ตรวจสุขภาพ (Health Checkup)

ตรวจสุขภาพ (Health Checkup)

ตรวจสุขภาพ (Health Checkup) คือ การตรวจคัดกรองร่างกายเบื้องต้นเพื่อให้ทราบข้อมูลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้เข้ารับการตรวจ รวมถึงค้นหาปัจจัยเสี่ยง โรค หรือความผิดปกติที่อาจต้องได้รับการตรวจเฉพาะทางเพิ่มเติม

แชร์

ตรวจสุขภาพ (Health Checkup)

ตรวจสุขภาพ (Health Checkup) คือ การตรวจคัดกรองร่างกายเบื้องต้นเพื่อให้ทราบข้อมูลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้เข้ารับการตรวจ รวมถึงค้นหาปัจจัยเสี่ยง โรค หรือความผิดปกติที่อาจต้องได้รับการตรวจเฉพาะทางเพิ่มเติม เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลได้อย่างตรงจุด พร้อมทั้งการวางแผนการป้องกัน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการส่งเสริมสุขภาพของผู้เข้ารับการตรวจทั้งร่างกายและจิตใจให้มีความแข็งแรงอย่างยั่งยืนในระยะยาว

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ตรวจอะไรบ้าง?

Artboard 1 100 1

ตรวจร่างกายและวัดสัญญาณชีพ

ตรวจร่างกายและวัดสัญญาณชีพ (Physical Examination and Vital Signs) ตรวจวัดการทำงานของร่างกายโดยการตรวจสัญญาณชีพหลัก 4 อย่างเบื้องต้น ได้แก่ ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ (ค่าปกติ 60-100 ครั้ง/นาที) ตรวจอัตราการหายใจ (ค่าปกติ12-18 ครั้ง/นาที) ตรวจวัดความดันโลหิต (ค่าปกติเบื้องต้น 80-120 มม. ปรอท) และตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (ค่าปกติ 36.5-37.2 องศาเซลเซียส) สัญญาณชีพสูงหรือต่ำอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะหรือความผิดปกติบางอย่างในร่างกายที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) ตรวจนับปริมาณและลักษณะของเม็ดเลือดทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เพื่อหาโรคหรือความผิดปกติ เช่น โรคโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย ภาวะติดเชื้อ หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ A, B, C

ตรวจหาเชื้อและภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี (Hepatitis A, B, C Viral Screening) ตรวจวัดปริมาณแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบ A, B, C และแอนติเจนของไวรัสตับอักเสบบีในพลาสมาในเลือด ไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังอาจทำให้เกิดพังผืดในตับ ภาวะตับแข็ง หรือมะเร็งตับ

ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV

ตรวจไวรัส HPV (Human Papillomavirus) เพื่อคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคทางนรีเวชโดยการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูงที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก หรือหูดหงอนไก่

ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar: FBS) ตรวจวัดระดับน้ำตาลหลังงดอาหารและน้ำมาแล้วอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือดปกติอยู่ที่ 70-99 mg% ผู้ที่มีผลระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 99 mg% ถือว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน ผู้ที่มีระดับน้ำตาลเท่ากับหรือมากกว่า 126 mg% อย่างต่อเนื่องถือว่าเป็นเบาหวาน

ตรวจฮีโมโกลบิน A1c (HbA1c) เป็นการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสที่จับกับฮีโมโกลบิน HbA1c ที่แสดงค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 2-3 เดือนก่อนการตรวจ ค่าปกติของ HbA1c อยู่ที่ 4-6.5% ค่าระหว่าง 5.7-6.4% เป็นภาวะก่อนเบาหวาน หากผลการตรวจค่า HbA1c มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5% ถือว่าเป็นเบาหวาน

