อาการ สาเหตุ การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ - Bladder Cancer: Types, Symptoms, Causes and Treatments

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer) เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เยื่อบุทางเดินปัสสาวะ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดจะสูง ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจำเป็นต้องพบแพทย์สม่ำเสมอ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ คืออะไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เยื่อบุทางเดินปัสสาวะ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดจะสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากมีโอกาสที่มะเร็งอาจกลับมาได้ การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงการเข้ารับการตรวจและรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะชนิดต่าง ๆ

  • Transitional cell carcinoma หรือ urothelial bladder cancer: เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด (90% ของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ) โดยเซลล์มะเร็งจะเริ่มต้นในทรานซิชันนัลเซลล์ในเยื่อบุผนังกระเพาะปัสสาวะ และแพร่กระจายไปยังเซลล์ไขมันรอบกระเพาะปัสสาวะ
  • Squamous cell carcinoma: พบได้ราว 5% ของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มักพบในผู้ป่วยที่กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
  • Adenocarcinoma: เป็นมะเร็งต่อมที่พบได้ยาก ราว 1% - 2% เท่านั้น
  • Small cell carcinoma: เกิดจากเยื่อบุเซลล์เล็ก ซึ่งพบได้น้อยมาก
  • Sarcoma: เกิดจากการที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะกลายเป็นมะเร็ง

นอกจากนี้มะเร็งกระเพาะปัสสาวะยังแบ่งออกตามความรุนแรงของโรค

  • Noninvasive: เนื้องอกขนาดเล็กหรือพบเซลล์มะเร็งที่ผิวด้านในของกระเพาะปัสสาวะเท่านั้น
  • Non-muscle-invasive: มะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่อยู่ไม่ลึกและยังไม่แพร่กระจายไปยังเซลล์กล้ามเนื้อ
  • Muscle-invasive: มะเร็งลุกลามเข้าไปในเซลล์กล้ามเนื้อของผนังกระเพาะปัสสาวะ และอาจลุกลามไปยังชั้นไขมันและ เนื้อเยื่อนอกกระเพาะปัสสาวะ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีสาเหตุเกิดจากอะไร

ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่ทำให้เซลล์กระเพาะปัสสาวะกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง แต่ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ได้แก่

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีอาการอย่างไร

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

หากสีปัสสาวะเปลี่ยนไป มีเลือดปน หรือมีอาการที่น่ากังวล ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม ทั้งนี้อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบและมะเร็งปัสสาวะมีความคล้ายคลึงกัน หากรับประทานยาปฏิชีวนะแล้วอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบไม่ดีขึ้น ควรกลับไปพบแพทย์

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีอะไรบ้าง

  • การสูบบุหรี่ เนื่องจากสารเคมีที่เป็นอันตรายอาจไปตกค้างอยู่ในปัสสาวะ ส่งผลให้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะได้รับความเสียหาย เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
  • อายุที่มากขึ้น ผู้ที่อายุ 55 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะสูง
  • เพศชาย มีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง
  • การสัมผัสกับสารเคมี ไตทำหน้าที่กรองและขับสารเคมีในกระแสเลือดออกจากร่างกาย ส่งผลให้ไตสัมผัสกับสารเคมีที่อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อันได้แก่ สารหนูและสารเคมีในสีย้อมผ้า สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาง เครื่องหนัง หรือสี
  • มีประวัติการรักษามะเร็ง ยารักษามะเร็ง เช่น cyclophosphamide อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ผู้ที่เคยเข้ารับรังสีรักษาที่บริเวณกระดูกเชิงกราน มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ชนิด squamous cell carcinoma นอกจากนี้กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังอาจเกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด
  • คนในครอบครัวหรือผู้ป่วยมีประวัติเป็นมะเร็ง หรือ Lynch syndrome ซึ่งเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักแบบพันธุกรรมชนิด HNPCC (Hereditary Non- polyposis Colorectal Cancer) มะเร็งชนิดนี้เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ มดลูก และรังไข่

Bladder Cancer มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร

หากพบว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ เพื่อตัดเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะไปตรวจเพิ่มเติม (Transurethral Resection of Bladder Tumor: TURBT) เป็นหัตถการผู้ป่วยนอก
  • รังสีวินิจฉัย เช่น CT สแกน MRI หรือ เอกซเรย์หน้าอก หรือกระดูก เพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังปอดหรือกระดูกหรือไม่

