ภาวะหนังหุ้มปลายไม่เปิดและการขลิบหนังหุ้มปลาย (Circumcision Penis) สาเหตุ ข้อดีและข้อห้าม

ภาวะหนังหุ้มปลายไม่เปิดและการขลิบหนังหุ้มปลาย

ปกติแล้วเด็กผู้ชายตั้งแต่แรกเกิด หนังหุ้มปลายมักจะยังปิดอยู่ (Phimosis) แต่ก็จะมีรูเล็ก ๆ เปิดพอสามารถปัสสาวะได้ พอร่างกายมีการเจริญเติบโตก็สามารถรูดเปิดได้มากขึ้นเรื่อย ๆ

แชร์

ภาวะหนังหุ้มปลายไม่เปิดและการขลิบหนังหุ้มปลาย

“การขลิบหนังหุ้มปลายเป็นอย่างไร ดีจริงหรือไม่ ?”  เป็นคำถามที่แพทย์ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะถูกถามบ่อย ๆ สรีระปกติของอวัยวะเพศชายเป็นอย่างไร ปกติแล้วเด็กผู้ชายตั้งแต่แรกเกิด หนังหุ้มปลายมักจะยังปิดอยู่ (Phimosis) แต่ก็จะมีรูเล็ก ๆ เปิดพอสามารถปัสสาวะได้ พอร่างกายมีการเจริญเติบโตก็สามารถรูดเปิดได้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาศัยการดูแลและช่วยเหลือจากพ่อแม่รูดทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ในที่สุดก็จะสามารถรูดหนังหุ้มปลายเปิดเองลงได้หมด แต่เด็กผู้ชายบางรายที่หนังหุ้มปลายตีบมาก ทำให้ปัสสาวะลำบาก ร้องเจ็บตอนปัสสาวะ หนังหุ้มปลายจะโป่งพอง นำมาสู่การติดเชื้อในปัสสาวะตามมา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่วัยเด็ก

สาเหตุอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องขลิบในวัยเด็ก

  • มีการสะสมของสารคัดหลั่งใต้หนังหุ้มปลายเป็นก้อนสีขาว
  • ติดเชื้อทั้งบริเวณอวัยวะเพศและในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • มีประวัติรูดหนังหุ้มปลายลงแล้วรูดกลับขึ้นไม่ได้
  • อายุเกินสี่ขวบแต่ยังรูดไม่ได้
  • ความเชื่อทางศาสนา

ในผู้ใหญ่ก็สามารถพบปัญหาได้ที่หนังหุ้มปลายเกิดการอักเสบซ้ำซากจนไม่สามารถรูดลงได้ เกิดแผลเรื้อรังจากเบาหวานที่บริเวณหนังหุ้มปลาย เกิดแผลเรื้อรังที่หัวอวัยวะเพศ เจ็บและมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธุ์ บางครั้งเรื่องการดูแลรักษาความสะอาดที่ทำได้ไม่ดีพอจากหนังหุ้มปลายที่มีความยาวมากผิดปกติ ก็ล้วนเป็นสาเหตุให้ต้องมาผ่าตัดขลิบหนังหุ้มปลายทั้งสิ้น

ข้อดีของการขลิบหนังหุ้มปลาย

  • ดูแลสุขอนามัยได้ง่ายขึ้น ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • ลดความเสี่ยง การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และที่อวัยวะเพศ
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการป้องกันก่อนมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกวิธีอย่างการใช้ถุงยางอนามัย เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อจากเพศสัมพันธ์
  • ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งองคชาต แม้ว่ามะเร็งอวัยวะเพศชายจะมีน้อยมาก
  • ลดการนำเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกไปสู่ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย
  • การขลิบอาจส่งผลให้ ชาที่ปลายอวัยวะเพศมากขึ้นเนื่องจากมีการเสียดสีอยู่ตลอดเวลา อาจลดปัญหาหลั่งเร็วได้กับผู้ป่วยบางราย


ข้อห้ามของการขลิบหนังหุ้มปลาย

  • การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายไม่เหมาะกับผู้ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด และ เด็กที่มีความผิดปกติของอวัยวเพศ เช่น ภาวะที่ท่อปัสสาวะเปิดต่ำกว่าปกติ (Hypospadia)


ขั้นตอนการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

  • การขลิบหนังหุ้มปลายในทารกแรกเกิดมักทำตั้งแต่ที่โรงพยาบาล เมื่อทารกอายุได้ 1 วัน จนถึง 10 วัน หลังคลอด การระงับความเจ็บปวดจะง่ายกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่
  • การขลิบหนังหุ้มปลายของเด็กโตและผู้ใหญ่ก็มีการเตรียมตัวที่ไม่แตกต่างกัน การผ่าตัดจะทำภายใต้การให้ยาชาระงับการเจ็บปวดเฉพาะที่ ยกเว้น ในกรณีที่เด็กโตไม่สามารถให้ความร่วมมือได้ อาจจะต้องดมยาสลบ
  • การผ่าตัดใช้เวลาประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง


การดูแลภายหลังจากขั้นตอนขลิบหนังหุ้มปลาย

  • โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 7-10 วันจนกว่าแผลจะหายปกติ
  • เด็กโตและผู้ใหญ่อาจจะต้องลางานหรือเรียนอย่างน้อย 1-2 วันเนื่องจากอาการเจ็บแผล
  • ผู้ใหญ่สามารถมีเพศสัมพันธุ์ได้หลังสัปดาห์ที่สามหรือสี่ เป็นต้นไป
  • บริเวณปลายอวัยวะเพศจะมีอาการเจ็บแสบและมีอาการบวมแดงหรือช้ำในช่วงต้น นอกจากนั้นอาจสังเกตเห็นคราบสีเหลืองที่บริเวณปลายของอวัยวะเพศจาการละลายของไหม
  • สามารถดูแลทำความสะอาดแผลเองได้ตลอดการรักษาแผล ไม่ต้องตัดไหม


ความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการขลิบหนังหุ้มปลาย

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุดจากการขลิบหนังหุ้มปลาย คือ การมีเลือดออกและการติดเชื้อที่บริเวณแผลผ่าตัด ส่วนการตัดสั้นเกินไปหรือเหลือเยอะเกินไปพบได้เล็กน้อย ซึ่งผลแทรกซ้อนดังกล่าวสมารถแก้ไขได้

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 22 พ.ย. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. กิตติณัฐ กิจวิกัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. วิรุณ  โทณะวณิก,พบ

    นพ. วิรุณ โทณะวณิก,พบ

    • ศัลยศาสตร์
    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    มะเร็งต่อมลูกหมาก, ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • Link to doctor
    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ระบบสืบพันธ์ุ
  • Link to doctor
    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
  • Link to doctor
    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ.  วิชัย เจริญวงศ์

    นพ. วิชัย เจริญวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนไตจากผู้เสียชีวิต, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, การรักษาภาวะหย่อยสมรรถภาพทางเพศ, ชายวัยทอง
  • Link to doctor
    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การบีบขับปัสสาวะผิดปกติ, Laparoscopic Urologic Surgery
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