Artboard 1 Copy 2 100 1

ตรวจวัดระดับไขมันในเลือด

ตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) ตรวจวัดระดับคอลเลสเตอรอลในอนุภาคไลโพโปรตีนในเลือดทั้ง HDL, IDL, LDL และ VLDL ระดับคอเลสเตอรอลรวมที่เหมาะสมอยู่ที่ต่ำกว่า 200 mg/dL ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลรวมมากกว่า 200 mg/dL ถือว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

ตรวจไขมันชนิดไม่ดี (LDL-cholesterol) ตรวจวัดระดับคอเรสเตอรอล LDL-C หรือ “ไขมันไม่ดี” ในอนุภาคไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำ ค่า LDL-C ควรอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 130 mg/dL ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรควบคุมระดับ LDL-C ให้ไม่เกิน 100mg/dL

ตรวจไขมันชนิดดี (HDL-cholesterol) ตรวจวัดระดับไขมัน HDL-C หรือ “ไขมันดี” ในอนุภาคไลโพโปรตีนหนาแน่นสูง ไขมัน HDL-C ช่วยลำเลียงคอลเลสเตอรอลจากเนื้อเยื่อรอบนอกออกไปยังตับเพื่อขับออกจากร่างกาย ค่า HDL-C ปกติในผู้ชายอยู่ที่ 40 mg/dL ค่า HDL-C  ปกติในผู้หญิงอยู่ที่ 50 mg/dL หรือมากกว่า ผู้ที่มีค่า HDL-C ต่ำกว่า 40 mg/dL ถือว่ามีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

ตรวจวัดระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ตรวจวัดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในอนุภาคไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำมากและ LDL-C ในเลือด ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันอิ่มตัวชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นได้ในตับและนำไปเก็บสะสมเป็นพลังงานสำรอง ค่าไตรกลีเซอไรด์ปกติอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 150 mg/dL แพทย์แนะนำค่าไตรกลีเซอไรด์ที่เหมาะสมควรต่ำกว่า 100 mg/dL ค่าไตรกลีเซอไรด์ปานกลางอยู่ที่ระหว่าง 200-249 mg/dL ผู้ที่มีค่าไตรกลีเซอไรด์ในเส้นเลือดเกินกว่า 500 mg/dL มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือไขมันเกาะตับ

ตรวจวัดค่าไต

ตรวจวัดค่า BUN (BUN Test) ตรวจวัดปริมาณไนโตรเจนในสารยูเรียในเลือดเพื่อวัดการทำงานของตับและไต ค่า BUN ปกติของผู้ที่มีอายุ 17 ปีขึ้นไป อยู่ที่ระหว่าง 6-24 mg/dL ค่า BUN ปกติของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี อยู่ที่ระหว่าง 7-20 mg/dL ผู้ที่มีค่า BUN สูง อาจทำให้มีภาวะไตเสื่อม ภาวะร่างกายได้รับโปรตีนสูงเกินไป ภาวะตกเลือดในทางเดินอาหาร ภาวะร่างกายขาดน้ำ หรือหัวใจล้มเหลว

ตรวจวัดค่าครีเอตินิน (Creatinine) ตรวจวัดปริมาณครีเอตินิน (Cr) หรือของเสียที่ได้จากการเผาผลาญพลังงานในกล้ามเนื้อเพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของไต ค่าครีเอตินินปกติในผู้ชายอยู่ที่ระหว่าง 0.6-1.2 mg/dL ค่าครีเอตินินปกติในผู้หญิงอยู่ที่ระหว่าง 0.5-1.1 mg/dL ผู้ที่มีค่าครีเอตินินต่ำอาจทำให้มีภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ และน้ำหนักตัวลดลง ผู้ที่มีค่าครีเอตินินสูงอาจมีภาวะไตเสื่อม หรือโรคไตเรื้อรัง

ตรวจวัดค่าไต (eGFR) ตรวจวัดอัตราการกรองของเสียในเลือดโดยไตต่อนาที เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของไตในการกรองของเสียออกจากเลือดและขับออกทางปัสสาวะ ค่า eGFR ปกติอยู่ที่ 90 mL/min ค่า eGFR ระหว่าง 16-89 mL/min แสดงให้เห็นถึงการทำงานที่ผิดปกติของไต ผู้ที่มีค่า eGFR ต่ำกว่า 15 mL/min ถือว่าเป็นเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5

ตรวจวัดปริมาณเกลือแร่ (Serum electrolyte) ตรวจวัดปริมาณโซเดียม โพแทสเซียม และไบคาร์บอเนตที่ช่วยรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย ระบบประสาท และการยืดและหดกล้ามเนื้อ ไบคาร์บอเนต (HCO3-) มีบทบาทในการรักษาค่า pH ในเลือด และความสมดุลกรด-ด่าง ปริมาณเกลือแร่ในร่างกายที่ผิดปกติอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และความรู้สึกสับสน

ตรวจวัดค่าการทำงานของตับ

ตรวจการทำงานของตับ GGT (Gamma-glutamyl transferase) GGT เป็นเอมไซม์ในตับที่ทำหน้าที่เผาผลาญกลูตาไธโอนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหลักในร่างกาย ระดับ GGT ในเลือดสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเรื้อรังและโรคต่าง ๆ เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เมทาบอลิกซินโดรม ความเสี่ยงกระดูกหัก เบาหวานชนิดที่ 2 โรคไตเรื้อรังในอนาคต และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ซึ่งอาจเกี่ยวโยงกับที่เอมไซม์ GGT กระตุ้นให้เกิดการออกซิเดชันและการอักเสบ ค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI ที่สูงขึ้น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุรี่ ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยามีผลทำให้ค่าเอมไซม์ GGT สูงขึ้น

ตรวจค่าตับ ALP (Alkaline phosphatase) ALP เป็นเอมไซม์ที่พบในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายรวมถึง ตับ กระดูก ไต เยื่อบุลำไส้ และรก ทั้งนี้ ตับและกระดูกเป็นแหล่งกำเนิดหลักของ ALP ในเลือด ทั้งนี้ ภาวะบางอย่าง เช่น ท่อน้ำดีอุดตัน ตับอักเสบ และตับแข็ง อาจทำให้ค่า ALP สูงขึ้น ค่า ALP ปกติอยู่ที่ระหว่าง 30-126 U/L ผู้ที่มีค่า ALP ต่ำกว่า 30 U/L อาจเสี่ยงโรคทางต่อมไทรอยด์ โรคเซลิแอค และการขาดสารอาหาร ผู้ที่มีค่า ALP สูงกว่า 126 U/L อาจเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดี โรคมะเร็งกระดูก โรคท่อน้ำดีตีบตัน โรคตับ โรคกระดูก หรือภาวะอื่น ๆ

ตรวจค่าตับ AST (Aspartate transaminase) AST เป็นเอมไซม์ที่กระตุ้นปฏิกิริยาย้อนกลับระหว่างกรดอะมิโนแอสพาเทตและกลูตาเมต เอมไซม์ AST พบในอวัยวะ เช่น ตับ หัวใจ กล้ามเนื้อ สมอง และไต และเป็นตัวบ่งชี้ความเสียหายของตับแบบไม่ระบุสาเหตุ ค่า AST ปกติของผู้ชายอยู่ที่ระหว่าง 8-46 U/L ค่า AST ปกติของผู้หญิงอยู่ที่ระหว่าง 7-34 U/L ผู้ที่มีค่า AST สูงอาจเสี่ยงโรคตับอักเสบ ตับแข็ง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ การทำลายของตับ ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ โรคดีซ่าน ไวรัสตับอักเสบ หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา ผู้ที่มีค่า AST ต่ำอาจเสี่ยงโรคตับแข็ง โรคไต โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ภาวะพร่องวิตามินบี 6 หรือมะเร็ง

ตรวจค่าตับ ALT (Alanine transaminase) ALT เป็นเอมไซม์ตับที่ถูกปล่อยออกมาในกระแสเลือดเมื่อเซลล์ตับได้รับความเสียหาย ค่า ALT ปกติของผู้ชายอยู่ที่ระหว่าง 29-33 U/L ค่า ALT ปกติของผู้หญิงอยู่ที่ระหว่าง 19-25 U/L ผู้ที่มีค่า ALT สูงอาจมีสาเหตุจากไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ความผิดปกติของตับ ความผิดปกติของท่อน้ำดี ตับแข็ง ไวรัสตับอักเสบ โรคดีซ่าน การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา ผู้ที่มีค่า ALT ต่ำตามปกติถือว่าดี แต่ในบางกรณีอาจหมายถึงอาการพร่องวิตามินบี หรือโรคไตเรื้อรัง

ตรวจวัดระดับโปรตีนรวม (Total Protein) ตรวจวัดปริมาณโปรตีนทั้งหมดในเลือดทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ อัลบูมินและโกลบูลิน อัลบูมินช่วยคงสภาพของเหลวในหลอดเลือดที่มีแรงดันสูง ในขณะที่โกลบูลินทำหน้าที่ภูมิคุ้มกันร่างกาย ค่าโปรตีนรวมปกติของผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อยู่ที่ระหว่าง 6.0-8.3 g/dL ค่าโปรตีนรวมปกติของผู้ที่มีอายุ 1-18 ปี อยู่ที่ระหว่าง 5.7-8.0 g/dL ค่าโปรตีนรวมสูงอาจเกิดจากการอักเสบเรื้อรังหรือการติดเชื้อ เช่น HIV ไวรัสตับอักเสบ หรือโรคมะเร็งไขกระดูก ค่าโปรตีนรวมต่ำ อาจเกิดจากขาดสารอาหาร โรคไต หรือการดูดซึมลำไส้ผิดปกติ

ตรวจวัดปริมาณบิลิรูบิน (Bilirubin) บิลิรูบินเป็นสารสีเหลืองที่ถูกร่างกายสร้างขึ้นจากการสลายของเม็ดเลือดแดง ตับทำให้ บิลิรูบินละลายน้ำได้ดีขึ้นและขับออกมาในรูปแบบของน้ำดี บิลิรูบินมี 2 ชนิด คือ บิลิรูบินที่ผ่านกระบวนการเติมสารจากในตับ และบิลิรูบินที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการในตับ เมื่อเกิดการทำงานที่ผิดปกติของตับหรือน้ำดี บิลิรูบินในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคตับ โลหิตจางจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง และโรคตับชนิดอื่น ๆ

ตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้น

ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ (Carcinoembryonic antigen: CEA) ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ค่า CEA ที่สูงขึ้น เกิดจากการหลั่ง CEA เข้าสู่กระแสเลือดอันเนื่องจากมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ทั้งนี้ มะเร็งเต้านมบางชนิดก็อาจทำให้เกิดการหลั่งของสาร CEA ได้เช่นกัน ระดับ CEA ปกติอยู่ที่ระหว่าง 2.5-5 ng/mL ผู้ที่มีค่า CEA มากกว่า 100 ng/mL เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน หรือโรคอื่น ๆ 
ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ (Alpha-fetoprotein: AFP) ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเซลล์เม็ดเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นจากมะเร็งตับ หรือมะเร็งที่ถ่ายทอดทางเซลล์สืบพันธุ์ ค่า AFP ปกติอยู่ที่ระหว่าง 0-15 IU/mL ผู้ที่มีค่า AFP มากกว่า 400 IU/mL เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงโรคมะเร็งตับ มะเร็งอัณฑะ โรคตับ ตับได้รับความเสียหาย หรือภาวะอื่น ๆ เช่น การตั้งครรภ์

ตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ (Cancer Antigen 125: CA-125) ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ Cancer Antigen 125 (CA 125) ค่า CA125 ปกติอยู่ที่ระหว่าง 0-35 U/mL ผู้ที่มีค่า CA125 มากกว่า 35 U/mL เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ หรือภาวะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยเพิ่มเติม
ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate-specific antigen: PSA) ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate specific antigen (PSA) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในกระแสเลือด ค่า PSA ปกติอยู่ที่น้อยกว่า 4.0 ng/mL ค่า PSA สูงหมายถึงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากอักเสบ ต่อมลูกหมากโต การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือภาวะอื่น ๆ

ตรวจวัดระดับกรดยูริกในเลือด

ตรวจวัดระดับกรดยูริกในเลือด (Uric acid) ตรวจวัดระดับกรดยูริกในเลือดซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายของพิวรีน และถูกขับออกทางปัสสาวะโดยไต ระดับกรดยูริกในเลือดอาจแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับห้องแลบและวิธีการตรวจ กรดยูริกปกติในผู้ชายอยู่ที่ระหว่าง 4.0-8.5 mg/dL กรดยูริกปกติในผู้หญิงอยู่ที่ระหว่าง 2.7-7.3 mg/dL ทั้งนี้ ปริมาณกรดยูริกในเลือดขึ้นอยู่กับอาหาร แอลกอฮอล์ ยา และอายุที่เพิ่มขึ้น โดยปกติ กรดยูริกสามารถละลายน้ำได้ที่อุณหภูมิ 37°C หรือ 7.0 mg/dL ความเข้มข้นของกรดยูริกที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดการตกผลึก โดยผู้ที่เป็นโรคเกาต์มักมีระดับกรดยูริกสูงกว่า 7 mg/dL ซึ่งหากกรดยูริกสูงที่ระดับ 10-12 mg/dL จะเกิดการตกผลึกในเนื้อเยื่อและการตกตะกอนในไต ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นโรคไตจากผลึกเกลือยูเรต

ตรวจปัสสาวะ และอุจจาระ

ตรวจปัสสาวะ (Urine Exam) ตรวจปัสสาวะเพื่อทราบข้อมูลสุขภาพโดยรวมเบื้องต้น ช่วยวินิจฉัยโรคต่าง ๆ เช่น โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคท่อปัสสาวะอักเสบ และโรคไตอักเสบ รวมถึงโรคอื่น ๆ เช่น โรคเกาต์ นิ่วในไต ไตวายเฉียบพลัน ไตวายเรื้อรัง หรือโรคเบาหวาน

ตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (Stool Exam and Occult Blood Test) ตรวจหาเลือดแฝงในตัวอย่างอุจจาระเพื่อหาสิ่งบ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือภาวะอื่น ๆ เช่น ติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่ เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร หรือแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงการตรวจหาไข่พยาธิและปรสิต ตรวจเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ปะปนในอุจจาระ และเบาะแสของอาการท้องเสีย

Artboard 1 Copy 8 100 0

รังสีวินิจฉัย

ตรวจเอกเรย์ทรวงอก (Chest X-ray: CXR) ตรวจทางรังสีวิทยาภาพถ่ายบริเวณทรวงอกเพื่อหาความผิดปกติของปอดและระบบทางเดินหายใจ เช่น มะเร็งปอด ปอดอักเสบ ปอดบวม จุดหรือก้อนในปอด เส้นเลือดในปอด โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (ARI) และโรคอื่น ๆ
ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole abdomen) ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมดทั้งบริเวณช่องท้องส่วนบน และช่องท้องส่วนล่างเพื่อหาโรคหรือความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน ไขมันพอกตับ เนื้องอกตับ นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในไต ถุงน้ำรังไข่ ก้อนเนื้อในตับ ก้อนเนื้อในมดลูก ไส้ติ่งอักเสบ และความผิดปกติอื่น ๆ