การแบ่งระยะของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การแบ่งระยะของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ช่วยให้แพทย์วางแผนแนวทางการรักษาและคาดการณ์ผลการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแพทย์อาจแบ่งระยะมะเร็งกระเพาะปัสสาวะตามระบบ TNM ดังนี้

  • T หมายถึงขนาดของเนื้องอก (T1-T4)
    • T1 เนื้องอกมีขนาดเท่ากับหรือน้อยกว่า 2 ซม.
    • T4 เนื้องอกมีขนาดใหญ่ขยายไปจนถึงผนังด้านนอกหรืออวัยวะใกล้เคียง
  • N หมายถึงการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียง (N0-N3)
    • N0 ไม่พบมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง
    • N3 พบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองหลายต่อมหรือต่อมที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม.
  • M หมายถึงการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างจากกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปอดหรือตับ เป็นต้น
    • M0 มะเร็งไม่แพร่กระจาย
    • M1 มะเร็งแพร่กระจายออกไปนอกอุ้งเชิงกราน

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีวิธีการรักษาอย่างไร

  1. การผ่าตัดรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
    • การส่องกล้องผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ (TURBT) สามารถตรวจและตัดเนื้องอกได้ในเวลาเดียวกัน เหมาะสำหรับมะเร็งกระเพาะปัสสาวะชนิดไม่ลุกลาม แพทย์อาจผ่าตัดหรือทำลายเนื้อเยื่อด้วยประกายไฟฟ้า (Fulguration)
    • การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมด (Radical Cystectomy) เหมาะสำหรับผู้ที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่นหรือมีเนื้องอกมะเร็งหลายก้อน หรือมะเร็งกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อส่วนลึก ซึ่งในผู้ป่วยเพศชาย แพทย์จะผ่าตัดนำต่อมลูกหมากและถุงน้ำเชื้อออกไปด้วย ส่วนในผู้ป่วยเพศหญิง แพทย์จะผ่าตัดนำรังไข่ มดลูก และช่องคลอดบางส่วนออกไป ทั้งนี้แพทย์อาจผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะด้วย
  2. เคมีบำบัดรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
    • การให้ยาเคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดดำ อาจให้ก่อนและหลังเข้ารับการผ่าตัด เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง แพทย์อาจใช้ร่วมกับรังสีรักษา
    • การให้ยาเคมีบำบัดผ่านทางกระเพาะปัสสาวะ ยาจะถูกใส่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและระบายออก แพทย์อาจใช้วิธีนี้เป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับมะเร็งบริเวณเยื่อบุผนังที่ไม่แพร่กระจายไปยังกล้ามเนื้อ
  3. ภูมิคุ้มกันบำบัดรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
    • การให้ยาผ่านทางหลอดเลือดดำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามหรือกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ
    • การให้ยาผ่านทางกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะใช้ Bacillus Calmette-Guerin (BCG) (ซึ่งใช้ในวัคซีนวัณโรค) กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ไปฆ่าเซลล์มะเร็ง
  4. รังสีรักษารักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
    • เป็นการใช้พลังงานจากรังสีเอกซเรย์และโปรตอนฆ่าเซลล์มะเร็งได้ตรงจุด แม่นยำ แพทย์มักแนะนำรังสีรักษาและเคมีบำบัดให้กับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการหรือไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้
  5. ยามุ่งเป้ารักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
    • ยามุ่งเป้าจะหยุด หรือ ขัดขวางการทำงานของเซลล์มะเร็ง ไม่ให้เติบโตและแพร่กระจาย ยามุ่งเป้าเหมาะสำหรับมะเร็งระยะลุกลาม ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
  6. การรักษามะเร็งเพื่อเก็บกระเพาะปัสสาวะ
    • สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อที่ไม่ต้องการเข้ารับการผ่าตัดนำกระเพาะปัสสาวะออก แพทย์อาจแนะนำการรักษาแบบ Tri-modality Therapy ซึ่งรวมเอาการส่องกล้องผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษาเอาไว้ด้วยกัน หากมะเร็งยังหลงเหลืออยู่หรือกลับมาเป็นซ้ำ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมด

หลังการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

ผู้ป่วยควรพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามดูว่ามะเร็งกระเพาะปัสสาวะกลับมาหรือไม่ ในปีแรก ๆ แพทย์อาจนัดติดตามอาการทุก 3-6 เดือน หากมะเร็งไม่กลับมาภายใน 2-3 ปี แพทย์อาจนัดติดตามอาการปีละครั้ง

เราสามารถป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้หรือไม่

ถึงแม้เราจะไม่สามารถป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น เลิกสูบบุหรี่ ระมัดระวังไม่สัมผัสสารเคมี หรือรีบไปพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะแสบขัด มีเลือดปนในปัสสาวะ

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

  • จดบันทึกอาการที่มี ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่กำลังรับประทาน
  • จดคำถามที่ต้องการถามแพทย์ เช่น
    • จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
    • มะเร็งอยู่ในระยะใด
    • ควรรักษาด้วยวิธีใด มีความเสี่ยงหรือไม่
  • เตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่แพทย์อาจถาม
    • มีอาการอะไรบ้าง เป็นต่อเนื่องหรือเป็น ๆ หาย ๆ
    • อาการรุนแรงหรือไม่
    • อะไรที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง

คำถามที่ถามบ่อย

  • สัญญาณเตือนมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่ไม่ควรละเลยมีอะไรบ้าง
    หากมีเลือดปนในปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

ผู้ป่วยราว 50% ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในขณะที่มะเร็งยังไม่แพร่กระจาย ซึ่งเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาด ผู้ป่วยที่มีความกังวลว่ามะเร็งจะกลับมาเป็นซ้ำ ควรพูดคุยกับแพทย์ถึงวิธีการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต เพื่อจัดการกับโรคและเพิ่มคุณภาพชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 30 ส.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ.  วิทวัส  ไทยเจริญพร

    นพ. วิทวัส ไทยเจริญพร

    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    Urological Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ระบบสืบพันธ์ุ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. วราวุฒิ สุขเกษม

    ผศ.นพ. วราวุฒิ สุขเกษม

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยาโรคทรวงอก, รังสีวิทยาโรคมะเร็ง, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, เครื่องสร้างภาพในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า, อัลตร้าซาวนด์
  • Link to doctor
    นพ. วิกรม เจนเนติสิน

    นพ. วิกรม เจนเนติสิน

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด
  • Link to doctor
    นพ. สุดปรีดา ชัยนิธิกรรณ

    นพ. สุดปรีดา ชัยนิธิกรรณ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    พญ. ธิติพร จิรนันทนากร

    พญ. ธิติพร จิรนันทนากร

    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย, รังสีวิทยาโรคมะเร็ง
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ผศ.นพ. วรัชญ์ วรนิสรากุล

    • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    มะเร็งต่อมลูกหมาก, Prostate Disease, Laparoscopic Urologic Surgery, Prostatectomy Laser, Endourology and Urinary Stone Disease, Urological Cancer
  • Link to doctor
    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
  • Link to doctor
    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    พญ. สุรีรัตน์ จารุหทัย

    พญ. สุรีรัตน์ จารุหทัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
  • Link to doctor
    พญ. ศิยามล มิ่งมาลัยรักษ์

    พญ. ศิยามล มิ่งมาลัยรักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
  • Link to doctor
    นพ.  วิชัย เจริญวงศ์

    นพ. วิชัย เจริญวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์

    นพ. อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    • อายุรศาสตร์โรคเลือด
    • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
    มะเร็งทางโลหิตวิทยา, การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์
  • Link to doctor
    นพ. วิรุณ  โทณะวณิก,พบ

    นพ. วิรุณ โทณะวณิก,พบ

    • ศัลยศาสตร์
    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    มะเร็งต่อมลูกหมาก, ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.พญ. นภา ปริญญานิติกูล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. กิตติณัฐ กิจวิกัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    รศ.นพ.ดร. วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์

    รศ.นพ.ดร. วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. กมล ภานุมาตรัศมี

    ผศ.นพ. กมล ภานุมาตรัศมี

    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    • การผ่าตัดผ่านกล้องทางศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
    Urological Surgery
  • Link to doctor
    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การบีบขับปัสสาวะผิดปกติ, Laparoscopic Urologic Surgery
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนไตจากผู้เสียชีวิต, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, การรักษาภาวะหย่อยสมรรถภาพทางเพศ, ชายวัยทอง