วนใหญ่ และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยวิธีการนี้จะช่วยให้ลดปริมาณแคลอรี่ที่เข้าสู่ร่างกาย ช่วยลดความอยากอาหาร และทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น โดยทีมแพทย์จะทำการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาสโดยการส่องกล้องวิดีโอขนาดเล็ก (Laparoscope) และเครื่องมือพิเศษช่วยให้การผ่าตัดที่มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ

3. การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Endoscopic sleeve gastroplasty: ESG)

รูปการส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Endoscopic sleeve gastroplasty: LSG)

Before vs After

การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Endoscopic sleeve gastroplasty: ESG) เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์แบบใหม่ในการลดน้ำหนักด้วยวิธีการส่องกล้องวิดีโอขนาดเล็กที่โค้งงอตัวได้ (Endoscope) และเครื่องมือพิเศษสำหรับเย็บกระเพาะอาหาร (Endoscopic suturing system) ผ่านทางปากคนไข้ลงสู่กระเพาะอาหารขณะหลับเพื่อทำการผ่าตัดเย็บกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็กลงเท่าขนาดกล้วยหอม โดยจะเป็นวิธีการผ่าตัดที่คล้ายคลึงกับวิธี Sleeve gastrectomy แต่ไม่มีแผลผ่าตัดภายนอกหน้าท้อง เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว และช่วยลดผลข้างเคียงจากภาวะแทรกซ้อน เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกในการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดี

การปฎิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักมีวิธีการอย่างไร?

  • ก่อนผ่าตัด

ผู้เข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักเข้ารับการตรวจสุขภาพและความพร้อมของร่างกายที่โรงพยาบาลโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางเพื่อทราบแผนการรักษา วิธีการผ่าตัด และข้อปฎิบัติตนทั้งก่อนและหลังเข้ารับการผ่าตัด โดยแพทย์จะทำการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร ตรวจอัลตร้าซาวด์ตับเพื่อประเมินภาวะไขมันพอกตับ ตับแข็ง หรือนิ่วในถุงน้ำดี รวมทั้งตรวจเลือด เพื่อประเมินความพร้อมและวางแผนการผ่าตัด

  • ระหว่างการผ่าตัด

วิสัญญีแพทย์จะใช้วิธีดมยาสลบกับผู้เข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักทั้ง 2 วิธี โดยจะเป็นการผ่าตัดด้วยเทคนิค แผลเล็ก เจ็บน้อย หายไว (Minimally invasive surgery) โดยใช้การส่องกล้อง (Laparoscope) โดยการผ่าตัดจะใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง และพักฟื้นต่อที่โรงพยาบาล 4-5 วัน เพื่อประเมินการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด เมื่อปลอดภัยแล้วแพทย์จึงให้กลับบ้านได้

  • หลังการผ่าตัด

แพทย์ นักกำหนดอาหาร และนักโภชนาการ จะวางแนวทางในการรับประทานอาหารหลังเข้ารับการผ่าตัดร่วมกับแนวทางการปรับพฤติกรรมการกิน โดยใน 4 สัปดาห์แรก ให้รับประทานเพียงอาหารเหลว หรืออาหารอ่อนที่ง่ายต่อการปรับสภาพกระเพาะอาหารและกระบวนการย่อย เช่น โจ๊ก ซุป ไข่ตุ๋น หลังจาก 4 สัปดาห์ไปแล้วจึงจะสามารถรับประทานอาหารตามปกติได้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันไม่ให้กลับมามีภาวะอ้วนลงพุงได้อีก

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักอันตรายไหม?

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักด้วยเทคโนโลยีการส่องกล้อง Laparoscope เป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็ก เจ็บน้อย หายไว โดยการนำของทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูง และลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในการรับการรักษาเป็นอย่างดี

หลังการการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักจะกลับมาอ้วนได้อีกไหม?

หลังการการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะเห็นผลลัพธ์ของน้ำหนักตัวที่ลดลงตั้งแต่ในช่วงแรกหลังหลังการผ่าตัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 1-2 ปีแรก น้ำหนักจะลดลงมากที่สุด หลังจากนั้น น้ำหนักตัวอาจเพิ่มขึ้นบ้างจากปัจจัยของอายุ การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับการมีสุขภาพที่ดีขึ้นในระยะยาว การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารถือเป็นวิธีการรรักษาโรคอ้วน และโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนที่มีประสิทธิภาพ

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักมีอะไรบ้าง?

การผ่าตัดกระเพาะอาหารอาจมีความเสี่ยงจากการติดเชื้อหากแผลเย็บที่กระเพาะอาหารเกิดการรั่วซึมอันเนื่องมาจากการตัด-เย็บที่ไม่ราบรื่น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีการส่องกล้องและอุปกรณ์เครื่องมือผ่าตัดอันทันสมัยเข้ามาช่วยในการผ่าตัด ทำให้แผลเย็บในกระเพาะอาหารไร้รอยรั่ว ช่วยให้ลดโอกาสในการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี ในผู้ผ่าตัดบางรายที่เกิดภาวะขาดวิตามิน แพทย์จะพิจารณาสั่งวิตามินเสริมทดแทน ตามความจำเป็น

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักมีข้อดีอย่างไร?

