อาการ สาเหตุ การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ  - Cystitis (Bladder Inflammation): Symptoms, Causes, and Treatment

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis, Bladder Inflammation)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis, Bladder Inflammation) เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะจะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง จากสถิติพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบมากในช่วงอายุ 20-50 ปี โดยเฉพาะสาว ๆ ออฟฟิศที่นั่งติดอยู่กับที่โต๊ะทำงาน แบบไม่อยากขยับเขยื้อนตัวลุกไปไหน สาเหตุที่พบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายมาจากสรีระทางร่างกายผู้หญิงซึ่งมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย

ดังนั้น เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะจึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ท่อปัสสาวะของผู้หญิงยังเปิดออกสู่ภายนอกในบริเวณใกล้กับช่องคลอด และทวารหนัก จึงมีโอกาสติดเชื้อทั้งจากช่องคลอด และจากทวารหนักโดยเฉพาะเจ้าเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายเข้าไปอีก

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร?

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จากการติดเชื้อแบคทีเรีย

เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้ออีโคไล (Escherichia coli: E. coli) หลุดเข้าไปยังท่อปัสสาวะและเพิ่มจำนวนในทางเดินปัสสาวะ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ชนิดไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย

  • Interstitial cystitis มักตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาได้ยากเนื่องจากไม่พบสาเหตุที่แน่นอน มักเป็นในผู้หญิง
  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากยา เช่น ยาคีโมบำบัด
  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจาการฉายรังสี เป็นผลจากรังสีบำบัดบริเวณท้องน้อย ซึ่งจะส่งผลต่อเนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะ
  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากสิ่งแปลกปลอมเนื่องจากการใส่สายสวนเป็นเวลานาน
  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากสารเคมี เนื่องจากสารที่ก่อความระคายเคืองเช่น จากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นหรือยาฆ่าตัวอสุจิ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • เพศ ผู้หญิงมักเป็นโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะทางเดินมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะที่สั้นกว่า ทำให้เชื้อแบคทีเรียเดินทางเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่า
  • ปัจจัยที่ลดการไหลที่ดีของปัสสาวะ
    • ภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะจากภาวะต่าง ๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต มะเร็งต่อมลูกหมาก ท่อปัสสาวะตีบ มีสิ่งแปลกปลอมหรือนิ่วอุดตัน
    • กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาท (Neurogenic bladder)
    • ดื่มน้ำน้อยเกินไป
  • ปัจจัยที่อาจส่งเสริมการติดเชื้อ
    • การมีเพศสัมพันธ์
    • การใช้ยาฆ่าเชื้อเสปิร์ม
    • ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศหญิง
    • การใช้ยาฆ่าเชื้อที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลของเชื้อประจำถิ่น
  • ปัจจัยที่ทำให้เชื้อโรคเดินทางสะดวกขึ้น
    • การใส่สายปัสสาวะ
    • ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
    • ภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่
    • ภาวะที่มีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะร่วมกับมีการขาดเลือดของผนังกระเพาะปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการอย่างไร?

อาการที่สำคัญ คือ ปัสสาวะบ่อย แสบขัด อาจบ่อยมากทุก ๆ 1 - 2 ชั่วโมงหรือกระปริบประปรอย หรืออาจแสบขัดมาก จนไม่อยากถ่ายปัสสาวะแล้วแต่ความรุนแรงของโรค อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น

  • มีไข้ต่ำ ๆ
  • ปัสสาวะไม่ค่อยสุด
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • ปวดท้องน้อยตอนปัสสาวะสุด แบบบิดเกร็ง หรืออาจปวดแบบถ่วง ๆ แบบเป็น ๆ หาย ๆ
  • ปวดปัสสาวะบ่อย ฉับพลัน
  • ปวดเบ่ง หรือปัสสาวะไม่ค่อยออก
  • มีเลือดหยดออกมาตอนปัสสาวะสุด
  • ปัสสาวะปนเลือด
  • ปัสสาวะขุ่น หรือมีกลิ่นเหม็น
  • ตื่นมาปัสสาวะเกิน 2 ครั้งขึ้นไปตอนกลางคืน

ในกรณีที่กระเพาะปัสสาวะอักเสบเล็กน้อยหรือเป็นแบบเรื้อรัง อาการดังกล่าวข้างต้น อาจมีเพียงเล็กน้อยจนผู้ป่วยไม่ได้สังเกตอาการหรืออาจเคยชินกับอาการเหล่านั้น

เมื่อมีอาการควรพบแพทย์เมื่อไร?

หากผู้ป่วยมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการปวดหลัง ปวดข้างลำตัว มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย เพราะเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อในไตที่ไม่ควรละเลย

ภาวะแทรกซ้อนหากเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

หากไม่ได้รับการรักษา โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

  • การติดเชื้อในไต โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงวัย เนื่องจากอาจเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคอื่น จึงไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
  • ปัสสาวะเป็นเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอะไรบ้าง?

ควรพบแพทย์ซักประวัติ ตรวจร่างกาย การตรวจร่างกาย อาจพบว่ากดเจ็บบริเวณท้องน้อย มีไข้ เมื่อตรวจปัสสาวะจะพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ ก็วินิจฉัยได้เลยว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาจจำเป็นต้องตรวจหาต้นเหตุอื่น ๆ ที่เอื้ออำนวยหรือเกิดร่วมกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วย

  • การตรวจปัสสาวะและเพาะเชื้อ
  • การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ เพื่อตรวจระบบทางเดินปัสสาวะโดยแพทย์ในรายที่มีข้อบ่งชี้
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพรังสี เช่น X-ray, ultrasound, CT, MRI เพื่อตรวจดูว่ามีเนื้องอกหรือความผิดปกติทางโครงสร้างของอวัยวะหรือไม่

โรคที่เอื้ออำนวยหรือเกิดร่วมกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ (ไต กรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ)
  • โรคประสาทกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงานอย่างปกติ
  • โรคกระเพาะปัสสาวะผิดปกติแต่กำเนิดแบบเรื้อรัง
  • โรคกระเพาะปัสสาวะหย่อน
  • โรคมดลูกและกล้ามเนื้ออุ้มเชิงกรานหย่อนยาน
  • โรคกระเพาะปัสสาวะหรือหูรูดกระเพาะปัสสาวะเสื่อม
  • โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกินปกติ
  • โรคเยื่อบุช่องคลอดซูบแห้งในหญิงวัยหมดประจำเดือน
  • โรคมะเร็งในทางเดินปัสสาวะ

ในผู้สูงอายุชายต้องคำนึงถึงโรคสำคัญ ของต่อมลูกหมาก 3 โรค คือ ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบและมะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีกี่วิธี?

วิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค

  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
    แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะ โดยจะพิจารณาชนิดและเวลาในการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย ผู้ป่วยควรรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามที่แพทย์แนะนำเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นโรคซ้ำ
  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย
    แพทย์อาจให้การรักษาหลายวิธีขึ้นกับอาการและสาเหตุของโรค เช่น
    • การรับประทานยาบรรเทาอาการ
    • ส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ
    • การให้ยาในกระเพาะปัสสาวะ
    • การผ่าตัด

การป้องกันไม่ให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • การใช้ยาฆ่าเชื้อแบบ low-dose antibiotic prophylaxis หรือ post-intercourse prophylaxis ในผู้ป่วยรายที่เหมาะสม โดยอยู่ในการดูแลของแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาสวนล้างช่องคลอดโดยเฉพาะชนิดที่มียาฆ่าเชื้อผสม
  • ถ้าเป็นซ้ำบ่อย ควรค้นหาสาเหตุที่อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยง และทำการแก้ไขตามสาเหตุของปัจจัย เช่น ถ้าเจอนิ่วอุดตันก็ควรรักษาโดยเอานิ่วที่อุดตันออกจากทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ในการศึกษาพบว่าการบริโภค Cranberry ที่มีสาร proanthocyanidins อาจช่วยลดอัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะลงได้ส่วนนึง แต่อาจไม่สามารถหวังผลตอบสนองที่ดีในคนไข้ทุกราย
  • ปัจจัยอื่น ๆ เช่น จำนวนครั้งในการปัสสาวะ การใช้ทิชชู่เช็ดเริ่มจากด้านหน้าหรือด้านหลังก่อน การแช่อ่างอาบน้ำหรือชนิดของกางเกงชั้นใน นั้นยังไม่พบการที่มีการสัมพันธ์ที่ชัดเจนจากปัจจัยเหล่านี้ที่จะส่งผลต่อการติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ อย่างไรก็ดีการรักษาความสะอาดเฉพาะที่ที่เหมาะสมยังถือเป็นเรื่องสำคัญ

การดูแลตัวเอง เมื่อเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อย่างไร?

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ทานยาฆ่าเชื้อตามที่แพทย์สั่ง
  • ถ้ามีไข้สูงหนาวสั่น ให้รีบกลับมาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำ

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ - Symptoms of Cystitis

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 22 พ.ย. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. กิตติณัฐ กิจวิกัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ.  วิชัย เจริญวงศ์

    นพ. วิชัย เจริญวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การบีบขับปัสสาวะผิดปกติ, Laparoscopic Urologic Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ระบบสืบพันธ์ุ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนไตจากผู้เสียชีวิต, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, การรักษาภาวะหย่อยสมรรถภาพทางเพศ, ชายวัยทอง
  • Link to doctor
    นพ. วิรุณ  โทณะวณิก,พบ

    นพ. วิรุณ โทณะวณิก,พบ

    • ศัลยศาสตร์
    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    มะเร็งต่อมลูกหมาก, ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • Link to doctor
    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