ตรวจความหนาแน่นมวลของกระดูก (Bone Mineral Density: BMD) ตรวจวัดปริมาณแคลเซียมในกระดูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระดูกสะโพก กระดูกหลังส่วนเอว กระดูกแขนส่วนปลาย กระดูกข้อมือ กระดูกมือ และกระดูกทั้งร่างกาย เพื่อวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ค่า T score ปกติอยู่ที่ -1 ถึง +1 (เปรียบเทียบความหนาแน่นมวลกระดูกกับหนุ่มสาวโตเต็มวัย) ผู้ที่มีค่า T score ระหว่าง -1 ถึง -2.4 เป็นผู้ที่มีความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ ผู้ที่มีค่า T score ต่ำกว่า -2.4 เป็นผู้ที่มีภาวะโรคกระดูกพรุน โรคมวลกระดูกน้อยหรือกระดูกบาง และมีความเสี่ยงกระดูกหัก

Artboard 1 Copy 6 100 1

ตรวจคัดกรองโรคหัวใจเบื้องต้น

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: ECG/EKG) ตรวจคัดกรองโรคหัวใจเบื้องต้นโดยการตรวจวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจ และจังหวะการเต้นของหัวใจ เพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การนำไฟฟ้าหัวใจไม่ทำงานตามปกติ โรคลิ้นหัวใจ หัวใจวายเฉียบพลัน หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ อัตราการเต้นของหัวใจปกติอยู่ที่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที ผู้ที่มีอัตราการเต้นหัวใจมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที เป็นผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว

ตรวจวัดระดับแคลเซียมรวม

ตรวจระดับแคลเซียมในเลือดรวม (Calcium Blood Test) เป็นการตรวจวัดระดับแคลเซียมรวมในเลือดที่ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะและช่วยในการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ค่าแคลเซียมในเลือดรวมปกติอยู่ที่ระหว่าง 8.5-10.2 mg/dL ผู้ที่มีระดับแคลเซียมในเลือดรวมสูงเกินกว่า 14.0 mg/dL เป็นผู้ที่มีปริมาณแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia) ซึ่งอาจเกิดจากต่อมพาราไทรอยด์ทำงานหนัก โรคไต หรือมะเร็งระยะลุกลามไปยังกระดูก ผู้ที่มีแคลเซียมในเลือดรวมต่ำกว่า 8.5 mg/dL เป็นผู้ที่มีปริมาณแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) อาจเกิดจากการสูญเสียแคลเซียมในร่างกาย ระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำ หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาหรือโรคบางโรค เช่น โรคตับ ไตวาย หรือการรับเคมีบำบัด

Artboard 1 Copy 4 100 1

ตรวจคัดกรองสุขภาพสายตา

ตรวจคัดกรองสุขภาพสายตา (Complete Eye Exam) เป็นการตรวจคัดกรองโรคและความผิดปกติทางสายตา เช่น อาการปวดตา มองเห็นภาพไม่ชัด เห็นจุดที่ตา เห็นหยากไย่ที่ตา เห็นแสงวาบ เห็นสีเพี้ยน มีติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อที่ตา อาการบาดเจ็บที่กระจกตา เส้นเลือดอุดตันในจอประสาทตา รวมถึงการตรวจค่าสายตา ตรวจตาบอดสี ตรวจลานสายตา ตรวจสุขภาพดวงตาผ่านกล้องจุลทรรศน์เพื่อให้เห็นภาพโครงสร้างภายในลูกตา ตรวจวัดความดันลูกตาเพื่อตรวจหาต้อหิน การถ่ายภาพ optical coherence tomography เพื่อให้เห็นรายละเอียดของจอประสาทตา และการการตรวจเฉพาะทางอื่น ๆ เช่น การตรวจสุขภาพตาเชิงลึก ซึ่งแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล
ตรวจหลอดเลือดสมอง

ตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Carotid Duplex Ultrasounds) เป็นการตรวจหลอดเลือดสมองโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจการไหลเวียนโลหิตของหลอดเลือดใหญ่บริเวณลำคอที่ไปเลี้ยงสมองว่ามีคราบหินปูน หรือไขมันเกาะสะสมภายในหลอดเลือดหรือไม่ เป็นการตรวจประเมินการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองและความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองอุดตัน โดยปกติ หากหลอดเลือดสมองตีบ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

ตรวจวัดระดับวิตามิน

ตรวจวัดปริมาณวิตามิน B 12  (Vit B-12) ตรวจวัดปริมาณวิตามินบี 12 ที่จำเป็นต่อการทำงานของอวัยวะ ระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรค ปริมาณวิตามินบี 12 ปกติอยู่ที่ระหว่าง 200-900 pg/mL ผู้ที่มีปริมาณวิตามินบี 12 ต่ำกว่า 200 pg/mL เป็นผู้ที่มีภาวะพร่องวิตามินบี 12 เสี่ยงต่อการเป็นโรคโลหิตจาง ภาวะสมองเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ระบบย่อยอาหารผิดปกติ หรือโรคเหน็บชา

ตรวจวัดปริมาณวิตามิน D (Total Vitamin D) ตรวจวัดปริมาณวิตามินดี 25 (OH) D ในเลือดที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่สร้างมวลกระดูก ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ระดับวิตามินดีปกติอยู่ที่ 30 ng/mL หรือมากกว่า ผู้ที่มีวิตามินดี 25 (OH) D ในเลือดต่ำกว่า 20 ng/mL มีภาวะพร่องวิตามินดี ความเสี่ยงโรคกระดูกอ่อนในเด็ก และโรคกระดูกพรุนในผู้ใหญ่

Artboard 1 Copy 10 100 0

ตรวจสุขภาพ | ตรวจสุขภาพประจำปี

การตรวจสุขภาพ และ การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการตรวจร่างกายที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการคัดกรองโรคและความผิดปกติต่าง ๆ ในร่างกายตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ทั้งนี้ แพทย์แนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพทั่วไปเป็นประจำทุกปีเพื่อประเมินสุขภาพโดยรวม ค้นหาปัจจัยเสี่ยง ให้การพยากรณ์โรค วางแผนการรักษา และให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพได้อย่างทันท่วงทีในกรณีที่มีความจำเป็น ทั้งนี้ การตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม จะช่วยเพิ่มโอกาสหายขาดจากโรคได้

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 26 ธ.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. โอภาส นวสิริพงศ์

    นพ. โอภาส นวสิริพงศ์

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    เวชศาสตร์ป้องกัน, Checkup and Health Promotion
  • Link to doctor
    นพ. เสฏฐศิริ แสงสุวรรณ

    นพ. เสฏฐศิริ แสงสุวรรณ

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    • เวชศาสตร์ทางทะเล
    • อาชีวเวชศาสตร์
    เวชศาสตร์ป้องกัน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ทางทะเล
  • Link to doctor
    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    อายุรกรรมทั่วไป, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรรณวรา ปริตกุล

    ผศ.พญ. พรรณวรา ปริตกุล

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    นพ. ทวีสิน ธีระธนานนท์

    นพ. ทวีสิน ธีระธนานนท์

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    เวชศาสตร์ป้องกัน, Checkup and Health Promotion
  • Link to doctor
    นพ. พศวัต วุฒิไกรวิทย์

    นพ. พศวัต วุฒิไกรวิทย์

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    เวชศาสตร์ป้องกัน, เวชศาสตร์วิถีชีวิต, อาชีวเวชศาสตร์, การสร้างเสริมสุขภาพ, การแพทย์ทางไกล
  • Link to doctor
    ผศ.(พิเศษ) นพ. สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์

    ผศ.(พิเศษ) นพ. สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์

    • เวชศาสตร์ครอบครัว
    Family Medicine, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย

    นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน (ทางคลินิก)
    โรคภูมิแพ้, เวชศาสตร์ป้องกัน