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักช่วยให้หายจากโรคอ้วน และความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะมีบุตรยาก การนอนกรน ประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมทั้งผู้ที่มีปัญหาการขาดความมั่นใจในเรื่องรูปร่างและบุคคลิภาพ ทั้งยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง และยังช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักที่โรงพยาบาลเมดพาร์คเป็นหนึ่งในวิธีรักษาแบบองค์รวมอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนอันเกี่ยวเนื่องกับโรคอ้วน โดยการนำของทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์ ร่วมกับเทคโนยีทางการแพทย์อันทันสมัย พร้อมการบริการด้วยหัวใจ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีชีวิตที่ยืนยาว

คำถามที่พบบ่อย

  1. คำถาม: การผ่าตัดกระเพาะอาหาร คืออะไร?
    คำตอบ:
    การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric surgery) คือ วิธีการลดน้ำหนักประเภทหนึ่งสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่ต่อสู้กับโรคอ้วน หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โดยใช้วิธีการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

  2. คำถาม: การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก มีกี่วิธี?
    คำตอบ:
    การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารมี 3 วิธี คือ 1. ผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy) 2. ผ่าตัดแบบบายพาส (Roux-en-Y gastric bypass) 3. ส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Endoscopic sleeve gastroplasty)

  3. คำถาม: ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักอันตรายไหม?
    คำตอบ:
    การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักด้วยเทคโนโลยีการส่องกล้อง Laparoscope เป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็ก เจ็บน้อย หายไว โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูง และลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน

  4. คำถาม: หลังการการผ่าตัดกระเพาะอาหารจะกลับมาอ้วนได้อีกไหม?
    คำตอบ:
    หลังการการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะเห็นผลลัพธ์ของน้ำหนักตัวที่ลดลงตั้งแต่ในช่วงแรกหลังหลังการผ่าตัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 1-2 ปีแรก น้ำหนักจะลดลงมากที่สุด จากนั้นน้ำหนักตัวอาจเพิ่มขึ้นบ้างจากปัจจัยของอายุ การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย

ประเมินดัชนีมวลกายของคุณ เพื่อรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 09 มี.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

    นพ. ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Head Neck Breast Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. ฐิติพร ชอบอาภรณ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ภูภัฐ วงศ์วัฒนกิจ

    นพ. ภูภัฐ วงศ์วัฒนกิจ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. วันปรีดี ตันเสนีย์

    นพ. วันปรีดี ตันเสนีย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Hyperbaric Oxygen Therapy, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ณรงค์ศักดิ์ รุ่งสกุลกิจ

    นพ. ณรงค์ศักดิ์ รุ่งสกุลกิจ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Hepato-biliary and Pancreatic Surgery
  • Link to doctor
    พญ. หนึ่งฤทัย โอฬารนภาลัย

    พญ. หนึ่งฤทัย โอฬารนภาลัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ปิติโชติ หิรัญเทพ

    นพ. ปิติโชติ หิรัญเทพ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. นเรนทร์ สันติกุลานนท์

    นพ. นเรนทร์ สันติกุลานนท์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยกรรมมะเร็งลำไส้
    General Surgery, Colorectal Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ทรรศนะ อุทัยธรรมรัตน์

    นพ. ทรรศนะ อุทัยธรรมรัตน์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • Link to doctor
    นายแพทย์ เชาวนันท์   พรวรากรณ์

    นายแพทย์ เชาวนันท์ พรวรากรณ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    General Surgery, Vascular Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ต้น คงเป็นสุข

    นพ. ต้น คงเป็นสุข

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยกรรมมะเร็งลำไส้
    General Surgery, Colorectal Surgery
  • Link to doctor
    พญ. จียิน  วรวิทธิ์เวท

    พญ. จียิน วรวิทธิ์เวท

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ตกแต่งเพื่อความงาม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง
    Reconstructive Microsurgery, Breast Cosmetic and Reconstruction, Lymphatic Surgery, Facial Paralysis Reconstruction, Facial Reanimation, Endoscopic Carpal Tunnel Release
  • Link to doctor
    นพ. ชินวัตร วิสุทธิแพทย์

    นพ. ชินวัตร วิสุทธิแพทย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Breast Surgery, Laparoscopic Abdominal Surgery, Endoscopic Thyroid Surgery, Surgical Treatment of Gastrointestinal Malignancies, Breast Cancer Surgery
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล

    ผศ.นพ. ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    General Surgery, Abdominal Organ Transplant
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ศุภอัฐ พึ่งพาพงศ์

    รศ.นพ. ศุภอัฐ พึ่งพาพงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    รศ.นพ. คามิน ชินศักดิ์ชัย

    รศ.นพ. คามิน ชินศักดิ์ชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Vascular Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ณฐวรรธ นฤพนธ์จิรกุล

    นพ. ณฐวรรธ นฤพนธ์จิรกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พงศ์รัตน์ ศิริจินดากุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    General Surgery, การปลูกถ่ายไต
  • Link to doctor
    นพ. กฤษณ์ กิติสิน

    นพ. กฤษณ์ กิติสิน

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Surgical Oncology
  • Link to doctor
    นพ. ดุษฎี  มีศิริ

    นพ. ดุษฎี มีศิริ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. พรพีระ จิตต์ประทุม

    นพ. พรพีระ จิตต์ประทุม

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    General Surgery, Minimally Invasive Surgery
  • Link to doctor
    นพ.   สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์

    นพ. สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. อภินันท์ อุทัยไพศาลวงศ์

    นพ. อภินันท์ อุทัยไพศาลวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    พญ. วิภาวี อินทโสตถิ

    พญ. วิภาวี อินทโสตถิ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. สุภาพร โอภาสานนท์

    ผศ.พญ. สุภาพร โอภาสานนท์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Wound Treatment and Surgery, Hyperbaric Oxygen Therapy, Burn Treatment and Surgery, Hemorrhoid, Chronic Wound, Diabetic Foot Ulcer
  • Link to doctor
    นพ. สมชาย ธนะสิทธิชัย

    นพ. สมชาย ธนะสิทธิชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป